คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. สร้างชื่อระดับโลก เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ที่ UN Women อนุมัติให้เป็น Signatory ของ UN Women’s WEPs เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน
10 ก.พ.2566 - อ.ดร.สหวัชญ์ พลหาญ รองคณบดีฝ่ายบริหารและเครือข่ายสัมพันธ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า มธ.ได้รับการอนุมัติจากองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2566 ให้คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เป็นผู้ที่สามารถลงนาม (Signatory) คำแถลง CEO Statement of Support เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน และนำหลักการเสริมสร้างศักยภาพสตรี 7 ประการ หรือ the seven Women’s Empowerment Principles (WEPs) ไปใช้ประกอบการบริหารงานของหน่วยงาน
สำหรับการอนุมัติให้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นผู้ลงนาม (Signatory) ของ UN Women’s WEPs ทำให้ มธ. เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้เป็นผู้ลงนามนี้ และยังเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการให้โลกรู้ว่าสถาบันการศึกษาแห่งนี้สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในการปฏิบัติงาน การคัดเลือกบุคลากรอย่างไม่เลือกปฏิบัติ
ด้าน ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. กล่าวว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. รวมถึงโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นหน่วยงานภายในคณะมีนโยบายที่ชัดเจนและให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะความเท่าเทียมเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และนักเรียนในบริบทของการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม เพื่อสร้างบุคลากรด้านการศึกษาและพลเมืองที่มีความสามารถและให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมด้วย
ผศ.ดร.อดิศร กล่าวอีกว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. มีเจตนาชัดเจนที่ต้องการแก้ไขความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดแค่เพียงภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มุ่งมั่นต้องการทำให้สังคมภายนอก โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ตระหนักในประเด็นเหล่านี้ เช่นเดียวกับการดำเนินการที่ผ่านมาของ มธ.ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาตัวอย่างในการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดสังคมแห่งความเท่าเทียมทางเพศมาโดยตลอด
“การให้ความสำคัญกับหลักการที่เป็นสากลในการสนับสนุนให้ผู้หญิงมีบทบาทเท่าเทียมกับผู้ชายจะช่วยให้เราได้เห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม เพราะการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในที่ทำงานและส่งเสริมศักยภาพของคนทำงานทุกเพศจะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสของการพัฒนาประเทศ และส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่เท่าเทียมและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีมากยิ่งขึ้น” ผศ.ดร.อดิศร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธรรมศาสตร์'ฉลอง90ปี จัดใหญ่'กีฬามหาวิทยาลัยฯครั้ง50' มี126สถาบันฯร่วม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์" (Thammasat Games 2025) ภายใต้แนวคิด "Unity of diversity, Victory for all - รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล” ตั้งเป้าหมายผลักดันศักยภาพนักกีฬาไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับโลก พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการยอมรับความหลากหลาย การเคารพในความแตกต่าง สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านตราสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ รวมทั้งสนับสนุนสร้างสุขภาวะที่ดี ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 18 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ 9 ธันวาคม และสังสรรค์รำลึกความหลัง “วันธรรมศาสตร์ 10 ธันวาคม”
สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคม ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ คืนวันที่ 9
'บ้านแสนอยู่ดี' ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตร นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อคนทั้งมวล
แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ หากแต่มีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม
ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม