'รองนายกฯ' จี้กมธ. เร่งพิจารณา พ.ร.บ.การศึกหาฯ ให้เสร็จกำชับศธ.เรื่องแก้ไขคําสั่ง คสช.ที่ 19 ต้องเปิดรับฟังความเห็นรอบด้าน

10ส.ค.2565- นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…. ว่า ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการอยู่ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้หารือกับนายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ว่าขอให้รีบดำเนินการจัดทำร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ซึ่งหลังจากนั้นหากร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ทำเสร็จแล้วจะดีหรือไม่ดีเราค่อยมาปรับแก้ไขภายหลังในรูปแบบกฎหมายลูกได้ ดังนั้นจะต้องมีการบังคับใช้ร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ ฉบับนี้ออกมาให้ได้ก่อน ขณะเดียวกันระหว่างรอพ.ร.บ.การศึกษาฯ ให้มีผลบังคับใช้ก็ยังมีกฎหมายอื่นๆใช้ไปก่อน เช่น กฎหมายการศึกษาด้านเด็กปฐมวัย พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ.2562 เป็นต้น ซึ่งยังสามารถช่วยขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาบริหารจัดการได้

นายวิษณุ กล่าวต่อว่า ส่วนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ ให้อํานาจหน้าที่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ไปเป็นของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตามมาตรา 53(3) และ (4) แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและผู้อํานวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี โดยความเห็นชอบของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา เป็นผู้มีอํานาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งนั้น ซึ่งในประเด็นนี้ตนได้รับรายงานจากนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) แล้ว ว่า จะเตรียมรับกฎหมายดังกล่าวอย่างไรบ้าง โดยตนได้ให้ข้อเสนอแนะไป ว่า จะต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและไม่เป็นปัญหาเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

” เพราะการที่ถ้าเรามั่วแต่วนไปวนมาเราก็จะไม่ได้ไปไหนสักที เหมือนกับเราพูดถึงเรื่องการปกครองที่เดินหน้าถอยหลังเลยทำให้ไม่ได้ไป เพราะฉะนั้นถ้ามันจะต้องถอยหลังมันก็ต้องมีอะไรที่เดินหน้าให้เห็นไปพร้อมกันด้วยในเรื่องอื่นๆ เพื่อที่จะเป็นการชดเชยกัน อีกทั้งพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็เอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะในบรรดาเรื่องการปฏิรูปประเทศทั้งหมด นายกฯเอาใจใส่กับการปฏิรูปการศึกษามากที่สุด และติดตามเรื่องการปฏิรูปการศึกษาอย่างใกล้ชิด “นายวิษณุกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิษณุ' แย้มเร่งตรวจกม.ฉบับใหม่ ปิดช่องขรก.รีดใต้โต๊ะ ได้ใช้ปีหน้า

'วิษณุ' เผย 'กฤษฎีกา' กำลังตรวจร่างกฎหมายอำนวยความสะดวก นวัตกรรมป้องปรามโกงยุคดิจิทัล คาดได้ใช้ปี 68 ข้าราชการต้องระวังมากขึ้น

สภาฯลงมติรับหลักการร่างกฎหมาย 'คืนดาบ' กมธ. มีอำนาจเรียก รมต.-ขรก.ชี้แจง

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) อำนาจเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.... ซึ่งเสนอโดย นายสฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง สส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย