'ชัชชาติ' ห่วงลาดกระบัง เหลือจุดเดียวยังท่วมหนัก เผยคลองลาดพร้าว-คลองเปรมฯ ดีขึ้นมาก

“ชัชชาติ” เผยลองลาดพร้าว-คลองเปรมฯ ดีขึ้นมาก ชี้เขตลาดกระบังยังน่าเป็นห่วง ย้ำทุกหน่วยร่วมงานอย่างเต็มที่ เชื่อเส้นเลือดใหญ่-เส้นเลือดฝอย ต้องไปด้วยกัน

13 ก.ย.2565 - ที่สามย่านมิตรทาวน์ เขตปทุมวัน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันว่า ตอนนี้หนักอยู่จุดเดียวคือ ลาดกระบัง ซึ่งเราก็ลุยอย่างเต็มที่ โดยปัจจุบันเมื่อเช้าน้ำได้ลดลงไปประมาณเกือบ 10 เซนติเมตร ในขณะเดียวกันกรมชลประทานคอยสูบออกฝั่งคลองพระองค์เจ้าฯอยู่ตลอด และในวันนี้(13 ก.ย.) กรมชลฯ ได้มีการไปติดตั้งดูดน้ำอีกฝั่งที่บางปะกง เพราะกรมชลฯก็หนักตรงคลองสำโรง เพราะเมื่อ 2-3 วันก่อนคลองสำโรงที่อยู่ทางใต้ น้ำเกินไป 170 มิลลิเมตร ซึ่งลาดกระบังเกินไป 60 มิลลิเมตร เพราะฉะนั้นตอนนี้น้ำก็เต็มแถวด้านล่างเหมือนกัน กรมชลฯก็จะดูดออกไปที่บางปะกงให้มากขึ้น หากพร่องได้ในเขตแปดริ้วก็สามารถช่วยดูดออกคลองพระองค์เจ้าฯได้

ทั้งนี้ ที่ผ่านมากทม.ได้รับความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะจากกรมชลฯ และกองทัพเรือ เพื่อประสานเรือผลักดันน้ำมาเสริม อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำด้วยว่าเหมาะสมกับการนำเรือผลักดันน้ำมาใช้หรือไม่ เพราะต้องคำนวณการปล่อยน้ำให้เหมาะสม

“ส่วนอีก 2 ฝั่ง ที่คลองลาดพร้าว และคลองเปรมประชากร ตอนนี้ดีขึ้นมาก เมื่อวาน(12 ก.ย.) ตอนเย็นฝนมาไม่รู้ตัว ราชเทวี ท่วมทันที 18 จุด แต่แห้งหมดภายใน 2-3 ชม. เพราะฉะนั้นผมว่าระบบเส้นเลือดฝอยที่เราทำรายละเอียดได้ มันไปได้เร็ว ในขณะเดียวกันจุดที่หนักคือจุดที่เป็นคลองล้น แต่เมื่อวานหลังจากที่ฝนตกลงมา น้ำในคลองลาดพร้าว คลองเปรมฯ เพิ่มขึ้น แต่วันนี้ได้ลดลงแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าดอนเมืองน้ำแห้งแล้ว ก็อาจจะมีนิดหน่อยตามหมู่บ้าน ส่วนซอยรามอินทรา 39 ก็เหลือน้ำอยู่นิดหน่อย คาดว่าเย็นนี้ก็จะหมด เพราะฉะนั้นเหลือลาดกระบังที่จะต้องไปดูแลพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ เมื่อเช้ามีการประชุมเรื่องการเยียวยา ค่าเสียหายต่างๆ และเชื่อว่าถ้ายังไม่มีฝนเติมมา น้ำก็จะทยอยลดอย่างเห็นผล” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ทุกคนเต็มที่ และวันนี้ (13 ก.ย.) จะไปรับเครื่องสูบน้ำจากนายวราวุธ ศิลปอาชารมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มอีก 6 เครื่อง และกรมชลประทาน ติดตั้งที่พระโขนงเพิ่ม จะเห็นได้ว่ามีการร่วมมือกันทุกหน่วยงาน ไม่มีปัญหา

เมื่อถามว่า อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ได้มีการแสดงความคิดเห็นว่า ตอนนี้เส้นเลือดใหญ่ของกทม. การระบายน้ำค่อนข้างอัมพาต แล้วเส้นเลือดฝอยจะเป็นอัมพาตด้วยหรือไม่ นายชัชชาติ กล่าวว่า เส้นเลือดใหญ่ยังไปได้ แต่สุดท้ายต้องดูทั้งภาพรวม หากเส้นเลือดใหญ่ดี แต่เส้นเลือดฝอยไปไม่ถึงก็ทำให้น้ำไม่ถึงอุโมงค์ อย่างที่เราพยายามลอกท่อ ลอกคูคลอง เพราะเชื่อว่าหากต่อให้อุโมงค์ดีแค่ไหน แต่นำ้ไปไม่ถึงก็ไม่มีประโยชน์ ตนว่าทั้ง 2 ระบบต้องไปด้วยกัน หลักคือต้องทำให้สมดุลกัน รวมถึงต้องมีการปรับแผนระยะกลาง ยาว ขอบคุณสำหรับทุกความเห็น เรารับฟังทุกความเห็นและต้องพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้น

“เรื่องการทำวอเตอร์แบงค์ผมว่ายาก แต่อาจจะเป็นไปได้ ถ้าเรารู้จุดว่าจะท่วมตรงไหน แบบเป๊ะๆ ลองคิดดูว่าถ้าเรามีวอเตอร์แบงค์อยู่น้ำไหลมาหมื่นคิว หากเต็มวอเตอร์แบงค์ ก็ไม่มีประโยชน์แล้ว เพราะน้ำมีมหาศาล อย่าคิดว่าเราเห็นน้ำท่วมที่ผิวแล้วดูดน้ำลงไปที่วอเตอร์แบงค์ แล้วจะแห้ง ไม่จริง เพราะน้ำจะไหลมาจากที่อื่นมาเติม และมีราคาแพงรวมถึงต้นทุนสูง ถ้าเป็นแก้มลิงธรรมชาติ หรือขุดลอกคลอง ดีกว่าเพราะสามารถรับน้ำได้มากกว่า คงจะรับข้อเสนอแต่ไม่ใช่นาทีนี้เพราะต้องดูแผนระยะยาว และต้องดูเรื่องความคุ้มทุนด้วย ” นายชัชชาติ กล่าว

สำหรับเรื่องการเยียวยา นายชัชชาติ กล่าวว่า คงต้องดูความเสียหาย ของบ้านเรือน และใช้ตามหลัก มี 2 ส่วนคือกทม.เยียวยาเอง หรือหากประกาศเป็นเขตภัยพิบัติก็มีส่วนกลางเข้ามาช่วย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป

กทม.เนรมิตเมือง 15 นาทีเป็นจริง สร้างพื้นที่สีเขียวอิ่มเอมใจทั่วกรุง

กทม.ทวีความรุนแรง เมืองจมฝุ่น การจราจรติดขัด ขาดแหล่งอาหาร สำรวจคนกรุงเผชิญรถติดเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง หรือใน 1 ปีชีวิตติดหนึบอยู่บนรถเท่ากับ

ศิลปะกลางแจ้งย่านเก่า หนุนกรุงเทพฯ เมืองที่ดีที่สุด

กรุงเทพฯ ยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังนิตยสารท่องเที่ยวชื่อดัง DestinAsian ประกาศให้กรุงเทพฯ คว้าอันดับ 1 เมืองที่ดีที่สุด (Best Cities 2024)  ในประเภทเมืองที่เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Destination) ในเอเชียแปซิฟิก

สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม ‘พัก กะ Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะให้เป็นพื้นที่สุขภาวะ

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร (กทม.), กลุ่ม we!park และภาคีเครือข่ายพัฒนาเมืองสุขภาวะและชุมชนสุขภาวะ (Healthy Space Alliance)