ปิดตำนาน 'เสือโคร่งวิจิตร' เสือหนุ่มห้วยขาแข้ง บาดแผลเต็มตัว คาดต่อสู้แย่งชิงอาณาเขต

พบเสือโคร่งตายในพื้นที่ อช.แม่วงก์ ตรวจสอบจากฐานข้อมูลตรงกับ "เสือวิจิตร" เสือหนุ่มจากห้วยขาแข้ง คาดสาเหตุเกิดจากการต่อสู้แย่งชิงอาณาเขต

14 ม.ค.2566 - นายรุ่งโรจน์ อัศวกุลธารินท์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 เปิดเผยถึงกรณีพบเสือโคร่งตายภายในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชรว่า เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ได้รับรายงานจากอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หลังเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ มว.6 (ซับตามิ่ง) แจ้งทางวิทยุสื่อสารว่าพบเสือโคร่งขนาดโตเต็มวัยนอนนิ่งอยู่บริเวณริมลำห้วยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเมื่อเข้าตรวจสอบพบว่าเสือโคร่งตัวดังกล่างได้ตายลงแล้ว

จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บริเวณลำตัวและคอมีบาดแผลคล้ายถูกฟันเขี้ยวของสัตว์ป่ากัด มีร่องรอยเล็บของสัตว์ป่าขนาดใหญ่อยู่ทั่วลำตัว บริเวณข้อเท้าหน้าหัก มีแผลเน่าหลายจุด ตรวจสอบบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุไม่พบสิ่งผิดปกติและบุคคลอื่นแต่อย่างใด พร้อมกับประสานขอนายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) เข้าไปตรวจพิสูจน์หาสาเหตุการตายในพื้นที่ แต่เนื่องจากมีระยะทางที่ไกล ทำให้ไม่สามารถเข้าตรวจพิสูจน์การตายของเสือโคร่งในพื้นที่เกิดเหตุได้ จึงขอกำลังสนับสนุนเพื่อขนย้ายเสือโคร่งออกมาจากที่เกิดเหตุ เพื่อที่จะนำมาตรวจสอบสาเหตุการตาย ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นางสาวพิมพ์ชนก สรงมงคล นายสัตวแพทย์ประจำสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าตรวจพิสูจน์เสือโคร่งที่ตายพร้อมผ่าพิสูจน์ซาก พบว่าเป็นเสือโคร่งเพศผู้ ตัวโตเต็มวัย ความยาวลำตัว 265 เซนติเมตร ความกว้าง 120 เซนติเมตร ความยาวขาหน้าซ้าย 85 เซนติเมตร ความยาวขาหน้าขวา 85 เซนติเมตร ความยาวขาหลังขวา 80 เซนติเมตร ความยาวขาหลังซ้าย 80 เซนติเมตร ความกว้างอุ้งเท้าหน้าซ้าย 9.1 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100 กิโลกรัม อายุประมาณ 7-8 ปี ลักษณะภายนอก สภาพซากเริ่มเน่าเปื่อย ขนหลุดร่วงเป็นบางบริเวณ พบหนอนแมลงวันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ คาดว่าตายมาประมาณ 3 วัน

พบบาดแผลลักษณะกลมและรี เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร ซึ่งเป็นลักษณะของบาดแผลที่เกิดจากรอยเขี้ยวสัตว์ทั่วลำตัว บริเวณหลัง ต้นคอ ขาหน้า และขาหลัง โดยบริเวณขาหน้าทั้ง 2 ข้าง พบบาดแผลจำนวนมาก และพบบาดแผลเป็นทางยาวขนาด ประมาณ 3-5 เซนติเมตร คล้ายบาดแผลที่เกิดจากรอยเล็บสัตว์ ข้อเท้าหน้าซ้ายหัก ทำการเปิดผ่าซาก พบว่ากล้ามเนื้อบริเวณที่มีบาดแผลเป็นสีดำคล้ำต่างจากบริเวณที่ไม่มีบาดแผล พบก้อนหนองแทรกตามกล้ามเนื้อ สันนิษฐานได้ว่าเกิดการติดเชื้อในบริเวณดังกล่าว

จากการตรวจสอบภาพถ่ายของเจ้าหน้าที่ที่เข้าไปยังจุดเกิดเหตุ ไม่พบรอยเลือดในบริเวณที่เสือนอนตาย ซึ่งคาดการณ์ได้ว่า บาดแผลที่พบตามลำตัวของเสือโคร่งไม่ใช่บาดแผลสด สันนิษฐานสาเหตุการตายของเสือโคร่งได้ว่า เกิดการติดเชื้อจากบาดแผลเข้าสู่กระแสเลือด (septicemia) ไม่ได้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เป็นการตายตามธรรมชาติในระบบนิเวศ
พิจารณาแล้วเห็นว่าซากเสือโคร่งที่ไม่เน่าเสีย ได้แก่ กระดูก ซึ่งมีคุณค่าสมควรแก่การเก็บรักษาไว้เพราะเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครองที่หายากใกล้สูญพันธุ์

ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในทางราชการและการศึกษาวิจัย จึงให้เก็บรักษาซากสัตว์ป่าไว้มิให้ทำลาย โดยวิธีการต่อกระดูกสัตว์ ในส่วนของซากอื่น ๆ ได้แก่ หนัง และเนื้อ เห็นควรทำลายซากโดยวิธีการเผา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการดำเนินการแก่สัตว์ป่า ซากสัตว์ป่า หรือผลิตภัณฑ์จากซากสัตว์ป่า และค่าใช้จ่ายในการดูแลสัตว์ป่า พ.ศ. 2565 โดยเคร่งครัด

ทั้งนี้จากการพิสูจน์เปรียบเทียบลวดลายบนตัวเสือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จำแนกระบุยืนยันตัวเสือโคร่ง พบว่าเสือโคร่งมีรหัสข้อมูลตามโครงการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่ง WWF หรือชื่อ "เสือวิจิตร" ที่ข้อมูลสถานีวิจัยเขานางรำบันทึกไว้ ในการนี้ จากข้อมูลวิจัยเสือโคร่งวิจิตรเป็นเสือหนุ่มอายุประมาณ 5 ปี เกิดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี เริ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์และคลองลาน ใกล้บริเวณที่ทำการอุทยานฯ และจุดสกัดแม่กระสา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา บริเวณนี้มีเสือตัวเมียประจำถิ่น มีสัตว์เหยื่อ เช่น กวางป่า ที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยกว่าหลายๆจุด จึงได้มีการดำเนินโครงการฟื้นฟูประชากรสัตว์กีบ เพื่อเพิ่มอัตราการแพร่พันธุ์ของกวางป่าในพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2565-2566 ต่อเนื่อง อนึ่งบริเวณใกล้เคียงยังมีเสือโคร่งตัวผู้ประจำถิ่นครองอาณาเขตอยู่ด้วย จึงมีโอกาสเป็นไปได้ว่าจะมีการต่อสู้กันเพื่อแย่งการครอบครองอาณาเขตได้ อันอาจเป็นสาเหตุของการตายของเสือวิจิตรในครั้งนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยืนยันเป็นรอยเท้าเสือโผล่ทองผาภูมิ หวั่นซ้ำรอยเหตุปะทะ หากพบรีบแจ้ง-ไม่ให้ยิง

หน.อช.ทองผาภูมิลงพื้นที่ตรวจสอบรอยเท้าเสือที่มีชาวบ้านพบและได้ยินเสียงร้อง ในพื้นที่บ้านโมระข่า เบื้องต้นยืนยันเป็นรอยเท้าเสือแต่ยังไม่สามารถระบุชนิด กำชับเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังชาวบ้าน

'ชัยวัฒน์' ร้องศาลปกครอง ถอนมติ คทช.-ครม. ใช้แนวเขตสำรวจปี 43 เฉือนป่าทับลาน

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ายื่นฟ้อง คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติคณะอนุกรรมการนโยบายแนวทางและมาตรการการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินตามคำสั่งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

อุทยานฯหมู่เกาะอ่างทอง เปิดภาพน่ารัก 'ลูกค่างแว่นถิ่นใต้' เกิดใหม่ 2 ตัว (ชมคลิป)

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยภาพความน่ารักของลูกค่างแว่นถิ่นใต้ 2 ตัวเกิดใหม่ที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง โดยระบุว่า 2 แม่ค่างแว่นถิ่นใต้ พาลูกน้อยแรกเกิดสีเหลืองทองอวดความน่ารัก หลังจากนี้อีก 6 เดือนสีขนจะค่อยๆเหมือนแม่

ศาลจังหวัดทองผาภูมิ สั่งจำคุก 5 นายพราน ฆ่าชำแหละเสือโคร่งแม่ลูก

คดีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นำโดยนายเจริญ ใจชน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จับกุม 5 นายพรานชาวหมู่ 4 ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ ผู้ต้องหาก่อเหตุนำซากวัวมาเป็นเหยื่อล่อเสือโคร่งสองแม่ลูก

ข่าวลวงโลก! ลูกชิ้นทำจาก 'ตัวเหี้ย' ไม่มีจริง ตำรวจสอบสวนกลางยืนยันเอง

กรณีที่มีสื่อในโซเชียลได้โพสต์รูปภาพตัวเงินตัวทอง พร้อมข้อความระบุว่า บุกทลายโรงงานผลิตลูกชิ้นปลาเจ้าใหญ่ที่ดัดแปลงใช้เนื้อของตัวเงินตัวทองมาทำเป็นลูกชิ้นปลาเนื้อขาวใสไร้ความคาว

กรมอุทยานฯ ระดมกำลังเร่งหา จนท. หายตัว หลังลาดตระเวนกลางป่า

ตามที่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวนประจำหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ อว.1 (ถ้ำพระธาตุ)  และ อว. 8 (ลำต้น) ได้ออกลาดตระเวนเมื่อวันที่ 17 ก.พ. 66 บริเวณป่าลำต้น-ถ้ำพระธาตุ