ดีอีเอส พบข่าวปลอมปล่อยเงินกู้ หลอกลงทุนยังอาละวาดหนัก

ดีอีเอส เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบเฟคนิวส์เกี่ยวกับโควิดอยู่ในหลักต่ำสิบ แต่ข่าวอ้างชื่อสถาบันการเงินปล่อยกู้ยังอาละวาดหนัก

4 ก.ย. 2565 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง กล่าวว่า สรุปผลการมอนิเตอร์ และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 26 ส.ค.-1 ก.ย. 65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบสัญญาณที่ดีขึ้นของการปล่อยข่าวปลอมเกี่ยวกับโควิด โดยอยู่ในหลักต่ำสิบเป็นครั้งแรก อาจเป็นเพราะประชาชนรู้เท่าทันข่าวปลอมประเด็นนี้มากขึ้น และมั่นใจกับการติดตามข่าวสารอัพเดทจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงว่ามีความน่าเชื่อถือ

ทั้งนี้ ภาพรวมของการมอนิเตอร์รอบสัปดาห์ พบข้อความที่เข้ามาทั้งสิ้น 11,785,315 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 266 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 141 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด 4 เรื่อง

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลเชิงลึก (Insight) ยังพบข้อน่าเป็นห่วง เพราะยังมีการกระจายข่าวปลอมเกี่ยวกับการเงิน ทั้งเรื่องการปล่อยสินเชื่อ ชักชวนลงทุน หรือรับสมัครพนักงาน โดยอ้างชื่อสถาบันการเงินที่น่าเชื่อถือ ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคข่าวสารออนไลน์อย่างมาก

โดยพบว่าข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุด 10 อันดับในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดังนี้ อันดับ 1 วัยหนุ่มสาวที่สุขภาพดี ค่าความดันอยู่ที่ 120/80 ผู้สูงวัยที่แข็งแรง ความดันอยู่ที่ 140/90 อันดับ 2 กรมอุตุฯ เตือน 29 จังหวัด เตรียมรับมือพายุไลออนร็อกและพายุคมปาซุ อันดับ 3 ธ.ออมสินเปิดสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ ปล่อยกู้ 300,000 บาท ลงทะเบียนผ่านไลน์ อันดับ 4 ออมสินและกรุงไทย ร่วมกับบริษัทเอกชน ปล่อยสินเชื่อเงินด่วน ให้กู้ยืม 5,000-50,000 บาท ผ่านไลน์ อันดับ 5 เพจธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้รายเดือน อันดับ 6 กรุงไทยเปิดให้กู้ยืม 5 เท่า ของรายได้ผ่านไลน์ อันดับ 7 เพจบน Facebook และ Line เชิญชวนลงทุนใช้งบน้อยกำไรสูงโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของสำนักงาน ก.ล.ต. อันดับ 8 บสย. ส่ง SMS เชิญชวนให้กู้ยืมเงิน บริการค้ำประกันสินเชื่อทางออนไลน์ อันดับ 9 น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นช่วยปรับสมดุลร่างกาย และช่วยให้ไม่ปวดเนื้อตัว หรือกระดูก และอันดับ 10 เรื่อง เพจเฟซบุ๊กรับสมัครพนักงานเช็กสินค้า เป็นพนักงานใส่ยูนิฟอร์มของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

“เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ขอให้ประชาชนตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87” นางสาวนพวรรณกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รวบแก๊งหลอกลงทุนคริปโต ยึดทรัพย์ 125 ล้านบาท เตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย

พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.ชัชปัณฑกาณฑ์ คล้ายคลึง ผบก.สอท.1, พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3, พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผ

วธ.พัฒนาเครือข่ายภาคใต้รู้ทัน Fake News

7 มี.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมค่ายครอบครัวคุณธรรม นำสังคมเป็นสุข ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2567 โดยมีนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกระบี่ วัฒนธรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ

ระวัง โจร อ้างตัวเป็นสถาบันการเงิน ออกเอกสารยืนยันตัวแก้ไขข้อมูลธนาคาร โดยการฝากเงินเข้าระบบกระเป๋าตังค์ 30,000 บาท

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบมิจฉาชีพแอบอ้างสถาบันการเงิน ออกเอกสารรับรองให้ยืนยันตัวตนเข้าระบบ เพื่อแก้ไขข้อมูลธนาคาร โดยการฝากเงินเข้าระบบกระเป๋าตังค์ 30,000 บาท ขึ้นแท่นอันดับ 1 รองลงมาเป็นเพจปลอมกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดรับสมัครงานแพ็กของ Giftshop เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อจนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

รัฐบาลย้ำเฟกนิวส์! รับสมัครทำเกษตรเกาหลีใต้ แนะเช็ก 'ไทยมีงานทำ'

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ย้ำเตือนแรงงานอย่าหลงเชื่อ ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ กรณีมีเผยแพร่ว่ากระทรวงแรงงานเปิดรับสมัครแรงงานภาคเกษตร

ข่าวปลอม! กรุงไทยปล่อยสินเชื่อบุคคลกระตุ้นเศรษฐกิจ

รองโฆษกฯ เตือนข่าวปลอม ขอให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลโดยใช้ช่องทางหลักสถาบันการเงินของรัฐก่อนดำเนินธุรกรรมทางเงินใดๆ ทางออนไลน์