นักท่องเที่ยวไทย-เทศ ร่วมงานประเพณีออกพรรษาลอยประทีปบูชา จ. ขอนแก่น คึกคัก

นักท่องเที่ยวไทย-เทศ ร่วมงานประเพณีออกพรรษาลอยประทีปบูชาคึกคัก ขณะที่เทศบาลฯจัดประกวดนางฟ้าจำแลง มุ่งเน้นการสร้างเจตคติในการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน บนพื้นฐานแนวทางความเสมอภาค

29 ต.ค. 2566 – เมื่อเวลา 19.00 น. วันที่ 28 ต.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่านักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างทยอยมาเที่ยวชมงานประเพณีออกพรรษาลอยประทีปบูชาพุทธกตัญญู ประจำปี 2566 ซึ่งเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนได้กำหนดจัดกิจกรรมขึ้น ที่เวทีสวนสาธารณะ 200 ปี บึงแก่นนคร และบริเวณโดยรอบบึงแก่นนคร

โดยกิจกรรมในเวทีกลางวันนี้ ได้จัดให้มีการประกวดเทพีประทีปแจ้งจำแลง หรือการประกวดสาวประเภทสอง จัดขึ้นเป็นปีแรก เพื่อความเท่าเทียม

นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น กล่าวว่า การประกวดเทพีประทีปจำแลงเป้นการจัดประกวดปีแรกเพื่อโอกาสที่เท่าเทียมของ LGBTQ+ และมุ่งเน้นการสร้างเจตคติในการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน บนพื้นฐานแนวทางความเสมอภาคลดการเลือกปฏิบัติทางเพศอันนำไปสู่สังคมที่น่าอยู่ ซึ่งงานในวันนี้มีผู้สนใจเข้ามาร่วมสมัครเข้ามาประกวดทั้งสิ้น 28 คน จากทั่วประเทศโดยการประกวดครั้งนี้ผู้ประกวดทุกคนต้องสวมใส่ผ้าไทย เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานขนบทำเนียมประเพณีท้องถิ่น ศิลปะวัฒนธรรมวิถีอีสานอันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้คงอยู่

“จะเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจในกิจกรรมการประกวดฮ้านประทีป โดยในปีนี้มีชุมชน ชมรม และองค์กรอาสาสมัครภาคประชาชน ส่งฮ้านประทีปเข้าร่วมประกวด จำนวน 30 ฮ้าน ซึ่งจะมีการประกาศผลการประกวดและมอบรางวัลในวันที่ 29 ต.ค.สำหรับการประกวดฮ้านประทีปนั้นเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักและเห็นคุณค่าของกิจกรรมที่สืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม สร้างความสมัครสมานสามัคคี ตลอดจนสร้างความผูกพันของคนในครอบครัว และชุมชน ซึ่งฮ้านประทีป มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เสาสี่เสาสูงท่วมหัวพอมือยืดถึง จัดทำเพื่อเป็นหิ้งบูชากลางแจ้งจุดประดับด้วยไฟประทีปดั้งเดิมทำจากลูกตูมกาหรือวัสดุธรรมชาติ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของการไต้ประทีปโคมไฟเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในช่วงเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน”

นายธีระศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า การจัดงานประเพณีออกพรรษา ลอยประทีปบูชา พุทธกตัญญู ประจำปี 2566 เทศบาลนครขอนแก่น ได้ร่วมกับ จังหวัด,อบจ.ขอนแก่น ,ททท.ขอนแก่น และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนในจังหวัด ตลอดจนพี่น้องชุมชนเขตเทศบาลนครขอนแก่น ร่วมจัดงานดังกล่าวขึ้นมา ระหว่างวันที่ 27- 30 ต.ค. 2566 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีศิลปวัฒนธรรมวิถีอีสาน อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นให้สืบทอดต่อไป และปลูกฝัง สร้างจิตสำนึกให้เด็ก เยาวชน และประชาชน เกิดความรักความสามัคคี เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและสมานฉันท์ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของคณะผู้บริหารเทศบาลนครขอนแก่น คือการพัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข และตามนโยบายรัฐบาลด้านการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนยังคงสอดแทรกให้เด็กเยาวชนได้ซึมซับคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่คนเก่าได้สืบสานกันมาอย่างช้านาน ซึ่งมีความมุ่งหวังว่าเป็นผลให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันของคนเมืองขอนแก่นอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'MONO29' ยกทัพศิลปินระเบิดความมัน คลื่นมนุษย์แห่เล่นน้ำแน่นถนนข้าวเหนียว

ปิดท้ายมหาสงกรานต์สุดคึกคักกับงานสงกรานต์สุดยิ่งใหญ่ “MONO29 KHONKAEN SONGKRAN WET&FUN 2024” โดย “MONO29” ร่วมกับ “เทศบาลนครขอนแก่น” จัดงานสงกรานต์สุดเดือดยกทัพศิลปินระเบิดความมันส์ 3 วันจัดเต็ม

'E29 TRAINEES' ชวนเที่ยวสงกรานต์ขอนแก่น 'MONO29 KHONKAEN SONGKRAN WET&FUN 2024'

MONO29 (โมโนทเวนตี้ไนน์) ร่วมกับ เทศบาลนครขอนแก่น พร้อมภาคีเครือข่ายจัดงานประเพณีสุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูนเสียงแคนและถนนข้าวเหนียว ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด "สาดถึงแก่น" พร้อมชวนประชาชนร่วมสนุก 8-15 เมษายนนี้

ขอนแก่นเริ่มคึกคัก เสื้อลายดอกขายดีรับสงกรานต์ แม่ค้าสต๊อกแน่น

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศซื้อขายเสื้อลายดอกในเขตเทศบาลนครขอนแก่น โดยเฉพาะที่ร้านขายเสื้อลายดอก ถ.กัลปพฤกษ์