กรมพัฒนาธุรกิจฯ เผยธุรกิจตั้งใหม่ปี 66 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ต่างชาติขนเงินเข้าไทย 1.3 แสนล้าน

นักลงทุนไทยแห่จัดตั้งธุรกิจใหม่ ทะลุ 8.5 หมื่นราย ทุนจดทะเบียนรวมกว่า 5.6 แสนล้านบาท ขณะที่ต่างชาติหอบเงินลงทุนเข้าไทย แตะ 1.3 แสนล้านบาท ญี่ปุ่นนำโด่งเบอร์ 1คาด!! ปี 2567 เศรษฐกิจไทยโตต่อเนื่อง ปัจจัยบวกสนับสนุนให้ไทย-เทศเดินหน้าลงทุนเพิ่ม

23 ม.ค. 2567 – นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะนำข้อมูลของปีที่ผ่านมาจากคลังข้อมูลธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย DBD DataWarehouse+ มาทำการวิเคราะห์และประมวลผลภาพรวมการลงทุนในประเทศ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจประเทศในสายตานักลงทุนทั้งคนไทยและต่างชาติ รวมทั้ง นักลงทุนสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับวิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาดก่อนตัดสินใจลงทุน ทำให้เกิดความมั่นใจและพร้อมลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง  

สำหรับภาพรวมการลงทุนในประเทศไทยตลอดปี 2566 ประมวลผลออกมาเป็น ‘ที่สุดแห่งปี 2566 ด้านการลงทุนในประเทศไทย’ พบว่า ในส่วนของการลงทุนของคนไทยในประเทศไทย : การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ในประเทศ พบว่า ปี 2566 เป็นปีที่มียอดการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่สูงสุดในรอบ 10 (ปี 2557 – 2566) โดยปี 2566 มีนักลงทุนจดทะเบียนฯ จำนวนรวมทั้งสิ้น 85,300 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 8,812 ราย หรือ 12% มูลค่าทุน 562,469.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 132,640.83 ล้านบาท หรือ 31% (ปี 2565 จัดตั้ง 76,488 ราย ทุน 429,828.81 ล้านบาท)

เมื่อทำการวิเคราะห์การจัดตั้งนิติบุคคลปี 2566 พบว่า จำนวนการจดทะเบียนจัดตั้งเพิ่มขึ้นกว่า 12% ได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากธุรกิจในภาคต่างๆ ทั้งธุรกิจภาคบริการ ภาคค้าส่ง/ค้าปลีก และภาคการผลิต โดยในส่วนของภาคบริการ คิดเป็น 58% ของจำนวนการจัดตั้งทั้งหมด โดยมีธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวของการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น คือ ธุรกิจกิจกรรมเกี่ยวกับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 366 ราย เติบโต 1.46 เท่า ธุรกิจกิจกรรมของสำนักงานจัดหางานหรือตัวแทนจัดหางาน 43 ราย เติบโต 1.39 เท่า และ ธุรกิจกิจกรรมบริการที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยได้รับค่าตอบแทนหรือตามสัญญาจ้าง 707 ราย เติบโต 1.36 เท่า

ภาคค้าส่ง/ค้าปลีก คิดเป็น 32% ของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจทั้งหมด มีธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวของการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจการขายปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ชนิดใช้ในครัวเรือนบนแผงลอยและตลาด 16 ราย เติบโต 2.20 เท่า ธุรกิจการขายส่งข้าวเปลือกและธัญพืช 203 ราย เติบโต 1.51 เท่า และธุรกิจการขายส่งอิฐหินปูนทรายและผลิตภัณฑ์คอนกรีต 66 ราย เติบโต 1.06 เท่า และเมื่อพิจารณาในส่วนของ

ภาคการผลิต คิดเป็น 10% ของจำนวนการจัดตั้งธุรกิจทั้งหมด โดยมีธุรกิจหลักที่ขับเคลื่อนให้เกิดการขยายตัวของการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธุรกิจการผลิตเครื่องมือกล 18 ราย เติบโต 2.60 เท่า ธุรกิจการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 17 ราย เติบโต 2.40 เท่า และ ธุรกิจการผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ 88 ราย เติบโต 1.59 เท่า

สำหรับการจัดตั้งธุรกิจทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 85,300 ราย เป็นการจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 25,120 ราย (29%) และ ภูมิภาค 60,180 ราย (71%) หากพิจารณาตามเขตภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 ภาค คือ ภาคกลาง มีสัดส่วนการจัดตั้งธุรกิจสูงสุด 17,581 ราย (20.61%) ภาคใต้ 11,675 ราย (13.69%) ภาคตะวันออก 10,948 ราย (12.83%) ภาคตะะวันออกเฉียงเหนือ 8,942 ราย (10.48%) ภาคเหนือ 8,604 ราย (10.09%) และภาคตะวันตก 2,430 ราย (2.85%) โดยทุกภาคมีอัตราการเติบโตของจำนวนการจัดตั้งที่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 ที่ผ่านมา ยกเว้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีอัตราการเติบโตลดลงในปี 2566

ขณะที่พื้นที่การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในเขตภูมิภาค ปี 2566 จังหวัดที่มีการจัดตั้งนิติบุคคลสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จ.ชลบุรี 7,370 ราย จ.ภูเก็ต 4,983 ราย และจ.นนทบุรี 4,583 ราย โดยจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตของจำนวนการจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จ.ภูเก็ต เติบโต 40.82% จ.สุราษฎร์ธานี เติบโต 32.16% และ จ.พังงา เติบโต 21.99% ซึ่ง 3 จังหวัดดังกล่าวอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การลงทุน

การเลิกประกอบธุรกิจ ปี 2566

ปี 2566 มีจำนวนธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการทั้งสิ้น 23,380 ราย เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 1,500 ราย (7%) มูลค่าทุนเลิกประกอบกิจการ 160,056.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 33,008.08 ล้านบาท (26%) (ปี 2565 เลิกประกอบธุรกิจ 21,880 ราย ทุน 127,048.39 ล้านบาท)

ประเภทธุรกิจที่มีการเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป  2,166 ราย (9.26%) 2. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,146 ราย (4.90%X และ 3. ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร เลิกประกอบธุรกิจ 699 ราย (2.99%)

นายอรมน ยังกล่าวถึงที่สุดแห่งปี 2566 ด้านการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

ปี 2566 อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 รวมทั้งสิ้น 667 ราย เงินลงทุนรวม 127,532 ล้านบาท จ้างงานคนไทยรวม 6,845 คน เป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว 228 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) 439 ราย

10 ประเทศที่เป็นที่สุดของการลงทุนในประเทศไทย

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ทั้งจำนวนนักลงทุนและจำนวนเงินลงทุน โดยมีนักลงทุนจำนวน 137 ราย (20.5 %) เงินลงทุนรวม 32,148 ล้านบาท (25.2%)

อันดับที่ 2 สิงคโปร์                   นักลงทุน 102 ราย (15.3%)        ทุน 25,405 ล้านบาท (19.9%)

อันดับที่ 3 สหรัฐอเมริกา             นักลงทุน 101 ราย (15.1%)         ทุน 4,291 ล้านบาท (3.4%)

อันดับที่ 4 จีน                        นักลงทุน 59 ราย (8.9%)            ทุน 16,059 ล้านบาท (12.6%)

อันดับที่ 5 ฮ่องกง                    นักลงทุน 34 ราย (5.1%)            ทุน 17,325 ล้านบาท (13.6%)

อันดับที่ 6 เยอรมนี                   นักลงทุน 26 ราย (3.9%)            ทุน 6,087 ล้านบาท (4.8%)

อันดับที่ 7 สวิตเซอร์แลนด์          นักลงทุน 23 ราย (3.5%)            ทุน 2,960 ล้านบาท (2.3%)

อันดับที่ 8 เนเธอร์แลนด์             นักลงทุน 20 ราย (3.0%)            ทุน 911 ล้านบาท (0.7%)

อันดับที่ 9 สหราชอาณาจักร        นักลงทุน 19 ราย (2.9%)           ทุน 433 ล้านบาท (0.3%)

อันดับที่ 10 ไต้หวัน                  นักลงทุน 18 ราย (2.7%)            ทุน 1,125 ล้านบาท (0.9%)

10 ประเภทธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย

อันดับที่ 1 บริการรับจ้างผลิต      จำนวน 136 ราย (20.4%)         ทุน 42,644 ล้านบาท (33.4%)

อันดับที่ 2 บริการด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 68 ราย (10.2%)          ทุน 1,434 ล้านบาท (1.1%)

             (ให้ใช้สิทธิ์โปรแกรม แอปพลิเคชัน/พัฒนาซอฟต์แวร์ / e-Commerce)

อันดับที่ 3 บริการให้คำปรึกษา     จำนวน 62 ราย (9.3%)             ทุน 7,803 ล้านบาท (6.1%)

             แนะนำ และบริหารจัดการ

อันดับที่ 4 ค้าส่งสินค้า              จำนวน 58 ราย (8.7%)             ทุน 7,873 ล้านบาท (6.2%)

อันดับที่ 5 บริการทางวิศวกรรม    จำนวน 46 ราย (6.9%)             ทุน 2,756 ล้านบาท (2.2%)

อันดับที่ 6 บริการให้เช่า            จำนวน 45 ราย (6.8%)             ทุน 16,096 ล้านบาท (12.6%)

             (สินค้า/ที่ดิน/อาคาร)

อันดับที่ 7 ค้าปลีกสินค้า            จำนวน 41 ราย (6.2%)             ทุน 1,635 ล้านบาท (1.3%)

อันดับที่ 8 บริการทางการเงิน      จำนวน 23 ราย (3.5%)             ทุน 6,805 ล้านบาท (5.3%)

             (สินเชื่อ/ให้กู้/รับค้ำประกันหนี้)

อันดับที่ 9 คู่สัญญาเอกชน          จำนวน 22 ราย (3.3%)             ทุน 689 ล้านบาท (0.5%)

             (ขุดเจาะปิโตรเลียม/ก่อสร้างโครงการ)

อันดับที่ 10 นายหน้า               จำนวน 20 ราย (3.0%)             ทุน 1,697 ล้านบาท (1.3%)

ส่วนภาพรวมธุรกิจในปี 2567 คาดว่าจะได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มฟื้นตัวตามคาดการณ์ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้คาดการณ์ไว้ที่ 2.7 – 3.7% และการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกไว้ที่ 2.7% สอดคล้องกับกระทรวงการคลังที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี จากปัจจัยสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง มาตรการภาครัฐด้านต่างๆ ที่จะช่วยส่งเสริมการบริโภคของภาคเอกชน เช่น โครงการ อี-รีฟันด์ (e-Refund) มาตรการลดหย่อนภาษี (Easy E-receipt) มาตรการแก้หนี้นอกระบบ และนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ที่จะช่วยสร้างกระแสหรือความนิยมและมูลค่าเพิ่มให้กับเรื่องต่างๆ เป็นต้น

สำหรับปัจจัยลบหรือความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการประกอบธุรกิจในปี 2567 ที่ควรจับตามอง ได้แก่ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกที่อาจส่งผลต่อการค้าและการลงทุนโลก ความผันผวนของตลาดการเงินโลก สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกของไทย รวมทั้ง ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติและสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจส่งผลต่อสถานการณ์แล้งและต้นทุนราคาอาหาร นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ภาระหนี้สินต่อครัวเรือนที่สูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ เป็นอีกปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจในปี 2567 ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ต่างชาติขนเงินลงทุนในไทย 3.5 หมื่นล้าน ญี่ปุ่นยังเป็นอันดับ 1

พาณิชย์โชว์ไตรมาสแรกปี 2567 ต่างชาติลงทุนในไทย 35,902 ล้านบาท ญี่ปุ่นลงทุนอันดับหนึ่ง 19,006 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 3,294 ล้านบาท และฝรั่งเศส 3,236 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 849 คน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหนุนธุรกิจแฟรนไชส์เร่งสร้างมาตรฐาน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เตรียมอัปเกรดผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ เร่งสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ให้มีศักยภาพพร้อมสร้างเครือข่ายกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศในการขยายตลาด ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพิ่มขึ้น เปิดรับสมัครผู้ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Standard) ประจำปี 2567 ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2567

พาณิชย์ โชว์ ม.ค. ต่างชาติลงทุนในไทย 7,171 ล้าน

เบิกฤกษ์..มกราคม 2567 ต่างชาติลงทุนในไทย 7,171 ล้านบาทญี่ปุ่นลงทุนอันดับหนึ่ง 3,793 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 1,083 ล้านบาท และจีน 768 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 172 คน

พาณิชย์เผยปี 66 ต่างชาติขนเงินลงทุนไทย 1.27 แสนล้าน ญี่ปุ่นเบอร์ 1

ปี 2566 ต่างชาติลงทุนในไทย 127,532 ล้านบาท ญี่ปุ่นลงทุนอันดับหนึ่ง 32,148 ล้านบาท ตามด้วย สิงคโปร์ 25,405 ล้านบาท และฮ่องกง 17,325 ล้านบาท จ้างงานคนไทย 6,845 คน

กสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 66 โกยกำไร 42,405 ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงขยายตัวในลักษณะไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) โดยการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนอื่นยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับขึ้นของต้นทุน