'สุชาติ' ตีปี๊บผลงานป้องกันด้านแรงงาน มุ่งไทยสู่เทียร์ 2 วันรณรงค์ต้านค้ามนุษย์

6 มิถุนายน 2565 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ร่วมงานวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปี 2565 "NO VICTIMS TEARS" ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด มอบรางวัลดีเด่นด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ แก่ผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน เด็กและเยาวชน พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการผลการดำเนินงานของประเทศไทย นิทรรศการระบบฐานข้อมูลการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และระบบสารสนเทศบริหารงานกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมถึงเยี่ยมชมบูธของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน โครงการอาเซียน - ออสเตรเลีย เพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ สถานคุ้มครองผู้เสียหาย และนิทรรศการผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน เด็กและเยาวชนดีเด่นด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โอกาสนี้ ในส่วนของกระทรวงแรงงานมี นางสาวโสภณา บุญ - หลง หัวหน้าสำนักงานเลขานุการศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ได้เข้ารับรางวัลผู้ปฏิบัติงานดีเด่นด้านการป้องกันในครั้งนี้ด้วย

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ที่กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ
ซึ่งกระทรวงแรงงานมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยดําเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการป้องและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในแรงงานกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก แรงงานภาคประมง ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน และได้รับสภาพการจ้างตามหลักสากล ปัจจุบันกระทรวงแรงงานได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ได้แก่ การตรวจแรงงานที่ศูนย์ PIPO ในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล การตรวจแรงงานเชิงคุณภาพในสถานประกอบการทั่วไปและการตรวจสถานประกอบกิจการที่เสี่ยงต่อการใช้แรงงานเด็กแรงงานบังคับ การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การดำเนินงานโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ การผ่อนผันแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานได้ชั่วคราวในช่วงการระบาดของโควิด-19 การจัดตั้งศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (CI) ให้บริการตั้งแต่ 10 ม.ค. – 1 ส.ค.65 การส่งเสริมให้สถานประกอบการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีไปใช้ (GLP) การยกระดับศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานให้เป็นหน่วยงานระดับกองเพื่อให้มีการสั่งการให้การปฏิบัติงานเกิดความคล่องตัว การแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เป็นต้น

นายสุชาติ ยังกล่าวต่อว่า ในปี 2564 - 2565 กระทรวงแรงงานได้ดําเนินการเพื่อตอบ TIP REPORT
ในเรื่องที่สําคัญ คือ การจัดทําแนวปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน โดยได้จัดทําคู่มือ “มาตรฐานการปฏิบัติงาน” Standard Operating Procedure: SOP การตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สําหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ คู่มือ SOP ดังกล่าว กระทรวงแรงงานได้ทําการชี้แจงและเผยแพร่ให้หน่วยงานในสังกัดส่วนภูมิภาค ทั้ง 76 จังหวัด ได้นําไปทดลองใช้ เพื่อรวบรวมและประเมินผลสําหรับปรับปรุงและจัดทําคู่มือให้มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ที่มีประสิทธิภาพตามหลักการมาตรฐานสากล ทั้งนี้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนป้องกันการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย และสามารถปรับระดับเป็นเทียร์ 2ได้ในปี 2565

สำหรับงานดังกล่าวจัดขึ้นโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมย์ความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย รณรงค์เผยแพร่การดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ตลอดจนสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการต่อต้านการค้ามนุษย์ให้แก่ประชาชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค องค์กรพัฒนาเอกชน องค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งสื่อมวลชน เพื่อผนึกกำลังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับในเวทีระดับสากลต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี! จัดกิจกรรม 'รับสมัครงาน' พันตำแหน่ง เริ่ม 30 มี.ค. - 7 เม.ย.

รัฐบาลเชิญชวน ปชช. ร่วมสัปดาห์การให้บริการประชาชน 'เพื่อคนหางาน' มีตำแหน่งว่างรองรับกว่า 1,000 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 30 มี.ค. - 7 เม.ย 67 ที่กระทรวงแรงงาน บริการฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

พิพัฒน์ เผย kick off ตรวจสุขภาพเชิงรุกในสถานประกอบการทั่วประเทศ ดีเดย์ ที่่ บริษัท ดูโฮม จำกัด จังหวัดปทุมธานี 1 เม.ย.67 นี้

วันที่ 28 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในโครงการสัมมนาผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ครั้งที่ 1/2567 โดยมี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์

แรงงานอิสระ เฮ ! "พิพัฒน์" เผยให้ลงทะเบียน เงินกู้ ประกอบอาชีพ วงเงิน 50,000-300,000 ดอกเบี้ย 0% ภายใน 30 เม.ย.นี้

วันที่ 27 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมกิจกรรมของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน ตามโครงการกระทรวงแรงงานพบประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

"พิพัฒน์" ชง ครม.ผ่านฉลุย รัฐวิสาหกิจ เฮ! ลาคลอด 98 วัน-เพิ่มวันหยุดพิเศษตามมติ ครม.

26 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ให้ลาเพื่อคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง 98 วัน

“พิพัฒน์” รมว.แรงงาน พร้อมส่ง 100,000 คน เข้าอุตฯรถยนต์ไฟฟ้า ดันพัฒนาแรงงานวัยเรียน ส่งเสริมอาชีวะ ลดการขาดแรงงานในอนาคต

วันที่ 22 มีนาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมเวทีเสวนาในหัวข้อ การยกระดับการทำงานของคนไทยในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจัดขึ้นโดย

ผู้ประกันตนควรรู้ 'กองทุนเงินทดแทน-กองทุนประกันสังคม' ต่างกันอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน อธิบายเกี่ยวกับ "กองทุนเงินทดแทน กับกองทุนประกันสังคม" ต่างกันอย่างไรบ้าง มีสิทธิประโยชน์แบบไหนที่ผู้ประกัน