'สส.ปชป.'กังขาราคาน้ำมันโลกลดลง แต่เติมน้ำมันแพงขึ้น จี้จัดการโครงสร้างผลประโยชน์ที่ทับซ้อน

'พนิต-สส.ปชป.' กังขา ราคาน้ำมันโลกลดลง แต่ทำไมเราเติมน้ำมันแพงขึ้น ชี้มีการบวกราคาเข้าไปหลายส่วน เชื่อต้องมีใครได้ประโยชน์ จี้จัดการกับโครงสร้างผลประโยชน์ที่ทับซ้อน

19 พ.ย.2564-นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ราคาน้ำมันโลกลดลง แต่ทำไมเราเติมน้ำมันแพงขึ้น? มีเนื้อหาดังนี้
.
ผมได้เข้าร่วมประชุมกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ และวาระเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาสภาวะราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ช่วงนี้หลายคนที่ใช้รถส่วนตัว ก็จะเห็นว่าราคาน้ำมันแพงขึ้น ซึ่งสวนทางกับราคาของน้ำมันโลกที่ลดลง
.
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ผมอยากชวนทุกท่านมาดูโครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งมีการบวกราคาเข้าไปหลายส่วน โดยอันดับแรกจะเป็น “ราคา ณ โรงกลั่น” ราคานี้จะเป็นราคาที่เราซื้อน้ำมันดิบมาจากประเทศอื่นๆและนำมากลั่นภายในประเทศ ซึ่งราคา ณ โรงกลั่นนี้ ก็ยังไม่มีเกณฑ์กำหนดที่แน่ชัดว่าคืออะไรบ้าง ถึงได้ราคานี้มา และเมื่อเราได้ราคาน้ำมันที่พร้อมขายแล้ว ก็จะต้องมาบวกภาษีสรรพาสามิต, ภาษีเทศบาล, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, กองทุนน้ำมัน, กองทุนอนุรักษ์ และสุดท้ายคือค่าการตลาดเข้าไปอีก
.
แต่ที่น่าสนใจมีสองจุด คือ “ราคา ณ โรงกลั่น” กับ “ค่ากองทุนน้ำมัน” จากข้อมูลล่าสุดที่ผมได้เห็นมานั้น (ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 64) ผมขอยกตัวอย่างน้ำมัน 2 ชนิด คือ เบนซิน กับ E85

- เบนซิน ราคา ณ โรงกลั่นอยู่ที่ 20.22 ซึ่งได้มีการบวกเพิ่มค่ากองทุนน้ำมันถึง 6.58 บาท ทำให้ราคาขายอยู่ที่ 39.76 บาท

- ส่วน E85 ราคา ณ โรงกลั่นอยู่ที่ 23.69 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สูงเมื่อเทียบกับน้ำมันที่ผสมเอทานอล (15% เบนซิน 85% เอทานอล) และค่ากองทุนน้ำมันของ E85 อยู่ที่ -7.13 ทำให้ราคาขายอยู่ที่ 24.44 บาท
.
ถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือนตอนที่เรากินน้ำแดงที่ไม่ผสมอะไรเลย (เบนซิน) มีราคาต้นทุนที่ถูก แต่พอขายจริงราคากลับเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อเราเลือกที่จะนำน้ำแดงมาผสมน้ำเปล่า(E85) รสชาติก็ไม่ได้อร่อยเท่าเดิม น้ำแดงก็เจือจางลง กลายเป็นว่าต้นทุนมาสูง แต่พอขายจริงราคากลับถูกลง
.
เรื่องนี้ ผมตั้งข้อสงสัยอยู่ 2 เรื่อง คือ “ราคา ณ โรงกลั่น” เราใช้เกณฑ์อะไร ทำไมราคาถึงออกมาเช่นนี้ กับ ค่ากองทุนน้ำมัน ที่เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ทั้งๆที่ น้ำมันที่มีคุณภาพควรจะได้ราคาที่สมเหตุสมผล ลองชวนทุกท่านคิดดูว่าทำไมราคาน้ำมันบ้านเราถึงได้แพงสวนทางกลับตลาดโลกเช่นนี้
.
“จะต้องมีใครได้ประโยชน์ แต่ที่แน่ฯไม่ใช่ประชาชนที่ต้องจ่าย ค่าน้ำมันแพงและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ”
.
#ต้องจัดการกับโครงสร้างผลประโยชน์ที่ทับซ้อนของราคาน้ำมันในประเทศไทย

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โออาร์-บางจากปรับราคาเบนซิน 40 สตางค์/ลิตร

บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) และ บมจ.บางจาก ได้มีการประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดขึ้น 40 สตางค์/ลิตร

ปรับอีกรอบ ‘โออาร์-บางจาก’ ขึ้นราคาน้ำมันเบนซิน 40 สตางค์/ลิตร

บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด(มหาชน) และ บมจ.บางจาก ได้มีการประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ทุกชนิดขึ้น

'พิชัย' ข้องใจรัฐบาลลดราคาดีเซลลิตรละ 50 สตางค์ทำไมต้องรอ 15 ก.พ.

'พิชัย' ติงลดราคาดีเซลลิตรละ 0.50 บาทน้อยและช้าเกินไป ชี้ควรลด 2 บาทเหมือนที่พรรคเสนอ ถามข้องใจทำไมต้องรอวันที่ 15 ก.พ. หรือหวังกลบอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ส.ว. เห็นชอบ พรก.กู้เงินอุ้มกองทุนน้ำมัน 'รมว.พลังงาน' ย้ำไม่สร้างผลกระทบประชาชน

ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ ซึ่งเป็นการพิจารณาอนุมัติต่อจากที่่สภาผู้แทนราษฎร

'กรณ์' แนะรัฐบาลพิจารณา 2 เรื่อง หลัง พ.ร.ก.กู้เงินค้ำกองทุนน้ำมันผ่านสภาฯ

นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า แถลงภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้กองทุนน้ำมัน ว่าหากไม่มีกฎหมายฉบับนี้

สภาฯไฟเขียว พ.ร.ก.กู้เงินอุ้มกองทุนน้ำมัน 'สุพัฒนพงษ์' แจงพิษโควิด-สงคราม ทำกองทุนติดลบ

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)ผ่อนผันให้กระทรวงการคลัง ค้ำประกันการชำระหนี้ ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 โดยนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน