อย. เตือนอย่าเชื่อ อย่าแชร์! แซ่วี Method รักษาโควิดได้ ใช้รักษาติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น

28ก.ย.64- ภญ. สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการแชร์คลิปวีดีโอหรือข้อความเกี่ยวกับแนวคิด“แซ่วี Method” สามารถรักษาโรคโควิด 19 ได้ โดยการรับประทานยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก่ อะม็อกซีซิลลิน  (Amoxycilin)และอะซิโธรมัยซิน (Azithomycin) นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเตือนประชาชนว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงยาอะม็อกซีซิลลินและยาอะซิโธรมัยซินเป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาโรคหรืออาการที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียไม่สามารถรักษาโรคโควิด 19 ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสได้แต่อย่างใด โดยยาอะม็อกซีซิลลิน จัดอยู่ในกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ หู คอ จมูก และผิวหนัง เป็นต้นส่วนยาอะซิโธรมัยซินจัดอยู่ในกลุ่มแมคโครไลน์ (Macrolide) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดบวมโรคหลอดลมอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ไซนัสอักเสบ การติดเชื้อที่หูชั้นกลาง การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งการรักษาโรคด้วยยาปฏิชีวนะจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากแพทย์หรือเภสัชกร เพราะหากรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ภายหลังเมื่อป่วยจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อจะมีความทนต่อยามากขึ้น ทำให้ใช้ยาไม่ได้ผลนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ภญ. สุภัทรา บุญเสริม กล่าวต่อไปว่า ขอเตือนผู้ที่ทำหรือเผยแพร่คลิปดังกล่าวให้หยุดการกระทำทันทีท่านกำลังทำให้ผู้ติดเชื้อโควิด 19 เสียโอกาสได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ และ อย.จะดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป พร้อมขอความร่วมมือจากประชาชนอย่าเชื่อและแชร์ข้อมูลดังกล่าวทั้งนี้มาตรการรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากาก หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจหาเชื้อ และใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ (D-M-H-T-T-A)ยังมีความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคโควิด 19หากมีข้อสงสัยขอให้สอบถามข้อมูลที่สายด่วน อย. 1556 และสามารถติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 ได้ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หัวข้อ COVID-19 แล้วคลิกไปที่ “ข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง”หรือติดตามที่เฟซบุ๊ก Fda Thai

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยพบ 'โควิด' ส่งผลกระทบสมองและความจำ

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 64,067 คน ตายเพิ่ม 294 คน รวมแล้วติดไป 681,473,367 คน เสียชีวิตรวม 6,811,653 คน

จับตา! ไข้หวัดใหญ่ H3N2 สายพันธุ์อินเดีย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมเมื่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในอินเดียลดลง จำนวนผู้ป่วยไวรัสไข้หวัดใหญ่ “H3N2”

ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ 147 ราย ดับ 7 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 26 ก.พ. – 4 มี.ค. 2566 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 147 ราย

หมอธีระ เผยยาสู้โควิด ตัวใหม่จากญี่ปุ่น ประสิทธิภาพดี ลดอาการผิดปกติ Long COVID

"รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "Thira Woratanarat" เผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 66,287 คน ตายเพิ่ม 256 คน รวมแล้วติดไป 680,604,607 คน เสียชีวิตรวม 6,804,922 คน