'แรงงาน' แจงลดเงินสมทบ ช่วยลดภาระผู้ประกันตน ยันไม่กระทบเสถียรภาพกองทุน

24 มี.ค.2565 - นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลภายใต้การดำเนินงานโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออก 10 มาตรการ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รวมถึงผู้ใช้แรงงาน หนึ่งในนั้น คือการลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และพี่น้องผู้ประกันตน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 และสถานการณ์สงครามระหว่างประเทศรัสเซีย และยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิต และบริการของทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคม พร้อมร่วมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งช่วยเหลือพี่น้องผู้ประกันตนในยามเดือดร้อนในสถานการณ์ดังกล่าว ที่จะส่งผลให้ผู้ประกันตน สามารถนำเงินสมทบที่ลดลงไปใช้เพิ่มกระแสเงินสดให้ผู้ประกันตนมีสภาพคล่องมากขึ้น หากลูกจ้างผู้ประกันตนติดเชื้อต้องรักษาตัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ขาดรายได้ อีกทั้งมาตรการดังกล่าว จะเป็นการลดปัญหาทางการเงินของผู้ประกันตนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายจ้าง การลดเงินสมทบดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาลดภาระต้นทุนที่สูงขึ้นและเพิ่มสภาพคล่องให้กับนายจ้าง เพิ่มศักยภาพในการรักษาการจ้างงาน ส่งผลให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ อย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจ เงินสมทบที่ลดลงมากกว่า 30,000 ล้านบาท จะกลายเป็นเม็ดเงินที่นำมาใช้จ่ายช่วยหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้ต่อไป

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเด็นของการลดเงินสมทบ จะมีผลกระทบเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคมในระยะยาวนั้น ตนขอเรียนว่ากองทุนประกันสังคมมีเงินสำรองสามารถนำมาบริหารสภาพคล่องได้ในระยะยาว และที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้พิจารณาการลงทุน โดยนักลงทุนมืออาชีพอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่พี่น้องผู้ประกันตนที่เป็นเจ้าของเงินกองทุนร่วมกัน และได้มีการเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนของกองทุนฯ ให้ทราบทั้งรายปี และรายไตรมาส ผ่านทางเว็บไซต์ สปส. www.sso.go.th โดยการลงทุนมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผลการบริหารกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ดอกผลสะสมจากการลงทุน กว่า 8.34 แสนล้านบาท จึงขอให้พี่น้องผู้ประกันตนทุกท่านเชื่อมั่นในเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม ว่ามีเพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนในระยะยาวอย่างแน่นอน รวมถึงไม่กระทบกับบำนาญที่จะได้รับในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบเงินสะสมกรณีชราภาพ ตามช่องทางผ่านเว็บไซต์ สปส. www.sso.go.th หรือที่ sso connect และทางแอพพลิเคชั่นไลน์ @ssothai สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ สายด่วน 1506 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน ในฐานะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณและติดตามการใช้งบประมาณประกันสังคม กล่าวถึงการลดเงินสมทบประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนพี่น้องแรงงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ออกมานั้นว่า มาตรการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคมแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกันตนส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละประมาณ 9,000 ล้านบาท จ่ายเงินบำนาญประมาณ 3,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1.8 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันในปี 2564 ที่ผ่านมา ประกันสังคมได้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 70,000 ล้านบาท จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจได้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่กระทบต่อเงินชราภาพของผู้ประกันตนอย่างแน่นอน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

เปิดสาระสำคัญ 11 ข้อ กฎหมายคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน ครม.อนุมัติแล้ว

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (9 เม.ย.2567) ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานบางส่วนแก่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับการงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่