'ประมงพื้นบ้าน' ชำแหละรบ.ให้โควต้าการจับสัตว์น้ำเป็นจำนวนวัน หลอกลวงชาติ ทำลายทะเลหนักขึ้น

'สมาคมรักษ์ทะเลไทย' ชำแหละรัฐบาลให้โควต้าการจับสัตว์น้ำเป็นจำนวนวัน หลอกลวงชาติ สนับสนุนประมงอุตสาหกรรม ให้ทำลายทะเลหนักขึ้น เปรียบคนขับรถแทรกเตอร์ไถป่า กับ ให้คนจนมีมีดพร้าถางป่า แนะต้องกำหนดปริมาณแบ่งตามน้ำหนักที่จับจริง

4 พ.ย.2565 - นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้

มีอาชีพใดบ้าง ที่สร้างรายได้ เกินสิบล้านบาทต่อปี

กรณีมาจากการ ขอวันทำประมงเพิ่มยิ่งทำลายวงจรอาหารของคนจน
ผมได้รับข่าวว่า สมาคมการประมงได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอวันทำประมงเพิ่มขึ้น จากที่ได้รับเดิม โดยอ้างว่า ลำบากขาดทุน และเพื่อเป็นของขวัญปัใหม่

ผมคิดว่า จำเป็นต้องเล่า ข้อมูลให้ทุกท่านได้รับทราบ ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า อาจเป็นอีกกรณีหนึ่งที่พิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาลว่า เห็นแก่ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นแก่อนาคตลูกหลานในวันข้างหน้า หรือ เอื้อประโยชน์ให้นายทุนอุตสาหกรรมประมงกันต่อไป กันแน่

ทุกท่านครับ ท่านควรทราบว่า รัฐบาลไทย ได้ กำหนดปริมาณสัตว์น้ำที่จะอนุญาตให้จับได้ ในแต่ละปี โดยในปี 2564 กำหนดไว้ที่ไม่เกิน “1.4 ล้านตันต่อปี / (1,400,000,000 กิโลกรัม) โดยรัฐบาลชี้แจงว่า ได้คิดจากฐานขนาดสัตว์น้ำเต็มวัยและค่าการศึกษาทางวิชาการที่ดีที่สุดที่มีอยู่แล้ว

ในปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมดที่กำหนดไว้ นั้น รัฐบาล ได้ให้ โควต้าการจับสัตว์น้ำสำหรับ เรือประมงพาณิชย์ทั้งหมด ประมาณ 10,500 ลำ ให้จับได้ประมาณ 85% ของปริมาณสัตว์น้ำที่กำหนดให้จับได้ต่อปี (1.4 ล้านตัน) เท่ากับว่า ชาวประมงพาณิชย์ 1 หมื่นกว่าลำ ได้รับส่วนแบ่งไปประมาณ 1.2 ล้านตัน ต่อปี

หาก คิดตามน้ำหนักเฉลี่ยให้ทุกลำเท่าๆกัน เรือประมงพาณิชย์แต่ละลำ จะมีโควต้าเฉลี่ยจับได้ ปีละ 108 ตันต่อลำต่อปี หรือ ประมาณ 108,000 กิโลกรัม/

หากทุกลำจับปลาดีๆมีคุณภาพ ตามขนาดที่ควรจับ เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงมนุษย์ เราสามารถสมมุติ มูลค่าสัตว์น้ำในราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 100 บาท ถ้าแต่ละลำสามารถจับได้เต็มโควต้า คือลำละ 108,000 กิโลกรัม จะมีรายได้ 10,800,000 บาท ต่อลำต่อปี

และหากคำนวณรวมเรือทั้งหมด 11,000 ลำ ประมงพาณิชย์จะได้ส่วนแบ่งจากทรัพยากรของชาติไป 108,000,000,000 บาท (1แสนแปดพันล้านบาท)

แต่ รัฐบาลไม่ใช้มาตรการอย่างตรงไปตรงมาในการกำหนดจำนวนการจับที่จับได้จริง เพราะอาจกลัวประมงพาณิชย์กดดัน หรืออาจมีหัวคะแนน ก็ไม่ทราบได้ จึงมีการตกลงกัน ปรับเปลี่ยนแปลง วิธีการ จากน้ำหนักจริง ไปเป็น กำหนด จำนวนวันที่สามารถออกทำการประมง แทน

โดยอ้างว่า หากเรือประมงทำการประมงเต็มวัน น่าจะได้สัตว์น้ำ น้ำหนักรวมไม่เกิน 1.2 ล้านตันตามโควต้า
ต่อมา มีการกำหนดจำนวนวันให้ประมงพาณิชย์ ออกทำการประมง ตั้งแต่ 220 วัน, 240 วัน , และล่าสุดอนุญาต ให้ซื้อขาย “สิทธิจำนวนวัน” ระหว่างเรือแต่ละลำได้ด้วย หมายความว่า บางลำสามารถจับปลาได้ทั้งปี 365 วัน หากมีเรือลำอื่นขายให้

และผลก็คือ ประมงพาณิชย์ ยิ่งจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อนเพิ่มมากขึ้นๆ จนมีอัตราการจับ สัตว์น้ำจากทะเลในรูปปลาเป็ดอาหารสัตว์ เพิ่มขึ้น

ว่ากันโดยเนื้อแท้แล้ว การกำหนดจำนวนวันทำการประมง ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการควบคุมปริมาณการจับ ไม่สามารถควบคุมกลุ่มเรือประมงอุตสาหกรรม ไม่ให้กวาดจับเกินศักยภาพการผลิตของทะเล ได้เลย

นับแต่ปี 2559 -2562 รัฐบาลกำหนดให้เรือประมงพาณิชย์ (10ตัน ขึ้นไป) ต้องแจ้งปริมาณน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับได้อยู่แล้ว โดยให้กรอกตอนแจ้งเข้าแจ้งออก จึงเชื่อว่ามีฐานข้อมูลปริมาณการจับ อยู่ตลอด

แนวทางที่ถูกต้อง คือ รัฐบาล ควรเปิดเผยข้อมูลปริมาณการจับ ที่ผ่านมา เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาตัดสินใจ และต้องกำหนดปริมาณแบ่งตามน้ำหนักที่จับจริง ไม่ใช่แบ่งเป็นวัน

ชาวประมงพื้นบ้าน บอกว่า “การกำหนดโควต้าการจับสัตว์น้ำ” หากกำหนดเป็นจำนวนวัน เท่ากับเป็น การเปิดโอกาสให้เรือประมงพานิยช์ สามารถจับสัตว์น้ำเท่าไรก็ได้ สัตว์น้ำชนิด-ประเภทใดก็ได้ จับขนาดลำตัวเท่าไรก็ได้ เพียงแค่ออกทำการประมงตามวันเวลาที่ได้ระบุไว้ เท่านั้น พูดง่ายๆ คือ สามารถกอบโกยสัตว์น้ำจำนวนเท่าไรก็ได้ จะเป็นสัตว์น้ำวัยอ่อนหรือวัยไหนๆ ก็จะกอบโกยให้ได้มากที่สุด จนหมดวันที่กำหนด”

พวกเขาอ้างว่า ให้โควต้าชาวประมงพื้นบ้านทำประมงได้ ๓๖๕ วัน ส่วนประมงพาณิชย์ ให้แค่ ๒๒๐ วันเท่านั้น
"นี่คือความเจ็บปวดของคนจน เปรียบเทียบเหมือนกับ "ให้คนขับรถแทรกเตอร์ ไถป่าได้ ๒๒๐ วัน และ ให้คนจนมือมีดพร้าถางป่าได้ ๓๖๕ วัน" ถามว่า "มันจะเกิดผลอย่างไร??? ชาวประมงพื้นบ้าน กล่าว

อนึ่ง หากกำหนดโควต้าเป็นปริมาณน้ำหนักจริง โดยกำหนด ปริมาณน้ำหนักสัตว์น้ำที่เรือประมงแต่ละลำจับได้ต่อปี และหากจับปลาได้จำนวนน้ำหนักที่กำหนดแล้ว ควรต้องหยุดทำการประมง หรือไม่ก็ไปแบ่งโควต้าจากเรือลำอื่น เป็นสิ่งที่ถูกต้องมากกว่า

เพราะ การกำหนดปริมาณเป็นน้ำหนัก จะผลักดันให้ เรือประมงพาณิชย์แต่ละลำ ต้องพยายามจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจเต็มวัยเพราะจะได้ราคามูลค่ามากกว่า จับสัตว์น้ำวัยอ่อนปริมาณมากๆ ไปส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ที่ได้ราคาต่ำกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ทรัพยากรสัตว์น้ำวัยอ่อนก็อยู่รอดปลอดภัยโดยปริยาย เพราะหากมัวแต่จะจับสัตว์น้ำขนาดเล็กก็ไม่ได้มูลค่า ทำให้สัตว์น้ำภาพรวมจะได้โตให้จับต่อไป

บางท่านจะแปลกใจ เผลอใจโอนอ่อน เหมือนกับการทำงานบนบก และ คิดว่า รัฐบาลทำร้ายชาวประมงด้วยการให้ทำงานแค่ ๒๒๐ วัน ไม่เป็นธรรม

หรือ หลายท่าน อาจคิดว่า หากกำหนดเป็นปริมาณน้ำหนักแล้ว หากชาวประมงรายนั้น จับหมดน้ำหนักที่กำหนดให้ ชาวประมงคนนั้นจะเดือดร้อน ไม่ได้ออกทำการประมง....

กรณีนี้ ผมอยากให้ท่านกลับไปอ่าน บทความนี้ในช่วงแรกอีกครั้ง จะพบว่า

หากกำหนดตามน้ำหนัก เรือประมงพาณิชย์แต่ละลำจะได้โควต้าการจับ เฉลี่ย ปีละ “108 ตัน” หากจับอย่างมีคุณภาพเหมือนชาวประมงพื้นบ้าน จะคิดเป็นเงิน มากกว่า "สิบล้านบาทต่อปี" ยังไม่รวยไม่พออีกหรือ มีอาชีพใดบ้าง ที่สร้างรายได้ เกินสิบล้านบาทต่อปี

ผมขอกล่าวถึง ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นเกษตรกรรายย่อย จำนวนนับแสนคน กลับได้รับสิทธิการจับได้แต่ละปี โดยคิดจากส่วนที่เหลือจากที่ประมงพาณิชย์จับได้ คือประมาณ ๑๕ % ของ ๑.๔ ล้านตัน (ประมาณ ๒แสนตัน) เฉลี่ยลำละ 3-4 ตันต่อปี เท่านั้น

จะเห็นว่า การแปลงน้ำหนักจริง เป็นโควต้าจำนวนวัน เป็นกระบวนการหลอกลวงชาติ เท่านั้นเอง ยิ่งรัฐบาลคิดจะให้โควต้าการจับเป็นจำนวนวัน แก่ประมงพาณิชย์เพิ่ม ก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว รัฐบาลสนับสนุนประมงอุตสาหกรรม ให้ทำลายทะเลหนักขึ้นต่อไป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครม. อนุมัติร่างกฎกระทรวงประมงพาณิชย์ ส่งกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน

นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. .... ดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาต

ประมงพื้นบ้านตราด ยื่นผู้ว่าฯค้านการแก้ไขพรบ.ประมง หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์

สมาคมประมงพื้นบ้านรักษ์ทะเลตราด ยื่นหนังสือคัดค้านการแก้ไขพรบ.ประมงฉบับใหม่ที่อยู่ในชั้นกรรมาธิการ หวั่นจะทำให้ประมงพื้นบ้านสูญพันธุ์ เหตุให้เรือประมงพาณิชย์ขนาด 100 ตันกรอสทำประมงในพื้นที่ชายฝั่ง และลดพื้นที่ประมงพื้นบ้าน

กสม. ชี้โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบประมงพื้นบ้าน ระบบนิเวศ

กสม. ชี้ โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านและระบบนิเวศทางทะเล แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ไข

ครม. เห็นชอบแก้ พ.ร.ก.ประมง ปี 2558 นายกฯ สั่งรับฟังความเห็นทุกหน่วยงานโดยละเอียด

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ หรือ ครม.สัญจร ว่า ที่ประชุม ครม.รับทราบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่ร่างโดยคณะกรรมการแก้ไ

'รมช.คมนาคม' ตอกหน้า 'ศิริกัญญา' อ่านรายงาน 'แลนด์บริดจ์' ผิดฉบับ

'มนพร' ตอก 'ศิริกัญญา' อ่านรายงานแลนด์บริดจ์ผิดฉบับ เย้ยใช้รายงานเดิม จะตั้งกมธ.ใหม่ทำไม ลั่นรัฐบาลไม่ใช่แค่กล้าสบตาประชาชน แต่เปิดหูเปิดตารับฟัง

ชาวประมงเดือดร้อนหนัก จี้หน่วยงานรัฐอย่าเมินปัญหาไฟกระพริบบอกร่องน้ำใช้การไม่ได้

ชาวประมงพื้นบ้านและเรือบริการนักท่องเที่ยวเดือดร้อนหนัก ไฟกระพริบบอกร้องน้ำเดินเรือบริเวณเกาะนกเสียมานานไร้หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบช่วยดูแลแก้ไข