'พนักงานบริการ' ผุดแคมเปญขึ้นค่าตัว 2 เท่า เรียกร้องวันแรงงานสากล

นักการเมือง-ข้าราชการหนาวแน่ พนักงานบริการประกาศขึ้นค่าตัว 2 เท่า เหตุไม่เห็นความเดือดร้อนคนจน ดีเดย์วันแรงงานสากล

29 เมษายน 2565 - กลุ่มพนักงานบริการในหลายพื้นที่ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง กรุงเทพฯ สมุทรสาครอุดรธานี มุกดาหาร พัทยา ภูเก็ต กระบี่ ในนามของมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ ได้ออกแถลงการณ์ประกาศขอขึ้นค่าแรงหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าค่าตัวสำหรับนักการเมืองและข้าราชการเพิ่มเป็นสองเท่าโดยให้เหตุผลว่าในเวลาที่พนักงานบริการเดือดร้อน คนเหล่านี้กลับมองไม่เห็น ทั้งๆที่ใช้ภาษีของประชาชน

น.ส.ทันตา เลาวิลาวัณยกุล ผู้ประสานงานมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ กล่าวว่าพวกตนรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมปกป้องสิทธิของพนักงานบริการ โดยสมาชิกในกลุ่ม คือ คนทำงานบริการในสถานบริการ บาร์ คาราโอเกะ อะโกโก้ อาบอบนวด นวดสปา และคนทำงานในพื้นที่อิสระ รวมไปถึงบนแพรตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัยในการทำงาน และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติและตีตรา

น.ส.ทันตา กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิดตั้งแต่มกราคม ปี 2563 จนกระทั่งปัจจุบัน มีการเยียวยาจากภาครัฐที่พนักงานบริการไม่สามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด 120 วัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ทำให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กต้องปิดตัวลง พนักงานถูกไล่ออก เกิดภาวะตกงานทั่วประเทศ อีกทั้งการบริหารจัดการแก้ไขของรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพและล่าช้า แม้ว่ารัฐบาลจะได้ออกมาตรการต่างๆ มาช่วยเหลือประชาชน เช่น โครงการเราชนะ เราไม่ทิ้งกัน เรารักกัน หรือเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม ซึ่งพบว่าเงินเยียวยาไม่เพียงพอ ไม่ทั่วถึง บางมาตรการก็เข้าไม่ถึงโดยเฉพาะพนักงานบริการที่ไม่มีประกันสังคมมีถึง 95% รวมไปถึงพนักงานบริการที่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือชาติพันธุ์

พนักงานบริการระบุว่า ผลกระทบที่เกิดกับพนักงานบริการที่มีมาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง คือ ตกงานไม่มีรายได้ จากการถูกสั่งปิดร้าน มีภาระค่าใช้จ่าย ทำให้ให้เป็นหนี้สินเพิ่มขึ้น อีกทั้งรัฐมีคำสั่งให้ปิดสถานบริการจนถึงปัจจุบัน แต่การเยียวยาที่ไม่เพียงพอ รัฐบาลไม่มีแนวทางช่วยเหลือและแก้ปัญหาอย่างชัดเจน เห็นชัดว่าว่ารัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลยซึ่งถือว่าเป็นการทำงานที่ผิดพลาด ความล่าช้าของรัฐบาล ไม่เพียงส่งผลกระทบกับพนักงานบริการเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบไปถึงครอบครัวของพนักงานบริการ ซึ่งพนักงานบริการ 80% เป็นแม่ เป็นหลักของครอบครัวซึ่งต้องดูแลคนในครอบครัว

“วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล พวกเราในฐานะแรงงานหนึ่งในวงล้อเศรษฐกิจของประเทศ ในยุคข้าวยากหมากแพงที่ทุกอย่างขึ้นราคา เราขอประกาศขึ้นค่าแรงของพวกเราเป็นสองเท่าสำหรับนักการเมือง และข้าราชการไทย เพราะเงินเดือนของบุคคลเหล่านี้ล้วนมาจากภาษีของพวกเรา แต่ในเวลาที่เราเดือดร้อนกลับทำเป็นมองไม่เห็น เราจะขึ้นค่าแรง จนกว่ารัฐบาลจะชดเชยให้กับพนักงานบริการ และยกเลิกความผิดทางอาญากับเรา ทั้งนี้เครือข่ายพนักงานบริการในหลายประเทศทั่วโลกได้เห็นชอบ และตอบรับร่วมแคมเปญนี้กับเราแล้ว”น.ส.ทันตา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลูกจ้างโรงแรมเฮ 13 เม.ย เริ่มรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท เตือนนายจ้างไม่จ่ายผิดกฎหมาย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามมติของคณะกรรมการค่าจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานในประเภท

ข่าวดี!! “พิพัฒน์” รมว.แรงงาน จัดให้บริการตรวจเช็คสภาพรถฟรี ขับขี่ปลอดภัย ใส่ใจทุกเส้นทาง ก่อนเดินทางช่วงสงกรานต์ 2567

วันที่ 11 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 นี้ ตนมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงาน และพี่น้องประชาชนทั่วไปที่เดินทางกลับภูมิลำเนา รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปท่องเที่ยวพักผ่อน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันนั้น

"พิพัฒน์" เชื่อมขยายผล ทันที! หลังบริษัทอาหารญี่ปุ่น ชื่นชมแรงงานไทยมีทักษะ เปิดรับแรงงาน เริ่มวุฒิ ม.6 รายได้ 3 หมื่นขึ้นไป

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม นายอัครพงศ์ เฉลิมนนท์ กงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา นางสาวสดุดี กิตติสุวรรณ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายแรงงาน)

“พิพัฒน์” รุกเปิดตลาดแรงงานญี่ปุ่นภาคท่องเที่ยว เจรจา รร.ดุสิตธานี เกียวโต ดันส่งแรงงานไทยไปทำงานเพิ่ม

วันที่ 8 เมษายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

ทำได้แน่ ! "พิพัฒน์" ยืนยัน ค่าแรงขั้นต่ำผ่านกลไกไตรภาคี ถึงเป้าหมาย 400 บาทในสิ้นปี 2567

นายพิพัฒน์ รัขกิจประการ รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า การผลักดันนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ผ่านกลไกของคณะกรรมการไตรภาคี 400 บาท ทั่วประเทศ ในปี 2567 กำลังดำเนินการอยู่