เสียงขานรับกม.จราจรใหม่ วัดแอลกอฮอล์

หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ร่างกฏกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. … ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ให้ครอบคลุมและเข้มงวดยิ่งขึ้น


สาระสำคัญร่างกฎหมายพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ที่มีการปรับปรุง ในเรื่องการตรวจแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ให้มีความครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีการพิสูจน์ผู้ขับขี่ที่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีตรวจวัดจากลมหายใจได้ คือ นอกจากการตรวจวัดลมหายใจ ยังได้กำหนดวิธีตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ โดยตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม) หรือตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ (กำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด) นอกจากนี้ กรณีผู้ขับขี่มีพฤติการณ์ที่ทำให้เชื่อว่า ได้ขับรถขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ให้พนักงานสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้กระทำการฝ่าฝืนฯ หรือไม่ “ได้ทุกกรณี”


ขณะเดียวกันก็มีการปรับปรุงเรื่องบทลงโทษ โดยหากทำผิด เมาแล้วขับครั้งที่ 1 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือยกเลิกใบอนุญาตขับขี่
เมาแล้วขับครั้งที่ 2 โดยเกิดขึ้นภายใน 2 ปี จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ ปรับ 50,000-100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักอนุญาตใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
จะห็นได้ว่าการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าว  นับเป็นการเพิ่มโทษ เมาแล้วขับทำผิดซ้ำ 2 ลงไปในกฎหมายจราจร

ชัชฎา จันทรางศุ ประธานมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ (มปอ.) กล่าวว่า  ในวันนี้ เป็นเรื่องน่ายินดีที่รัฐบาลมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวงฯ ออกหลักเกณฑ์ใหม่ในการตรวจแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ เพราะเท่าที่ทราบที่่ผ่านมา หากมีการปฎิเสธ ที่จะเป่าวัดระดับแอลกอฮอล์ เจ้าหน้าที่ก็ทำอะไรไม่ได้  เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ  ซึ่งจากมติครม.ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายขึ้น   สามารถส่งคนที่สงสัยเมาแล้วขับ ไปตรวจวัดของเสียในร่างกายกับสถานพยาบาลใกล้ที่สุดได้ แม้ว่าในความเป็นจริงอาจจะทำได้ไม่เยอะ

ชัชฎา จันทรางศุ


“ที่ผ่านมาคนเราพอเมาแล้ว ก็มักจะปฎิเสธทุกอย่าง ทั้งการเป่า  แต่พอมีกฎหมายใหม่ที่จะออกมา  เจ้าหน้าที่ก็จะทำหน้าที่ของเขาได้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ มาตรการนี้ยังสอดคล้องกับการที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับมิติ เรื่องการท่องเที่ยว หรือการขยายเวลาการขายเหล้า ออกไปเป็น ตี 4 อีกด้วย   แต่ต่อไปเราอาจจะต้องออกกฎหมายที่ละเอียดมากขึ้น เช่น เรามีกฎหมายกำหนดอายุผู้ซื้อแอลกอฮอล์ แต่ในต่างประเทศ เขามีการกำหนดทั้งอายุผู้ซื้อ และตัวแอลกอฮอล์ที่ดื่มอีกด้วย “


 สำหรับ การตรวจเลือด หรือของเสียในร่างกาย ประธาน มปอ. กล่าวว่า เคยมีการทดสอบเรื่องการเป่าวัดแอลกอฮอล์ ซึ่งแม้จะดื่มมาน้อย หรือแค่อมในปาก แต่ไม่ดื่มลงไป  แล้วไปลองเป่า ก็พบว่าระดับแอลกอฮอล์จะขึ้นทันที ซึ่งการตรวจวัดของเสีย หรือตรวจเลือดว่ามีแอลกอฮอล์หรือไม่ จะชัดเจนกว่า หากดื่มประมาณครึ่งชั่วโมง กระเพาะก็จะดูดซึ่มแอลกอฮอล์ แล้วไปสู่กระแสเลือด
ชัชฎากล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกฎหมายที่บังคับใช้ครอบคลุมและเข้มงวดมากขึ้น แต่ มปอ. เชื่อว่า การส่งเสริมสังคมการดื่มอย่างรับผิดชอบ จะต้องมีการให้ความรู้ควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องการดื่มอย่างรับผิดชอบ สำหรับคนไทย จำเป็นต้องให้ความรู้ที่เรียกว่า Alcohal Education กันมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่ พอเห็นขวดก็คิดว่าจะต้องดื่มให้เมาอย่างเดียว ซึ่งการดื่มแบบรู้เท่าทัน จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆได้

” กว่า 9 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง มปอ. เราทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นรู้เท่าทันการดื่มแอลกอฮอล์อย่างเหมาะสมในสภาพแวดล้อมต่างๆ และผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการบริโภคแอลกอฮอล์ที่อาจมีผลกระทบต่อตนเองและสังคม  แม้ว่าอาจจะมีบางคนเคลือบแคลง สงสัยเรา เพราะองค์กรเรามาจากบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงขัน แต่เราสามารถพิสูจน์ได้ว่า เรามีความตั้งใจจริงในการทำงานไม่มีอะไรที่เป็น Hidden Agenda หรือมีอะไรซ่อนเร้น ทุกอย่างที่ออกแบบมาเป็นความรู้ ไม่ใช่แค่มาจากสังคมไทย แต่ยังดึงแคมเปญระดับโลกมาใช้กับประเทศเรา  เช่น การร่วมมือกับบริติช เคาน์ซิล เพื่อเน้นรณรงค์กลุ่มเยาวชน เป็นต้น “

ประธานมูลนิธิ มปอ.กล่าวอีกว่า สำหรับแคมเปญและกิจกรรมต่างๆ ที่มปอ. ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้เท่าทันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เน้นการให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ประกอบไปด้วย ความร่วมมือกับพันธมิตร คือ สมาคมการค้าธุรกิจร้านอาหารกลางคืน และแกร๊บ ประเทศไทย จัดกิจกรรม “ฉลองมั่นใจ ดื่มปลอดภัย ไม่ขับเอง” รณรงค์ช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ 2567 ณ ถนนข้าวสาร มุ่งรณรงค์ให้นักท่องเที่ยวและลูกค้าที่มาใช้บริการร้านอาหารกลางคืนดื่มไม่ขับ ในส่วนของพนักงานร้านเองก็ส่งเสริมให้มีการเสิร์ฟเครื่องดื่มอย่างรับผิดชอบ โดย มปอ. และพันธมิตรจะจัดกิจกรรม “ฉลองมั่นใจ ดื่มปลอดภัย ไม่ขับเอง” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปี 2567 นี้เช่นกันความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในกิจกรรมรณรงค์การดื่มไม่ขับช่วงเทศกาลวันหยุดยาว เช่น ปีใหม่ สงกรานต์

การอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำเยาวชนมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้การสร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชนของ มปอ. เพื่อผลักดันการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด สร้างความตระหนักรู้ผลกระทบของการดื่มก่อนวัยอันควร รวมไปถึงเรื่องอุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับด้วยเช่นกัน

จัดทำโครงการ “SMASHED วัยใสไกลแอลกอฮอล์” เป็นเวลา 3 ปี ในการให้ความรู้เยาวชนเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในรูปแบบกิจกรรมละครเชิงสร้างสรรค์ ณ โรงเรียนต่างๆ ผ่านความร่วมมือกับสถานเอกอัครราชทูต อังกฤษ ประจําประเทศไทย และสถาบัน Collingwood learning (องค์กรกระบวนการเรียนรู้สําหรับเยาวชน สหราช อาณาจักร) โดยโครงการนี้สอดคล้องกับนโยบายการ เรียนรู้แบบ ‘Active Learning’ ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้จากสถานการณ์จําลอง เรียนรู้จากปัญหา ซึ่งนําไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวัน
“สิ่งที่เราต้องเน้นในการให้ความรู้ต่อไป ที่ควรมุ่งเน้นนั้นก็คือ 1.การไม่ควรดื่มก่อนวัยอันควร 2.การดื่มแล้วขับ 3.ผลกระทบจากการดื่ม ซึ่งควรอาชีพที่ชัดเจนว่า อาชีพอะไรไม่ควรดื่ม “ชัชฎากล่าว.

มปอ.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำเยาวชนมูลนิธิแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ ภายใต้การสร้างเครือข่ายผู้นำเยาวชน
รณรงค์การดื่มไม่ขับในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวและหยุดยาว ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆของมปอ.


เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้ทุกหน่วยเร่งรัดผลตรวจแอลกอฮอล์ผู้ขับขี่ หากเกิดอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปก.ตร.) พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) เป็นประธานการประชุมศูนย์อำนวยการจราจรและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนช่วงเทศกสงกรานต์ ประจำปี 2567

4 วันอันตรายสงกรานต์! สังเวย 162 ศพ 'เมืองคอน' แชมป์อุบัติเหตุ

พลตำรวจโทกรไชย คล้ายคลึง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

คุมประพฤติ 'คดีเมาขับ' ฉลองสงกรานต์ 4 วัน พุ่ง 3,737 คดี

เรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุมประพฤติ เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีสถิติคดีที่ศาลสั่งคุมความประพฤติในวันที่ 14 เมษายน 2567 รวมทั้งสิ้น 2,136 คดี

'นายอำเภอ' กร่าง! ขอเคลียร์ ญาติเมาแล้วขับ ตำรวจไม่ยอม ดำเนินคดีเฉียบขาด

เจ้าหน้าตำรวจอำนาจเจริญ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจสกัดช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี พ.ศ.2567 ที่บริเวณถนนรอบเมืองอำนาจเจริญ ขาเข้าตัวเมืองอำนาจเจริญ ซึ่งในคลิป มีชาวไทย 2 คน ทราบภายหลังคือ นายอำเภอยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ พูดจาไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่

เปิดตัวเลขความสูญเสียเปิดสถานบริการถึงตี 4 ผงะ! เพิ่มขึ้นทั้ง 5 จว. จี้ถึงเวลาทบทวน

นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกรรมการบริหารศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยแพร่บทความเรื่อง ความสูญเสียจากนโยบายนำร่องเปิดสถานบริการผับบาร์ถึงตี 4 ถึงเวลาทบทวนหรือยัง? มีเนื้อหาดังนี้