ทั่วไทยอุณหภูมิลด 1-2 องศา ใต้ฝนตกหนัก กทม.ฟ้าคะนอง 10%

28 ต.ค. 2565 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศทั่วไปว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันพรุ่งนี้ (29 ต.ค. 65) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 05:00 น. วันนี้ ถึง 05:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไปลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูลอุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ เตือนเตรียมรับมือพายุฤดูร้อนอีกครั้ง 7-9 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 1- 10 เม.ย.66 อัพเดท 2023033112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : จะแบ่งเป็น 2 ช่วง

ทั่วไทยอากาศร้อน ฟ้าหลัวกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง 10-20 %

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน

พายุฤดูร้อนถล่มบุรีรัมย์ ฟ้าผ่า 2 ครั้งติด วัวตายคาคอก 5 ตัว

บุรีรัมย์เกิดเหตุสลดฟ้าผ่าวัวตายคาคอก 5 ตัว ท้อง 4 เดือนก็ไม่รอด เจ้าของโดนด้วยร่างกระเด็นบาดเจ็บ กู้ภัยฯ เร่งนำส่ง รพ.ล่าสุดปลอดภัย ปศุสัตว์อำเภอประโคนชัยรุดตรวจสอบรายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือ

วันนี้อากาศยังร้อน แต่มีฝนมาช่วยประมาณ 10-20%ของพื้นที่

กรมอุตุฯ คาดสภาพอากาศวันนี้ ยังมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในยามกลางวัน รวมทั้งมีฝนโปรยปรายมาให้ดับร้อนประมาณ 10-20%ของพื้นที่

กรมอุตุฯ เตือนฉบับสุดท้าย 'พายุฤดูร้อน' ถล่มหลายจังหวัดภาคอีสาน-กลาง-ตะวันออก

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นประกาศฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ มีผลกระทบถึงวันที่ 29 มีนาคม 2566