วว. ส่งมอบผลการวิจัย สารสกัดจากดอกบัวแดง ให้มูลนิธิณภาฯ

8 มิ.ย.2565 - รศ.พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นางสาวณัฎฐา ชาญเลขา ทีมโฆษกกระทรวง (อว.) และทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมงานประชุมและนำเสนอผลการวิจัย ณ อาคารผลิตจัน มูลนิธิ ณภาฯ ในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมีนายราเมศร์ เตชะบุญสม ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร มูลนิธิ ณภาฯ ให้การต้อนรับ

ทั้งนี้ผลการวิจัยที่ได้มีการนำเสนอ ได้แก่ เซรั่มดอกบัวแดง สบู่เหลวดอกบัวแดง และครีมกันแดดดอกบัวแดง ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากสารสกัดจากดอกบัวแดง ซึ่งมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จากการวิจัยและวิเคราะห์สารสำคัญ พบว่า สารสกัดจากดอกบัวแดงมีสาร flavonoid proanthocyanidin และ tannin ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานินต่อเซลล์ผิวหนังมนุษย์ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ และฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว เป็นต้น เหมาะแก่การนำมาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เพื่อเป็นการเพิ่มประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้แก่ดอกบัวแดง

อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปลูกดอกบัวแดงในพื้นที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยได้ส่งมอบผลการวิจัยพร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ (ต้นแบบ)จากการวิจัยดังกล่าวให้แก่นายราเมศร์ เตชะบุญสม ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร มูลนิธิ ณภาฯ เพื่อจะได้นำผลการวิจัยดังกล่าว ไปพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “จัน” (Chann) สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ตาลเดี่ยว-หญ้าเนเปียร์' พลังงานสะอาด ปฐมบทเดินหน้า'สระบุรีแซนด์บ็อกซ์'

ทุกปีกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ในไทยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักประมาณ 4-5 ล้านตัน แต่ละปีปลดปล่อยปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2  ) ไม่ต่ำกว่า  9-12 ล้านตัน CO2  การเปลี่ยนผ่านพลังงานฟอสซิลสู่การใช้เชื้อเพลิงชนิดอื่นทดแทนถ่านหิน

'หมอธีระวัฒน์' แนะกลยุทธ์ 'สมองใส'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กลยุทธ์ สมองใส

'หมอธีระวัฒน์' ปลุก สว. เลิก 'เนือยนิ่ง ทอดหุ่ย'

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สว. เนือยนิ่ง ทอดหุ่ย กับสมองเสื่อม

'หมอธีระวัฒน์' ยกผลวิจัย พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "พิชิตสมองเสื่อมด้วยยาเบาหวานลดน้ำหนัก"

'หมอธีระวัฒน์' ยกผลวิจัยชี้ชัด คืนสู่ธรรมชาติ ทะนุถนอมสมอง

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คืนสู่ธรรมชาติ ทะนุถนอมสมอง

ผลวิจัยชี้ 'รอบเดือน' สตรี มีผลต่อสมอง 'หมดระดู' เสี่ยงอัลไซเมอร์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า รอบเดือนสตรีมีผลต่อสมอง