แจงพ่อทำร้ายเด็ก 14 เข้าเงื่อนไข กม.คุ้มครองครอบครัว

17 ต.ค. 2565 – นายวีรศักดิ์ โชติวานิช อุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ และรองโฆษกสภาทนายความ ให้ความเห็นกรณีที่นายกัน จอมพลัง ให้ความช่วยเหลือเด็กอายุ 14 ปี ถูกพ่อซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นทำร้ายร่างกาย เพราะจับได้ว่าแต่งหญิง โดยเด็กหนีออกจากบ้านมา 2 วันแล้ว ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดเพชรบุรี ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ว่า ในปี พ.ศ.2562 มีการออกกฎหมายฉบับหนึ่งออกมาคือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 โดยมาตรา 3 ระบุว่า ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ.2550 ซึ่งคือกฎหมายที่คนรู้จักในปัจจุบันนี้ ในปี 2562 ได้ยกเลิกไปแล้ว เเละให้ใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวนี้เเทน ซึ่งเป็นกฎหมายที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้นเคย

กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญเพื่อใช้บังคับเกี่ยวกับความคุ้มครองความรุนเเรงในครอบครัว เป็นลักษณะเชิงลงโทษทางปกครองมากกว่า ไม่มีบทบัญญัติระบุว่าถ้ามีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ เเละเป็นในครอบครัว เช่นพ่อกระทำต่อแม่ พ่อกระทำต่อลูก แม่กระทำต่อพ่อ แม่กระทำต่อลูก แล้วก็ต้องมีโทษถึงขั้นจำคุก ไม่มีในกฎหมายฉบับนี้ แต่จะเป็นบทบัญญัติเป็นเชิงการเยียวยา การลงโทษทางสังคมมากกว่า โดยให้มีหน่วยงานหน่วยหนึ่งขึ้นมาเพื่อการเยียวยาปัญหาในครอบครัว นั่นก็คือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพราะเรื่องในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งจะใช้กฎหมายทั่วไปมาแก้ไขปัญหาทางครอบครัวจะไม่สามารถบรรลุผลได้และเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ

กฎหมายนี้เป้าหมายคือ การเข้าไปฟื้นฟูสภาพจิตใจของทั้งฝ่ายผู้ถูกกระทำเเละผู้กระทำโดยให้ พม. เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการเรื่องนี้ ก็จะใช้อำนาจในการปกครองโดยอาศัยศาลเยาวชนและครอบครัว หรือศาลเด็กที่เรารู้จักกัน กรณีดังกล่าวนี้ถ้าระบุชัดว่ามีการกระทำดังกล่าวนั้นจริงแล้ว เด็กผู้ถูกกระทำมีสภาพจิตใจที่บอบช้ำและเขาก็ไม่กล้าที่จะเข้าไปสู่อ้อมอกของพ่อแม่ เพราะเขากลัวว่าจะถูกพ่อซึ่งไม่เข้าใจสภาพจิตใจเขาทำร้ายเขาอีก พม.ก็จะเข้าไปช่วยเยียวยา รวมทั้งออกมาตราการกำหนดไม่ให้พ่อมีพฤติกรรมที่จะลงโทษบุตรในความรุนเเรงนั้นอีก ตรงนี้จะเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ซึ่งตนคิดว่าถูกจุดมากกว่าการที่ไปเอากฎหมายอาญามาบังคับใช้

เมื่อถามว่าเเบบนี้เท่ากับบิดาที่ก่อเหตุจะไม่ถูกลงโทษอาญาใช่หรือไม่ นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า บุตรจะไม่สามารถดำเนินคดีกับบุพการีได้ ในกรณีนี้กฎหมายบอกว่าตามมาตรา1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขออัยการ จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ จะบอกว่าบิดาจะไม่ถูกดำเนินคดีเลยหรือไม่ก็ไม่ใช่ ก็อยู่ที่ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐคือพนักงานอัยการ โดยใช้ช่องทางที่ให้บุตรหรือญาติสนิทนั้นมาร้องขออัยการ

เเต่การที่จะเอามาตรการทางกฎหมายอาญามาดำเนินคดีกับพ่อ ต้องอย่าลืมความเป็นพ่อลูก แม้การกระทำของพ่อจะรุนแรงแค่ไหน หรือทำให้บอบช้ำเพียงใด แต่โดยสายเลือดมันตัดกันไม่ขาด ตนไม่สนับสนุนให้มีการดำเนินคดีอาญากับพ่อ แต่สงเสริมให้ใช้มาตรการส่งเสริมและพัฒนาสถาบันครอบครัวพ.ศ.2562มาดำเนินการแก้ไขเยียวยา มันมีช่องทางอีกมาก

ซึ่งตำรวจอาจจะเชิญพ่อมาลงบันทึกประจำวันว่าเรื่องนี้อาจจะคาดโทษไว้ เพราะพนักงานสอบสวนถือเป็นผู้รักษากฎหมายของแผ่นดิน ฉะนั้นต่อให้ไม่มีใครมากล่าวโทษร้องทุกข์ แต่ถ้าพนักงานสอบสวนปรากฎความผิดประจักษ์แล้วเป็นความผิดยอมความไม่ได้ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจที่จะสร้างสำนวนขึ้นได้ด้วยตัวเองภายหลัง

เมื่อถามว่าหากพนักงานสอบสวนทราบเรื่องเเล้วไม่ดำเนินคดีจะโดนโทษฐานละเว้นหรือไม่ นายวีรศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องของฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าพนักงานก็มีเหตุผลที่จะไม่ดำเนินการทางคดี คือถ้าจะไปถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เจ้าพนักงานรู้เห็นแล้วไม่ดำเนินการถือว่าละเว้นฯ เป็นมาตรา 157 หมด คิดว่าก็ไม่เป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ สังคมอย่าไปบีบคั้นให้เจ้าหน้าที่ต้องฝืนใจ เพราะเป็นปัญหาภายในครอบครัว แล้วเรามี พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว2562 ใช้บังคับแล้ว ถ้าเป็นสมัยก่อน เจ้าหน้าที่อาจจะอึดอัดมาก ก่อนที่จะมีกฎหมายเหล่านี้

“ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่แม่จำเป็นต้องลักทรัพย์ถ้าเพื่อมาเลี้ยงลูกที่ใกล้จะอดตาย อันนี้เคยมีกรณีตัวอย่างที่อัยการสูงสุดใช้อำนาจในการสั่งไม่ฟ้อง เพราะนี่คือมาตราการทางสังคม ที่ผมคิดว่าการบังคับใช้กฎหมายผู้มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายต้องมีศีลธรรมในใจต้องมีจริยธรรม ไม่ใช่ว่าตีกฎหมายแบบตรงไปตรงมา สิ่งต่างๆ สังคมไทยเราต้องเรียนรู้ไปด้วยกันมันเป็นเรื่อละเอียดอ่อนในครอบครัว” นายวีรศักดิ์ ระบุ

รองโฆษกสภาทนายความ กล่าวเพิ่มเติมว่า อยากฝากถึงสื่อมวลชนด้วยความเป็นห่วงว่า เรื่องนี้มีเด็กเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะมีกฎหมายคุ้มครองเด็กฯ การนำเสนอข่าวต้องพึงระมัดระวัง เพราะในมาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า การนำเสนอเปิดเผยชื่อที่อยู่ของเด็กหรือบุคคลใกล้ชิดให้ทราบไม่ได้ อย่างกรณีที่เเม้จะปิดชื่อเด็กเเต่ไปบอกชื่อพ่อเด็กก็ทำไม่ได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' จ่อถอดเทป 'เศรษฐา' จ้อสื่อนอก ลั่น 'กัญชาเสรี' อยู่ในนโยบายรัฐบาล

'อนุทิน' ยัน 'กัญชา' มีประโยชน์ทางการแพทย์-เศรษฐกิจ บรรจุในนโยบายรัฐบาลแล้ว หลังนายกฯ ระบุจะนำกลับบัญชียาเสพติด ชี้หากเปลี่ยนแปลงต้องแก้กฎหมายหลายตัว เยียวยาผู้ทำถูกต้อง

'เศรษฐา' ต่อสายตรง 'อันวาร์' ช่วยดับไฟใต้!

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง กล่าวถึงกรณีที่สั่งการให้พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ไป

สั่งฟันวินัย-อาญา 'ด.ต.' เมาขับชนแหลก 10 คัน เร่งเยียวยาเหยื่อ

พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( รองโฆษก ตร.) เปิดเผยถึงกรณีมีข้าราชการตำรวจขับรถกระบะชนจักรยานยนต์ รถยนต์ และสามล้อเครื่อง รวมเกือบ 10 คัน

มูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส มอบครอบครัวละ 2 หมื่น เหยื่อพลุระเบิดสุพรรณบุรี

น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ประธานมูลนิธิบรรหาร-แจ่มใส ศิลปอาชา และที่ปรึกษาคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวราวุธ ศิลปอาชา) เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้เสียชีวิต

รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” ห่วงใย เหตุเครนสลิงขาดทับคนงานย่านพระราม 2 กำชับ กสร. และ สปส. ตรวจสอบข้อเท็จจริง

วันที่ 18 มกราคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่ได้เกิดอุบัติเหตุรถเครนสลิงขาดกระเช้าร่วงทับคนงาน ย่านถนนพระราม 2 ผมขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตและห่วงใยผู้บาดเจ็บทุกรายจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งทันทีที่ทราบข่าวผมได้รับรายงานจาก นายไพโรจน์ โชติกเสถียร