แอสตร้าฯจัดเสวนาประสิทธิผลวัคซีน ไวรัลเวคเตอร์กับmRNA มีความเท่ากัน ในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต

บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย ได้จัดเสวนาหัวข้อ เรื่อง “ผลการศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน” โดยร่วมกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO) เครือข่ายระดับภูมิภาคว่าด้วยเวชศาสตร์เขตร้อนและสาธารณสุข หรือ ซีมีโอทรอปเมด ในประเทศไทย และวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งฟิลิปปินส์ ซึ่งจะมานำเสนอข้อมูลใหม่ล่าสุด เปรียบเทียบประสิทธิผลการป้องกันโควิด-19 ของวัคซีน ชนิดไวรัส เว็กเตอร์ กับ ชนิด mRNA

ดร. รอนจีน โซลันเต้ วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งฟิลิปปินส์ กล่าวว่าประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ว่ามีข้อมูลที่ถูกวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากทั่วเอเชียนั้นมาจาก VIEW-hub ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแบบอินเตอร์แอคทีฟที่แสดงข้อมูลระดับโลกพร้อมภาพประกอบเกี่ยวกับการใช้วัคซีนและผลกระทบ โดยถูกพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของวิทยาลัยสาธารณสุขจอห์น ฮอปกินส์ บลูมเบิร์ก (Johns Hopkins Bloomberg School of Public Health) และศูนย์การเข้าถึงวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Access Center) ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ได้รับการอัปเดตข้อมูลในทุกสัปดาห์เพื่อเป็นแหล่งรวมกรณีศึกษาจริงจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของวัคซีน โดยกรณีศึกษาจริง 79 เรื่อง ที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลนี้ เป็นงานวิจัยที่รวมเอาข้อมูลด้านประสิทธิผลเชิงเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีน mRNA BNT162b2 และ mRNA-1273 โดยแพลตฟอร์ม VIEW-hub ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบันทึกผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยของการศึกษาเหล่านี้ ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบข้อมูลที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในลักษณะเดียวกันได้

“แต่การศึกษาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อศึกษาถึงการใช้วัคซีนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก แต่เป็นการเน้นดูผลเรื่องการป้องกันการเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิต พบว่าการประเมินผลของวัคซีน ไม่ควรดูระยะสั้น ที่ภูมิมักจะพุ่งสูงขึ้นหลังฉีดวัคซีน แต่ต้องดูผลกระทบด้านความรุนแรงของอาการ การเข้าโรงพยาลาล และเสียชีวิตซึ่งเป็นประสิทธิผลระยะยาว และภูมิจะลดลงหลังฉีด 2เข็มไปสักระยะหนึ่ง ซึ่งควรมีการฉีดเข็มกระตุ้น หลังฉีด2เข็มไปแล้ว “

แพทย์หญิงสุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การฉีดวัคซีนช่วงแรกแอนติบอดิ จะสูงขึ้นในช่วงแรกๆ เดิมทีเราก็ใช้เป็นเกณฑ์วัด แต่ทั้งนี้ ยังต้องดูประสิทธิผลของวัคซีนจากกรณีศึกษาจริง เพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนที่ใช้นั้นได้ผล โดยสามารถการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ได้อย่างดี เราได้ศึกษางานวิจัยกว่า 79 เรื่อง ที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัคซีนจริง และพบว่าวัคซีนชนิดไวรัลเวคเตอร์ และวัคซีน mRNA ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย ล้วนมีประสิทธิผลในการป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง การเข้าโรงพยาบาลและการเสียชีวิต ได้ในระดับสูงไม่แตกต่างกัน โดยมีการศึกษาในจังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ กรุงเทพ และกาฬสินธ์

“แต่การฉีดเข็ม 3 มีความจำเป็นในการกระตุ้นภูมิ ในประเทศไทยปัจจุบันฉีดเข็ม 2แล้วกว่า 80% แต่เข็ม 3ประมาณ 40% ซึ่งกำลังมีการผลักดัน เพราะเข็ม 3จะช่วยเสริมคุ้มครองการป้องกัน และยังทำให้ลดความเจ็บป่วยรุนแรง เข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิตได้มากยิ่งขึ้น”

ทางด้านแอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ ระบุว่า จากรายงานการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับใหม่โดยผู้เชี่ยวชาญจากงานวิจัยที่มาจากกรณีศึกษากว่า 79 เรื่อง เผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก1 ต่างให้ประสิทธิผลที่เท่ากันในการการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 หลังการให้วัคซีนสองเข็ม

โดยรายงานฉบับดังกล่าวแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนว่าทั้งวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดไวรัล เวคเตอร์ (Viral Vector) และวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด mRNA ต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล (อยู่ที่ระหว่าง 91.3-92.5%) และการเสียชีวิต (อยู่ที่ระหว่าง 91.4 – 93.3%) ในระดับเดียวกัน โดยไม่มีความต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งครอบคลุมผู้ป่วยในทุกช่วงอายุ2 แม้ว่าข้อมูลในขณะที่ทำรายงานการวิเคราะห์ฉบับนี้จะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับสายพันธุ์เดลต้าและสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่ข้อมูลจากการระบาดระลอกใหม่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนต่อการป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน3

ศาสตราจารย์กาย ทเวทส์ ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยทางคลินิกของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในเวียดนาม เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 มีความสำคัญต่อการช่วยชีวิตและช่วยให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญของเราแสดงให้เห็นว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนชนิด mRNA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันต่างให้ประสิทธิผลในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้ในระดับสูง และเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับภาครัฐและผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคนี้ เพื่อพิจารณานำวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปใช้กับประชาชนอย่างเหมาะสมที่สุดในช่วง 12 เดือนข้างหน้า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แอสตร้าเซนเนก้า จับมือโรงพยาบาลพุทธชินราช ยกระดับการดูแลรักษาเชิงรุก ส่งมอบนวัตกรรม Asthma Smart Kiosk

กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ทำการติดตั้ง Asthma Smart Kiosk เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ผลักดันจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นเมืองต้นแบบแห่งการดูแลผู้ป่วยโรคปอด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง 'ลิ่มเลือดสีขาว' ไม่เกี่ยวฉีดวัคซีนโควิด

สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงข้อเท็จจริง เรื่อง ลิ่มเลือดสีขาว (White clot) และวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA จากกรณีที่มีการเผยแพร่และส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการพบสิ่งแปลกปลอมซึ่งมีลักษณะเป็นลิ่มเลือดสีขาว (White clot) ในหลอดเลือดผู้เสียชีวิตที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19

เครือ BDMS นำร่อง รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จับมือ แอสตร้าเซนเนก้า ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ

'หมอยง' ไขข้อข้องใจ 'วัคซีนโควิด' กับผลได้ผลเสีย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีนโควิด 19