
อดีตคณบดีเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต เตือนอาจเกิดภาวะ Stagflation ของเศรษฐกิจไทยในหน้าแล้งปีนี้ ราคาอาหารพุ่งสูง เดือดร้อนประชาชนผู้บริโภคโดยเฉพาะคนจนเมือง
16 ม.ค.2565-รศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า สัญญาณของการเกิดภาวะ Stagflation เริ่มชัดเจนขึ้น มีความเสี่ยงมากขึ้นที่เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญภาวะ Stagflation คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เติบโตต่ำและเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาก สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่เผชิญอยู่เวลานี้คือ รายได้ชะลอตัว หนี้สินท่วม ค่าครองชีพสูงขึ้น แถมยังว่างงานอีกหรือทำงานต่ำระดับ ไม่มีความจำเป็นใดๆที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการนโยบายเข้มงวดทางการเงินเพิ่มขึ้นหรือปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเพราะช่องว่างการผลิต (Output Gap) ของเศรษฐกิจไทยยังติดลบค่อนข้างมาก มีกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่จำนวนมาก การใช้นโยบายการเงินและการคลังแบบผ่อนคลายมีความจำเป็นต่อการประคับประคองการฟื้นตัวของการจ้างงานและการกระเตื้องขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นเป็นปัญหาทางด้านอุปทานเป็นหลัก คือ ราคาพลังงานสูงขึ้น บาทอ่อนค่า และราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นจากภัยแล้งในพื้นที่เกษตร
ขณะที่ก่อนหน้านี้เกิดน้ำท่วมพื้นที่เกษตรกรรม ได้รับความเสียหาย สะท้อนความไม่สามารถในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและไม่มีลงทุนระบบชลประทานอย่างจริงจัง ล่าสุด เกิดโรคระบาดในหมูทำให้ซ้ำเติมสถานการณ์ ทำให้เนื้อหมูในตลาดลดลง ราคาแพงขึ้น แต่สิ่งนี้อาจเป็นโอกาสของสินค้าประเภท เนื้อที่ทำมาจากพืช (Plant-based Meat) หรือ อาหารที่ทำมาจากพืช (Plant-based Food) และเนื้อสัตว์ที่สามารถทดแทนกันได้
เนื้อหรืออาหารที่ทำมาจากพืชนี้กำลังมาแรง และ น่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรมใหญ่ในอนาคต เป็นอาหารส่งเสริมสุขภาพ ลดการฆ่าสัตว์และสิ่งมีชีวิตชีวิตอื่นๆ ทำให้ระดับคุณธรรมสูงขึ้น ตอนนี้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคอาหารมากมาย ก่อนหน้ามีเทรนด์ของคนที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ ทานมังสวิรัติ หรือเป็นกลุ่ม Vegan ที่ต่อต้านการละเมิดชีวิตสัตว์ทุกประเภท ตนเชื่อว่า Plant-based Food จะไม่ใช่แค่ ตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือ Niche Market เป็น แนวโน้มใหญ่ Mega Trend ของอุตสาหกรรมอาหารในอนาคต จะเข้ามา Disrupt และ ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเลี้ยงปศุสัตว์และธุรกิจอาหารทั้งระบบอย่างแน่นอน แม้ว่าขณะนี้ เนื้อหรืออาหารที่ทำมาจากพืชจะมีราคาแพงอยู่ เมื่อผู้ผลิตปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภค ราคาจะค่อยๆลดลงในอนาคต
ราคาสินค้าอุตสาหกรรมบางส่วนปรับตัวสูงขึ้นจากการขาดแคลนวัตถุดิบ การชะงักงันระบบจัดส่งและค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นยังดำรงอยู่ ปัญหาบางส่วนเกิดจากการหยุดดำเนินการผลิตของโรงงาน เกิดการการชงักงันของระบบจัดส่งโลจีสติกส์ จากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิดก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะ Stagflation ของเศรษฐกิจไทยอาจเกิดขึ้นเมื่ออัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นหลังเดือนมีนาคม ไทยอาจเผชิญภัยแล้งรุนแรงทำให้พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย และ ในบางพื้นที่ไม่มีการทำเกษตรเนื่องจากขาดน้ำ ราคาอาหารซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการคำนวณเงินเฟ้อจะพุ่งสูง หากเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวชัดเจนในช่วงไตรมาสสอง ไทยจะเกิด Stagflation แน่นอน ฉะนั้นต้องคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดโอมิครอนให้ได้ เพื่อไม่ให้มีการ Lockdown และ สามารถกลับมาเปิดประเทศได้เต็มที่ ภาคการท่องเที่ยวจะได้กระเตื้องขึ้น
ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณของ Excess Demand ใดๆ ในเศรษฐกิจภาคการผลิต อุปสงค์มวลรวมยังกระเตื้องขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากมาตรการทางการคลังกระตุ้นการบริโภคการใช้จ่าย ไม่ได้เกิดจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นของภาคครัวเรือนภาคธุรกิจมากนัก ภาวะฟองสบู่เกิดขึ้นในตลาดการเงินโดยตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ขอเตือนให้ระมัดระวังฟองสบู่และส่งผลลบต่อภาคการลงทุนและภาคการเงินได้ ภาวะ Excess Supply ยังคงมีอยู่ในสินค้าส่วนใหญ่ ยกเว้นสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรบางตัวนั้นเกิดสถานการณ์ตรงกันข้าม คือ เกิด Supply Shocks เนื่องจาก เกิดโรคระบาดหมูทำให้ เนื้อหมูราคาแพง พืชผักผลไม้แพงเนื่องจากหลายพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ที่ผ่านมารัฐบาลก็ลงทุนปรับปรุงระบบชลประทานน้อยมาก ราคาอาหารแพงแบบนี้จึงไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรผู้ผลิตแต่อย่างใด
“การใช้มาตรการสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด หรือ เอาเงินงบประมาณไปซื้อเนื้อหมูหรือพืชผลเกษตรแล้วเอาขายต่อให้ประชาชน เป็นการแก้ปัญหาเฉพาหน้า ช่วยบรรเทาปัญหาได้เล็กน้อยมากๆ และ ยังจะเกิดช่องทางของการทุจริตรั่วไหลจากการใช้งบประมาณ หรือ เอื้อประโยชน์ให้คนในเครือข่ายของตัวเอง จึงไม่ใช่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเป็นช่องทางในการหาประโยชน์จากนโยบายได้ วิธีการแก้ปัญหา คือ ควบคุมโรคระบาดให้ได้ และ เพิ่มปริมาณเนื้อหมูเข้าสู่ตลาด หรือ ส่งเสริมสินค้าอื่นๆที่ใช้ทดแทนเนื้อหมูได้ เช่น Plant-based Food ขณะที่ Plant-based Food Plant สามารถสร้างโอกาสมากมายทั้งทางธุรกิจ และเรื่องของสุขภาพ ช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของโลกอีกด้วย นอกจากจะทำให้สุขภาพและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นแล้ว ในแง่ธุรกิจยังสามารถขายผู้ป่วยได้ หรือคนที่ต้องการฟื้นฟูสุขภาพได้ด้วย เพิ่มสมรรถนะร่างกาย มีโปรตีนที่สร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่า”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฮ! S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย
S&P คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทยอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)
TISCO ชี้ปี 67 ‘พันธบัตรโลก’ สร้างผลตอบแทน 8 -15 % ดีกว่าหุ้น
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ชี้เศรษฐกิจโลกปี 2567 จะโตแบบชะลอตัวเมื่อเทียบกับปี 2566 ผลจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดในรอบหลายทศวรรษ
บิ๊ก 'กบข.' มองบวก เชื่อท่องเที่ยว-ส่งออก ดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว
กบข. ประเมินเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี หลังได้รับอานิสงส์จากการท่องเที่ยว และประเทศคู่ค้าฟื้นตัวส่งผลให้ภาคการส่งออกมีสัญญาณที่ดี พร้อมคาดภาวะบาทแข็งจะทำให้นักลงทุนต่างชาติจะกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
เอวัง! 'เศรษฐา' สรุปแล้วเศรษฐกิจไทยวิกฤติ เมินนิด้าโพลค้านกู้มาแจกดิจิทัลวอลเล็ต
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “OK ไหม กับ นายกฯ สรุปเอง เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” และการออก พ.ร.บ.กู้เงิน
นายกฯ ประกาศความพร้อมประเทศไทยเปิดแล้ว พร้อมรองรับการลงทุนจากต่างชาติ
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมรับประทานอาหารค่ำในงาน Foreign Industrial Club Gala Dinner ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ
ลุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ยังโตต่อ!บริโภค-ท่องเที่ยวหนุน
“แบงก์ชาติ” ลุ้นเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/66 ยังโตต่อ รับอานิสงส์บริโภคเอกชน-ท่องเที่ยวฟื้นไม่หยุด ด้าน “สศอ.” เปิดดัชนี MPI เดือน ก.ย. หดตัว 6.06% โอดพิษเศรษฐกิจโลก ยอมหั่นจีดีพีอุตสาหกรรมปีนี้ ติดลบ 2.5-3%