ดุสิตโพล ชี้ปัญหาการศึกษาไทยมาจากความเหลื่อมล้ำ-การบริหารงานของศธ.

21 ส.ค. 2565 -สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,059 คน ระหว่างวันที่ 16-19 สิงหาคม 2565 พบว่า ประชาชนคิดว่าปัญหาการศึกษาไทย ณ วันนี้ เกิดจาก ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ร้อยละ 61.19รองลงมาคือ การบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการ ร้อยละ 59.49 โดยเห็นด้วยว่าในช่วงโควิด-19 “ครูไทย” ปรับตัวได้ดีทันกับการเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 70.71 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนา “ครูไทย” คือ เงินเดือนและค่าตอบแทน ร้อยละ 65.34 รองลงมาคือการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น โควิด-19 ร้อยละ 64.49 ทั้งนี้ครูไทยที่ดีควรรักในอาชีพ มีจิตวิญญาณความเป็นครู ร้อยละ 74.98 รองลงมาคือ กล้าที่จะทำอะไรใหม่ ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับวิธีการแบบเดิม ๆ ร้อยละ 67.42 และประชาชนมองว่าอาชีพครูยังเป็นอาชีพที่คนอยากเป็น ร้อยละ 57.97 รองลงมาคือ ไม่อยากเป็น ร้อยละ 40.99

จากผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลเกี่ยวกับ “การศึกษาและครูไทย” หลายปีที่ผ่านมา พบว่า สาเหตุของปัญหาการศึกษาไทยยังคงมาจากความเหลื่อมล้ำและการบริหารงานที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายบ่อยครั้ง แม้จะต้องการปฏิรูปการศึกษาไทยให้ดีขึ้นแต่ก็ยังคงมีปัญหาสะสมมาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 กลับพบว่าบุคลากรสำคัญอย่าง “ครูไทย” นั้นปรับตัวได้เป็นอย่างดี สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกันอย่างหลากหลาย ทั้งนี้บทบาทของครูไทยที่ประชาชนคาดหวังก็คือการเป็นครูที่รักในอาชีพและกล้าที่จะทำสิ่งใหม่อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่คนไทยอยากเป็น และเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวงการศึกษาไทยต่อไป

ผศ.ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ระบุว่า จากผลการเสวนากลุ่มเรื่อง “VUCA World…ครูไทยไปทางไหนดี” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาเข้าร่วมจำนวน 7 ท่าน สะท้อนให้เห็นว่าตราบใดที่ระบบโครงสร้างหลักสูตรยังไม่สอดคล้องกับสภาพบริบทของสังคมไทย ไม่สามารถผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดแรงงานได้ ครูไทยจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อสถานการณ์ที่ผันผวน เปิดใจฟังผู้เรียนเพื่อสร้างความเข้าใจมากกว่าการตัดสินว่าถูกหรือผิด รักและศรัทธาในวิชาชีพพร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู เพื่อทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าโรงเรียนคือพื้นที่ปลอดภัย และเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยการลงมือทำ และที่สำคัญควรปรับนโยบายด้านการประเมินครูด้วยเทคนิคการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุทิน' ควง 'เจ้าสัวธนินท์' สักขีพยาน MOU กลาโหมจับมือซีพี

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน

การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

หนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

'สวนดุสิตโพล' เผยดัชนีการเมืองไทยเดือนก.พ.เฉลี่ย 5.16 คะแนน ลดลงเล็กน้อย

“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,335 คน

'หมอวรงค์' เปิดใจ! ทำไมต้องมี 'พรรคไทยภักดี'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี คำถามที่หลายคนต้องการคำตอบ เพื่อความชัดเจนว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี ตั้งใจอ่านให้จบนะครับ