'ประวิตร' ผลักดัน 5 โครงการแก้ปัญหาท่วม-แล้ง เตรียมชงคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเคาะ 29 ธ.ค.นี้
15 ธ.ค.2565 - พล.อ ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2/2565 และการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 3/2565 โดยมี ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร และการประปาส่วนภูมิภาค เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม ณ มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พล.อ ประวิตรเผยว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเห็นชอบในหลักการโครงการพัฒนาทรัพยากรน้ำ จำนวน 5 โครงการ ก่อนเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติพิจารณาในวันที่ 29 ธันวาคมนี้ โดยเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน จำนวน 3 โครงการซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผนงาน ที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบไว้แล้ว ได้แก่ โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง มีแผนการดำเนินงาน 6 ปี (พ.ศ. 2567 - 2572) เมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มอัตราการระบายน้ำจากเดิม 210 เป็น 400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถป้องกันและลดปัญหาน้ำท่วมได้ 276,000 ไร่ ผลประโยชน์จากการบรรเทาอุทกภัยเฉลี่ยปีละ 5,085 ล้านบาท นอกจากนั้นยัง สามารถเก็บกักน้ำในระบบช่วงฤดูแล้ง 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เพิ่มผลประโยชน์ด้านน้ำอุปโภค-บริโภคเฉลี่ยปีละ 227.7 ล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก มีแผนการดำเนินงาน 4 ปี (พ.ศ. 2568 – 2571) เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มการระบายน้ำในพื้นที่ตอนบนผ่านโครงข่ายคลองในแนวเหนือ-ใต้ ได้อีก 150 ลบ.ม./วินาที และสามารถเพิ่มศักยภาพในการเก็บกักน้ำและระบายน้ำของแก้มลิงคลองมหาชัย คลองสนามชัย อีกทั้งยังสามารถเก็บน้ำในคลองช่วงฤดูแล้งได้อีก 13 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณปีละ 4,055 ล้านบาท และ การขอขยายระยะเวลาและขยายกรอบวงเงินโครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล - บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากเดิม 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566) เป็น 8 ปี ( พ.ศ. 2562 – 2569) เนื่องจาก ที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 และมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้าง โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะสามารถระบายน้ำสูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาและพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวมถึงเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำสำหรับการใช้ประโยชน์พื้นที่ด้านเกษตรกรรมในเขตพื้นที่โครงการและข้างเคียง
นอกจากนี้ ยังมีโครงการในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โครงการภายใต้แนวคิดใน การพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของ กทม. ในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แผนงานกลุ่มที่ 1 ระยะที่ 1 (เร่งด่วน) โดยเป็นการดำเนินการปรับปรุงระบบสูบน้ำ ระบบไฟฟ้า และระบบเก็บขยะ สถานีสูบน้ำพระโขนง และการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กบริเวณคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสาขาต่าง ๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ และโครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพังงา – ภูเก็ต โดยการประปาส่วนภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบและกำลังการผลิตน้ำประปาและระบบท่อจ่ายน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งจะช่วยให้ กปภ. สาขาภูเก็ต สามารถให้บริการน้ำประปาได้เต็มประสิทธิภาพ รองรับผู้ใช้น้ำที่เพิ่มขึ้นประมาณ 35,000 รายในอนาคต และรองรับการจัดงาน Expo 2028 ที่จะจัดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตในปี 2571
ด้านนายสุรสีห์กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปี 2567 ภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยมีผลสัมฤทธิ์ คือ เพิ่มความจุกักเก็บ 1,401 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 6.23 ล้านไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 5.64 ล้านครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน 5.37 ล้านไร่และมอบหมายให้ เสนอต่อ กนช. พิจารณาตามขั้นตอน รวมทั้งได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการจัดทำคู่มือดูแลและบำรุงรักษาแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยมอบหมายให้เร่งดำเนินการจัดทำคู่มือส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมรับทราบผลการติดตามประเมินผลภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ระยะปี 61 – 65 และมอบหมายให้หน่วยงานเร่งรัดดำเนินการตามภารกิจในกลยุทธ์ แผนงานและโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการและมีผลการดำเนินงานน้อยกว่าแผน โดยการวิเคราะห์ กำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์ แผนงาน ให้ครอบคลุมและสอดคล้องสามารถเชื่อมโยงไปสู่การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเห็นควรให้ส่วนราชการเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน ให้สามารถทำงานได้ตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอน รวมทั้งให้หน่วยงานติดตามประเมินผลโครงการตามแผนแม่บทฯ ที่ดำเนินการเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแนวทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โดยผลการติดตามฯซึ่งที่ประชุมได้รับทราบในวันนี้ จะมีการนำเสนอต่อ กนช. ต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯชมทุกภาคส่วนช่วยบริหารน้ำและเกษตรยั่งยืน
นายกฯ ชื่นชมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและการเกษตรแบบยั่งยืน
ไอคอนสยาม ร่วมกับ ททท., กรุงเทพมหานคร และพันธมิตร จัดงานยิ่งใหญ่ “ICONSIAM Summer Kite Playground 2023” เทศกาลเล่นว่าวริมน้ำเจ้าพระยา
ไอคอนสยาม แลนด์มาร์กระดับโลกริมแม่น้ำเจ้าพระยา ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), กรุงเทพมหานคร และพันธมิตรภาครัฐและเอกชน ร่วมสืบสานวัฒนธรรม ชู Soft Power กระตุ้นการท่องเที่ยว
บี้ 'ชัชชาติ' ทวงคืน 'สวนชูวิทย์' สาธารณสมบัติแผ่นดิน
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
6 ปี ยังสร้างไม่เสร็จ! ป.ป.ช.พิจิตร ลุยตรวจประตูระบายน้ำ
นายวราพงษ์ อินต๊ะโมงค์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพิจิตร พร้อมเจ้าหน้าที่กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ผู้แทนนายอำเภอโพธิ์ประทับช้าง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่
สแกนสูตรตั้งรัฐบาล 4 พรรค พปชร.ชู "ลุงป้อม" สกัด "บิ๊กตู่"
ขั้วการเมืองใหม่ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมือง ถูกผลิตขึ้นมาจากบ้านป่ารอยต่อฯ เพื่อขวางพรรคเพื่อไทย (พท.) และ สกัดไม่ให้ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตจากพรรครวมไทยสร้างชาติ (รสทช.) กลับมาเป็นนายกฯ รอบ 3
สมช.สะกิดบอกอย่าหาเสียงเลยเถิดชี้หากกระทบความมั่นคงส่งสัญญาณเตือนทันที!
เลขาฯ สมช.เผยหน่วยงานด้านความมั่นคงเกาะติดสถานการณ์หาเสียง เผยหากข้อมูลกระทบฝ่ายความมั่นคงส่งพร้อมส่งสัญญาณเตือนทันที แต่ขณะนี้สถานการณ์ยังปกติ