ศูนย์บริการ’ซิงเกิ้ลมัม’ ปั้นแม่สายสตรอง

ถ้าจะให้พูดถึง “ซิงเกิ้ลมัม” หรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวในปัจจุบันมีให้เห็นกันมากจนเกลื่อนเมือง เพราะเมื่อแยกทางกันหรือไม่เจอผู้ชายดีๆ ที่จะฝากชีวิตไว้ ผู้หญิงก็ต้องลุกขึ้นมาสตรอง ทำหน้าที่พ่อและแม่ให้กับลูก แต่ยังมีซิงเกิ้ลมัมจำนวนมากที่เผชิญความยากลำบากเมื่อต้องดูแลลูกตามลำพัง โดยเฉพาะแม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่น การมีสถานที่ที่คอยเป็นเพื่อน เป็นที่ปรึกษา เป็นกำลังใจ และช่วยพัฒนาให้กลายเป็นซิงเกิ้ลมันสายสตรอง รวมถึงพยุงให้ชิวิตลูกน้อยเติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นสิ่งที่จำเป็นในสังคมยุคปัจจุบัน

จากสถานการณ์ซิงเกิ้ลมัมในเมืองไทย นำมาสู่การเปิด ศูนย์บริการแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว กรุงเทพฯ  เป็นครั้งแรกที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการ  โครงการเชิงรุกนี้เกิดขึ้นโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.)  กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยว แม้ตัวคนเดียวก็เลี้ยงลูกได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งซิงเกิ้ลมัมในนิยามของ สค. เป็นครอบครัวที่พ่อหรือแม่เลี้ยงดูลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะโดยลำพัง

ศูนย์ซิงเกิ้ลมัมกรุงเทพฯ มีบริการที่พักให้แม่เลี้ยงเดี่ยว

จินตนา จันทรบำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า แนวโน้มซิงเกิ้ลมัมและซิงเกิ้ลแด๊ดในไทยเพิ่มขึ้น จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) พบมีแม่เลี้ยงเดี่ยวกว่า 3.7 แสนคน ทั่วประเทศ  ส่วนข้อมูลแม่เลี้ยงที่รับเงินสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดจากกรม ปี 2565 พบว่ามีแม่เลี้ยงเดี่ยวที่รับสวัสดิการจากทั่วประเทศ 96,855 ราย  ก็เกือบแสนคน ปัจจุบันครอบครัวไทยเป็นครอบครัวเดี่ยวถึง 80% ในจำนวนนี้กว่า 5 แสนครัวเรือนเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีแม่เลี้ยงเดี่ยวมากกว่า 4,416 คน     

“ นอกจากการการหย่าร้าง เลิกรากัน ไม่จดทะเบียน หรือคู่รักเสียชีวิตแล้ว โควิดยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว เศรษฐกิจในครัวเรือน คนใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก  ทำให้เกิดซิงเกิ้ลมัม ซิงเกิ้ลแด๊ดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาของแม่เลี้ยงเดี่ยวคือ ยากจน มีเงินไม่พอใช้จ่าย  ขาดอาชีพ  มีหนี้สิน  จบการศึกษาระดับประถมหรือมัธยม ส่วนซิงเกิ้ลมัมเยาวชนนอกจากไม่มีงาน  ยังพึ่งพ่อแม่ ติดเพื่อนฝูง สิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด คือ เงินทุนประกอบอาชีพ และหาอาชีพสร้างรายได้ เพื่อเลี้ยงลูก “ จินตนาเล่าสภาพปัญหา

เรียนทำขนม สร้างงาน สร้างรายได้

การทำงานของศูนย์บริการแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว กรุงเทพฯ อธิบดี สค. บอกว่า จัดบริการครบวงจร เน้นพัฒนาศักยภาพแม่เลี้ยงเดี่ยวทุกมิติเพื่อให้เป็นสุดยอดซิงเกิ้ลมัม ภายใต้แนวคิด” Strong Mom : 4 Smart 4 รู้ 4 สร้าง” แม่เลี้ยงเดี่ยวผ่านความบอบช้ำทางใจ เราบริการให้คำปรึกษาและพัฒนาด้านจิตใจให้พร้อมรับมือและก้าวผ่านปัญหาต่างๆในชีวิต มีการสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นในการดูแลตัวเองและลูก มีการพัฒนาทักษะอาชีพฟรี เพื่อให้มีรายได้มั่นคง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน ช่วยดูแลครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว

“ ศูนย์ซิงเกิ้ลมัมกรุงเทพฯ มีบริการที่พักอาศัยสำรับแม่เลี้ยงเดี่ยวที่มาฝึกอาชีพ  มีบริการเสริมช่วยดูแลลูกอายุ 2-6 ปี ที่ติดตามแม่เข้ารับบริการภายในศูนย์  ช่วยแบ่งเบาค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ้างเลี้ยงเด็ก ไม่ต้องกังวลใครจะดูแลลูก   มีกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย กรณีที่ไม่สามารถดูแลลูกได้มีระบบประสานส่งต่อบ้านพักเด็กและครอบครัว เราช่วยประคับประคองทั้งแม่เลี้ยงเดี่ยวและลูก“ จินตนา กล่าว

คลาสอบรมทำอาหาร แม่เลี้ยงเดี่ยวสนใจมาก

ส่วนอาชีพยอดนิยมที่ศูนย์แม่เลี้ยงเดี่ยวจัดฝึกอบรมระยะสั้น เน้นอาชีพที่เป็นที่ต้องการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางอาชีพให้เหล่าพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ได้แก่ 1.อาหารไทย 2.ขนมไทย เบเกอรี่ 3.แม่บ้าน 4.งานซ่อมกระเป๋า-รองเท้า  5.ซ่อมประปา  6.ช่างผม 7.เครื่องดื่มและกาแฟ และ 8.การดูแลผู้สูงอายุ

ที่ผ่านมา มีการอบรมทั้งในรูปแบบออนไซด์และออนไลน์ จบหลักสูตรนอกจากได้ประกาศนียบีตรบัตรรับรองการฝึกอาชีพแล้ว มีการมอบอุปกรณ์ และให้ทุนประกอบอาชีพ  จัดหาแหล่งทุนให้แก่ซิงเกิ้ลมัมเลือดนักสู้ รวมทั้งส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ให้แม่เลี้ยงเดี่ยวผ่านเพจ ทอฝัน by พม. , Market place และ Shopee สร้างโอกาสในการเริ่มต้นประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองและลูกแบบไม่ต้องง้อใคร

แม่เลี้ยงเดี่ยวเข้ามาพัฒนาอาชีพ

อธิบดี สค. เล่าถึงตัวอย่างแม่เลี้ยงเดี่ยววัย 35 ปี เลี้ยงลูก 4 คน สนใจรับบริการที่ศูนย์เพื่อฝึกอาชีพทำอาหารกับเชฟชื่อดัง เรียนผ่านออนไลน์ 60 ชม. และออนไซด์ 3 วัน แม้ระหว่างเรียนจะสูญเสียลูกไป  1 คน แต่ก็ไม่ท้อ เดินหน้าสู้เพื่อลูกๆที่เหลือ อบรมวิชาชีพจบ ได้รับการสนับสนุนให้ทำงานร้านอาหาร ลูกได้รับทุนการศึกษา ตอนนี้เป็นเชฟมีรายได้หลักหมื่น และมีแผนจะไปเป็นเชฟในห้องอาหารต่างประเทศด้วย

“ หัวใจสำคัญของศูนย์แห่งนี้จะทำอย่างไรให้แม่เลี้ยงเดี่ยวเป็นหญิงแกร่ง ก็ให้อาชีพ ให้ความรู้การเงินการออม  หาแหล่งทุน เพื่อพลิกชีวิต  มีแม่เลี้ยงเดี่ยวอีกมากที่เผชิญความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงมีอาสาสมัครระดับพื้นที่ค้นหากลุ่มที่ยังไม่ยอมรับการเป็นซิงเกิ้ลมัม ไม่พร้อมเปิดเผยสถานะ ชักชวนเข้ามาพัฒนาตัวเอง แชร์ประสบการณ์  หากได้รับคำปรึกษา สร้างพลังใจ ควบคู่กับพัฒนาทักษะอาชีพ จะสามารถก้าวข้ามกำแพง ลุกขึ้นมายืนได้ด้วยตนเอง  พร้อมปกป้องลูกๆ เป็นทั้งพ่อและแม่ในคนๆ เดียว  “ จินตนา ฝากถึง Singel Mom

ห้องเด็กสำหรับดูแลลูก บริการเสริม คลายกังวลซิงเกิ้ลมัม

นอกจากศูนย์บริการแม่เลี้ยงเดี่ยวและครอบครัว กรุงเทพฯ  มีการนำร่องเปิดให้บริการศูนย์ซิงเกิ้ลมัม  ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว 8  แห่ง ในเมืองใหญ่ ได้แก่ จ.เชียงราย, ลำพูน, ลำปาง, ขอนแก่น, ศรีสะเกษ ,ชลบุรี, นนทบุรี, สงขลา และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านสองแคว จ.พิษณุโลก รวมทั้งสิ้น 10  แห่ง  มีพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวมารับบริการมากกว่า 2,500 คน

อธิบดีหญิงบอกด้วยว่า เร็วๆนี้ มีแผนจะเปิดศูนย์ซิงเกิ้ลมัมและครอบครัวอีก 2 แห่ง ได้แก่ จ.นครราชสีมา และ จ.สุราษฎร์ธานี เราจะคอยเป็นกำลังใจและชื่นชมซิงเกิ้ลมัมในพื้นที่ต่างๆ  เป็นเพื่อนที่อยู่คัยงข้าง เป็นศูนย์กลางยกระดับคุณภาพชีวิตแม่เลี้ยงเดี่ยวและสังคม อยากให้ทุกคนมีความสุขกับชีวิตดีๆ และได้ทำหน้าที่ซิงเกิลมัม-ซิงเกิ้ลแด๊ดอย่างเต็มที่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเงื่อนไข 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ รับเดือนละ 3 พัน

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยเงื่อนไขคุณสมบัติ 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3 พันบาท เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.

‘วราวุธ’ ห่วงไทยเจอวิกฤตขาดแคลนล่ามภาษามือ หนุนจัดหลักสูตรอบรมด่วน

รมว.พม. ชี้ไทยเจอวิกฤตขาดแคลนล่ามภาษามือ หนุน กรม พก.-สถาบันราชสุดา ม.มหิดล-ม.สวนดุสิต-ส.ล่ามภาษามือ-ส.คนหูหนวก เร่ง จัดหลักสูตร อบรม ด่วน

‘วราวุธ’ สั่งหาชายพิการโยกสามล้อสุโขทัยเข้ากรุง หลังถูกตัดสิทธิเบี้ยคนพิการ

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ(พก.) ได้เร่งตรวจสอบและขณะนี้พบตัวบุคคลดังกล่าวแล้ว และเชิญไปอยู่ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อพูดคุยและตรวจสอบข้อเท็จจริง

'วราวุธ' เสียใจเหตุเด็ก ม.2 แทงเพื่อนดับ วอนฟังทางการสรุปก่อน

'วราวุธ' เศร้าเหตุสลด นักเรียน ม.2 โรงเรียนย่านพัฒนาการ แทงเพื่อนเสียชีวิต วอนประชาชนอย่าเพิ่งตัดสิน รอฟังทางการก่อนว่าเป็นเด็กพิเศษหรือไม่

'ครอบครัวทดแทน' สร้างทางเลือกดูแลเด็ก

สังคมไทยมีเด็กที่ถูกทอดทิ้งเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเยาวชนและสังคม การขาดพ่อแม่ครอบครัวดูแล เด็กๆ มีโอกาสถูกชักจูงไปทางที่ผิด ทั้งจากประสบการณ์ชีวิตยังน้อย เพื่อนพาไป  อยากรู้อยากเห็น และวัยที่คึกคะนองครอบครัวอุปถัมภ์ในประเทศไทยไม่ใช่เรื่องใหม่