
31 ม.ค.2566- กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็น ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น รวมถึงระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งไว้ด้วย
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งต่อไปอีก 1 วัน
ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนจะมีแนวโน้มของการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันลดลง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังแรง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ
อากาศหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 11-15 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 5-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 26-28 องศาเซลเซียส
บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-8 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.
ภาคกลาง
อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 14-18 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 28-29 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ตอนบน: อากาศเย็นในตอนเช้า
ตอนล่าง: มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง
บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-30 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่
ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร
กรุงเทพและปริมณฑล
อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า
อุณหภูมิต่ำสุด 18-19 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศเตือนฉบับที่ 1 พายุฤดูร้อน มีผลกระทบ 26-29 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 1 มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 26-29 มีนาคม 2566
ทั่วไทยอากาศร้อนถึงร้อนจัด 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 26-29 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
วันนี้อากาศร้อนโดยทั่วไปจนถึงร้อนจัดในบางพื้นที่!
กรมอุตุฯ เผยวันนี้ทั่วไปอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนภาคอีสานตอนล่าง-กลาง-ตะวันออกอาจเจอฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง
ทั่วไทยอากาศร้อนและฟ้าหลัวตอนกลางวันแต่มีฝนประมาณ 10%ของพื้นที่
กรมอุตุฯ คาดวันนี้เหนือ-อีสานอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 40 องศา ซ้ำร้ายมีฝนฟ้าคะนองและเจอลูกเห็บตก แต่มีเพียง 10%ของพื้นที่ ส่วนเมืองกรุงฟ้าหลัวและมีฝนตก 10%เช่นกัน
กรมอุตุฯ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เตือนระวังพายุฤดูร้อน 26-27 มี.ค.
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในช่วงวันที่ 21-25 มี.ค. 66 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉี
ไทยตอนบนร้อน! ระวังลูกเห็บตก กทม.โล่ง PM2.5 น้อย เพราะมีลม
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย ลั