10 ต.ค.2565 - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เปิดเผยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม Radarsat-2 พบมวลน้ำจากภาคเหนือกำลังทยอยไหลลงสู่พื้นที่ภาคกลาง และมีมวลน้ำบางส่วนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้วได้แก่ นครสวรรค์ 455,022 ไร่ พิจิตร 281,349 ไร่ พระนครศรีอยุธยา 253,630 ไร่ สุโขทัย 180,399 ไร่ พิษณุโลก 180,187 ไร่ สุพรรณบุรี 174,441 ไร่ ลพบุรี 92,737 ไร่ เพชรบูรณ์ 64,036 ไร่ กำแพงเพชร 57,428 ไร่ ชัยนาท 40,738 ไร่ อุทัยธานี 40,259 ไร่ สระบุรี 39,956 ไร่ อ่างทอง 39,164 ไร่ สิงห์บุรี 28,869 ไร่ ชัยภูมิ 11,471 ไร่ นครนายก 6,452 ไร่ และปราจีนบุรี 2,197 ไร่ รวมพื้นที่เสียหายทั้งสิ้น 1,948,335 ไร่
โดยมวลน้ำที่ไหลมาจากภาคเหนือเมื่อพ้นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว จะผ่านจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร ก่อนลงสู่อ่าวไทยต่อไป
ส่วนมวลน้ำจากลำน้ำชีจากชัยภูมิจะไหลไปสมทบกับลำน้ำมูลก่อนลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี ต่อไป
สำหรับพื้นที่นาข้าวได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังทั้งสิ้น 266,989 ไร่
ตรวจสอบพื้นที่อื่น ๆ พร้อมรายงานสรุปพื้นที่น้ำท่วมแต่ละจังหวัด เพิ่มเติมได้ที่ https://flood.gistda.or.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ช่วง 21-27 มี.ค.ค่าฝุ่นPM2.5 ดีขึ้น หลังอากาศเปิด-ฝนตกหลายพื้นที่
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 21 - 27 มี.ค.2566
พายุฤดูร้อนถล่ม 20-22 มี.ค. ฝนฟ้าคะนอง ลมแรงลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย
ทั่วไทยอากาศร้อน ฟ้าหลัวกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง 10-20 %
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
ไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง เนื่องจากมีฝนตก
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนล
กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับสุดท้าย ไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนลดลง
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 9 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 13-14 มีนาคม 2566) ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ ระบุว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน
ทั่วไทยเจอพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กทม. ตก 40%
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว