'สมศ.'จับมือ'ญี่ปุ่น-ไต้หวัน'พลิกโฉมประเมินอุดมศึกษาไทย

สมศ.  จับมือกับญี่ปุ่น ไต้หวัน พัฒนาเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอก และรับรองสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่ในชื่อ  iJAS Plus “นันทา”เผยเพื่อยกระดับการประเมิน สถาบันอุดมฯ สู่มาตรฐานสากล ใช้ผู้ประเมินต่างประเทศ ทีเชี่ยวชาญประเทศละ2 คน ผู้เชี่ยวชาญไทย 1 คน ออกใบรับรองมีอายุ 6ปี  4ภาษา

ดร.นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ(สมศ.) กล่าวว่า สมศ. มุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา ด้วยการแลกเปลี่ยนบุคลากรในหน่วยงานต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทางวิชาการ ด้านระบบการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา โดยล่าสุด (สมศ.) ได้ร่วมมือกับ Japan University Accreditation Association (JUAA) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาของประเทศญี่ปุ่น และ Taiwan Assessment and Evaluation Association (TWAEA) หน่วยงานด้านการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษาของไต้หวัน พัฒนาเกณฑ์การประเมินและรับรองสถาบันอุดมศึกษารูปแบบใหม่ในชื่อ “International Joint Accreditation Standards” หรือ iJAS Plus เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประเมินประเทศไทยได้พัฒนาความรู้ความสามารถเทียบเท่านานาชาติ และยกระดับคุณภาพการศึกษาเข้าสู่สากล โดยคงความสอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษาไทย

ทั้งนี้   แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกและรับรองสถาบันอุดมศึกษาแบบ International Joint Accreditation Standards หรือ iJAS Plus นั้น มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการศึกษา พ.ศ.2565 หมวด 2 มาตรฐานการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา เป็นมาตรฐานเพื่อให้การดำเนินการตามภาระหน้าที่หลักเป็นไปอย่างครบถ้วนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม 3) ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม 4) ด้านการทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และหมวด 3 มาตรฐานการดำเนินการเพื่อให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ

สำหรับการลงพื้นที่ประเมินและรับรองสถาบันอุดมศึกษาในรูปแบบ iJAS Plus ผู้ประเมินต้องเป็นตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ประเทศละ 2 คน และตัวแทนจากประเทศไทย 1 คน ซึ่งจะทำให้สถาบันอุดมศึกษาได้รับข้อเสนอแนะ ที่มาจากมุมมองผู้เชี่ยวชาญที่เป็นระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น สถาบันอุดมศึกษาที่ผ่านการประเมินและรับรองจาก iJAS Plus จะได้รับสิทธิ์ในการแลกเปลี่ยนนิสิต นักศึกษา (Student Mobility) ระหว่างประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และไต้หวัน การถ่ายโอนหน่วยกิต (Credit Transfer) รวมทั้งสามารถพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน (Joint Degree)  ทั้งหลักสูตรระดับปริญญาตรี โท เอก ในสาขาวิชาที่ตกลงร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของนิสิต นักศึกษาสู่สากล

 โดยในขณะนี้เกณฑ์การประเมินแบบ iJAS Plus นั้นอยู่ในระหว่างการเตรียมการเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ สมศ. แล้วจะนำเสนอและยื่นขอความเห็นขอบจากคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา (กมอ.) ต่อไป ขณะนี้ทาง สมศ. ก็ได้เตรียมการพัฒนาฝึกอบรมผู้ประเมินภายนอกร่วมกับญี่ปุ่นและไต้หวัน และเตรียมประชาสัมพันธ์เกณฑ์การประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษารูปแบบใหม่ iJAS Plus ให้กับสถาบันอุดมศึกษาในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ทราบ


 “การเข้าประเมินคุณภาพภายนอกในรูปแบบ iJAS Plus  จะทำให้สถาบันอุดมศึกษาที่ต้องการเข้ารับการประเมินและรับรอง สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ ไม่ได้เป็นการสร้างภาระเพิ่ม แต่อย่างใด แต่กลับเป็นยกระดับมาตรฐาน เข้าสู่ระดับนานาชาติ  การเข้ารับการประเมิน จะทำให้ได้ทราบถึงข้อเสนอแนะ คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ เพราะผู้ประเมินเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ โดยสถาบันอุดมศึกษาจะได้รับการรับรองจาก iJAS Plus เป็นระยะเวลา 6 ปี พร้อมกับได้รับใบรับรอง 4 ภาษา ไทย ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ”นางนันทากล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ข้องใจ! 'โชกุน' ทำตามออร์เดอร์ 'พญาอินทรีย์'

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ระบุข้อความว่า น่าแปลใจไหมครับ ญี่ปุ่นให้รางวัลนี้กับ อ.ธงชัย ทั้งที่ญี่ปุ่นนี้ โค-ตะ-ร

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

กยท.จับมือญุี่ปุ่น แปรรูปเมล็ดยางผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ ชาวสวนยาง เตรียมเฮ! มั่นใจช่วยเพิ่มรายได้/สร้างความมั่นคง

กยท.จับมือเอกชนญี่ปุ่น ขับเคลื่อนขยายผลการแปรรูปเมล็ดยางพาราเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากวัตถุดิบชีวมวล ไร้มลพิษ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรับกระแสโลก