'ธรรมนัส' เฉ่ง 'ชลประทาน' ยับ ปมน้ำท่วมตราด สั่งตั้งกรรมการสอบเอาผิดแล้ว

23 ก.ค.2567 - หลังจากที่มีฝนตกหนักติดต่อกัน 3 วันในพื้นที่อำเภอเมืองตราด จนให้ปริมาณน้ำในคลองธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำหลักอย่างอ่างเก็บน้ำเขาระกำตอนล่าง หรือสระสีเสียด มีระดับน้ำเข้าขั้นวิกฤตจากปริมาณฝนตกสะสมมากกว่า 400 มิลลิเมตร ชลประทานจังหวัดตราด ตัดสินใจปล่อยน้ำจากอ่างดังกล่าวแบบ 100% เพื่อป้องกันอ่างแตก จนทำให้น้ำจำนวนมากไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน 3 ตำบล รวมกว่า 1,000 หลังคาเรือน ประกอบด้วย คือ ต.บางพระ ในเขตเทศบาลเมืองตราด , ต.หนองเสม็ด และ ต.วังกระแจะ อ.เมืองตราด อีกทั้งโรงเรียนกิตติวิทยา และชุมชนหมู่บ้านสืบแสวงทรัพย์ , ชุมชนวัดโบสถ์ , ชุมชนกิจสวัสดิ์ และชุมชนรักษ์คลองบางพระที่อยู่ใกล้คลองบางพระ ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ บางจุดท่วมสูงกว่า 1 เมตร

ล่าสุดวันนี้ เวลา 14.15 น. ที่มัสยิดเราฎลตุ้ลญีนาน หมู่ที่ 3 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมติดตามสถานการณ์อุทภภัยในพื้นที่จ.ตราด พร้อมนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน และคณะ

นายพีระ เอี่ยมสุนทร รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กล่าวว่า จ.ตราดมีพื้นที่ประสบภัยระหว่าง 19-21 ก.ค. 2567 รวม 2 อำเภอ 6 ตำบล 6 ชุมชน 47 หมู่บ้าน ประกอบด้วย พื้นที่อำเภอเขาสมิง ประกอบด้วย ตำบลทุ่งนทรี หมู่ที่ 1,2,3,5, 7,8,9 ตำบลเขาสมิง หมู่ที่ 1-9 ตำบลประณีต หมู่ที่ 6,8 และตำบลแสนตุ้ง หมู่ที่ 1-10 ในอำเภอเมืองตราด ชุมชนโภคไพร ชุมชนวัดโบสถ์ ชุมชนรักคลองบางพระ ชุมชนทำเรือจ้าง ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองตราด มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชนบ้านล่าง ชุมชนตำบลหนองเสม็ด หมู่ที่ 1-7 และตำบลวังกระแจะ หมู่ที่ 1-12 โดยมีประชาชนได้รับผลกระทบ จำนวน 2 อำเภอ 6 ตำบล 6 ชุมชน 47 หมู่บ้าน938 ครัวเรือน 2,840 คน

จากนั้น ร.อ.ธรรมนัส ได้กล่าวถึงปัญหาน้ำท่วมว่ารัฐบาลพร้อมให้การช่วยเหลือผ่านกระทรวงมหาดไทยที่มีงบประมาณในการเยียวยาในเรื่องของความเสียหายต่างๆ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดตราดได้ประกาศพื้นที่เขตภัยพิบัติแล้ว จึงสามารถช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ และขอให้รองผู้ว่าฯดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูแล

จากนั้นชาวบ้านได้สอบถามเรื่องการบริหารจัดการน้ำ เนื่องจาก 50 ปียังไม่เคยปราฏว่าเกิดน้ำท่วม ทำให้ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้ให้นายธำรงศักดิ์ นคราวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานตราดมาชี้แจง แต่ยังไม่ทันจะชี้แจงทั้งหมด ร.อ.ธรรมนัสพูดสวนขึ้นว่า ได้ให้อธิบดีกรมชลประทานเตรียมย้ายเจ้าหน้าที่ที่บกพร่องต่อการปฏิบัติหน้าที่จนทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ซึ่งมีหลายคน ซึ่งวันนี้ รองเดช(รองอธิบดี) อย่าเพิ่งกลับ ขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยให้แล้วเสร็จก่อนแล้วรายงานมาที่ตนเอง ซึ่งใครที่ทำงานบกพร่องจะต้องรับผิบชอบ เพราะเรื่องนี้ตนเองยอมไม่ได้ เพราะเป็นข้าราชการ ซึ่งแม้จะเป็นวันหยุดก็ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งตนเองยังต้องทำงานทุกวันเลย

หลังจากนั้น ร.อ.ธรรมนัส ได้ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นเรื่องที่กรมชลประทานต้องถอดบทเรียนว่าจะต้องทำอย่างไร การระบายน้ำเพื่อรองรับการป้องกันน้ำท่วมและเกิดความเสียหายต่อพี่น้องประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ จะต้องมีแผนไม่ใช่ว่ามีวันหยุดราชการหลายวันจะหายกันหมดไม่ได้ ต้องมีคนที่รับผิดชอบตนเองจึงต้องเดินทางมาด้วยตัวเองเพราะเป็นเรื่องเสียหายและตนเองจะไม่ปล่อยให้เกิด จะไม่เอาผิดใครเลยไม่ได้จึงตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อเอาผิด

“ความบกพร่องที่เกิดขึ้นนั้นคงไม่มีเจตนา เพียงแต่ว่าการทำงานอาจจะบกพร่องจากการคาดการณ์อะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีคนรับผิดชอบในเรื่องนี้ ส่วนเรื่องฝนตกปริมาณมากนั้นกรมชลประทานในฐานะที่เป็นผู้บริหารจัดการน้ำ. จะต้องมีการติดตามสถานการณ์น้ำตลอดเวลา เราจะมีวอร์รูมตรวจสอบน้ำทั้ง 77 จังหวัด เรามีศูนย์บริหารจัดการน้ำในทุกจังหวัด

ฉะนั้นจังหวัดไหนที่ทำงานแล้วไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ ผมจำเป็นจะต้องเอาจริงเอาจัง เพราะฉะนั้นวันนี้ผมต้องเดินทางมาเอง แม้ผมจะมีภารกิจในช่วงเย็น เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาโดยเร็ว“ร.อ.ธรรมนัส กล่าวและว่า การทำงานเรื่องน้ำจะต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การทำงานไม่เกิดความเสียหาย และเรื่องนี้จะไม่ใช้การโยกย้ายอย่างเดียวแต่จะเอาผิดทางวินัยด้วย ซึ่งมั่นใจว่า จะสามารถแก้ปัญหาได้

ส่วนเรื่องการออกคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วทำไม่ได้นั้น จริงๆผู้ว่าฯสามารถสั่งงานได้ แต่หากข้าราชการดื้อก็จะไปว่ากล่าวกัน ส่วนความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์ของประชาชนนั้นทางราชการจะเยียวยาให้ตามระเบียบของทางราชการ และหากประชาชนผู้ได้รับความเสียหายจะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายก็สามารถทำได้เช่นกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศปช. พร้อมรับมือฝนถล่มภาคใต้ เร่งขุดลอกวัชพืช ระดมทีมช่างช่วยฟื้นฟูบ้านเรือน

นางสาวศศิกานต์  วัฒนะจันทร์  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า วันที่ 12 – 16 ธ.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น

DITTO มอบเงินช่วยเหลือน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายฐกร รัตนกมลพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นายชัยทัด กุลโชควณิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 ลมหนาวระลอกใหม่ อุณหภูมิลดฮวบ 4-6 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 12 - 16 ธันวาคม 2567)

12 ธ.ค. เปิดเดินรถเส้นทางรถไฟสายใต้ กทม.-สุไหงโกลก หลังน้ำท่วมหนัก

นางสาวศศิกานต์  วัฒนะจันทร์  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.)

แม่ทัพทัพภาคที่ 4 มอบถุงยังชีพให้ชาวปัตตานีที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา