5 พ.ย.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมง ร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนล่างเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและช่องแคบมะละกา ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในระยะนี้
สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
ภาคเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า กับมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาคกลาง อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ภาคตะวันออก อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียสโดยมีฝนร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 19-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-31 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วันนี้อากาศยังร้อน แต่มีฝนมาช่วยประมาณ 10-20%ของพื้นที่
กรมอุตุฯ คาดสภาพอากาศวันนี้ ยังมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในยามกลางวัน รวมทั้งมีฝนโปรยปรายมาให้ดับร้อนประมาณ 10-20%ของพื้นที่
กรมอุตุฯ เตือนฉบับสุดท้าย 'พายุฤดูร้อน' ถล่มหลายจังหวัดภาคอีสาน-กลาง-ตะวันออก
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นประกาศฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ มีผลกระทบถึงวันที่ 29 มีนาคม 2566
วันนี้ต้องพกร่ม! คนกรุง 30%มีโอกาสเจอพายุฝน
กรมอุตุฯ คาดวันนี้ไทยยังเจออากาศร้อนต่อเนื่อง แต่จะมีฝนตกทั่วทุกภูมิภาคตั้งแต่ 20-60%ของพื้นที่ เนื่องจากมวลอากาศเย็นจากจีนแผ่เข้ามา
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 9 เตือน 38 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อนถล่ม 29 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 9 (มีผลกระทบถึงวันที่ 29 มีนาคม 2566) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ร้อนถ้วนหน้า! ไทยตอนบนระวังลูกเห็บตก กทม.ฟ้าหลัว
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดัง
อุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือน 39 จังหวัด รับมือพายุฤดูร้อนถล่ม 28-29 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 27 - 29 มีนาคม 2566) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศลาวและทะเลจีนใต้แล้ว