องค์ความรู้ 'นอกห้องเรียน' คือคำตอบ เมื่อทักษะ 'ภาษาอังกฤษ' ของคนไทย สวนทางชั่วโมงเรียน

เมื่อ ‘ภาษาอังกฤษ’ กลายเป็นภาษากลาง (Lingua Franca) ในการเชื่อมต่อคนเข้ากับ ‘โลก’ อีกทั้งยังเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยเปิดประตูแห่งโอกาสอย่างไร้พรมแดน

ประเทศไทยเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ และบรรจุหลักสูตรด้านภาษาเข้าไปในการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา แต่ทว่าผลสัมฤทธิ์ทางทักษะด้านภาษาอังกฤษของคนไทย กลับยังถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด

ที่น่าสนใจก็คือ ‘ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ’ ของคนไทยกลับสวนทางกับชั่วโมงเรียนในหลักสูตร โดยข้อมูลผลการจัดอันดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดย EF (Education First) โรงเรียนสอนภาษาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า ในปี 2022 ไทยมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษอยู่อันดับที่ 97 จาก 111 ประเทศทั่วโลก โดยเป็นรองประเทศกัมพูชา และเมียนมาร์

ถึงแม้จะดูในปีก่อนๆ และอีกหลายการสำรวจ ไทยก็มักอยู่ในอันดับท้ายๆ ที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีทักษะระดับต่ำมาก (Very low) เสมอ

จากจุดนี้อาจสะท้อนได้ว่า ที่ผ่านมาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของไทยเราอาจไม่สอดคล้องกับการใช้งานจริง การมุ่งเน้นไปที่ไวยากรณ์-โครงสร้างประโยคอาจยังไม่ถูกที่ถูกทางเท่าที่ควร

ในมุมมองของ รศ.ดร.สุพงศ์ ตั้งเคียงศิริสิน ผู้อำนวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เห็นว่า เพื่อเสริมทักษะและสร้างความเข้มแข็งด้านภาษาของคนไทย จำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ด้วย ‘ตัวเอง’ ในรูปแบบ ‘นอกห้องเรียน’ มากขึ้น

ตลอดจนต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ โดยเน้นให้เห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการ ‘สื่อสาร’ มากกว่าเป็นวิชาที่ต้องสอบให้ผ่าน

“ภาษาเป็นเครื่องมือไว้ใช้เพื่อการสื่อสาร ฉะนั้นถ้าสื่อความหมายกันรู้เรื่อง ก็ไม่มีอะไรผิด-อะไรถูก” รศ.ดร.สุพงศ์ ระบุ

แม้ว่าทุกวันนี้จะมีการเกิดขึ้นของหลักสูตรภาษาอังกฤษ หลักสูตรนานาชาติ ตลอดจนสถาบันกวดวิชาด้านภาษาที่เติบโตขึ้นจำนวนมาก หากแต่ ‘สถานะทางเศรษฐกิจ’ ของแต่ละบุคคล-ครัวเรือน กลับเป็นกำแพงที่กั้นขวางโอกาสนั้นเอาไว้

เพื่อคลี่คลายข้อจำกัด สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงขับเคลื่อนการบริการวิชาการสู่สังคม โดยมีบริการอบรมให้ความรู้ผ่านการสัมมนาออนไลน์ เกี่ยวกับการทำวิจัยในการเรียนการสอน การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ฯลฯ ไปจนถึงการเผยแพร่สื่อความรู้ต่างๆ ในแพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่าย เช่น เฟซบุ๊ก ยูทูป

อีกทั้งยังมีหลักสูตรที่มีมาตรฐานอันดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของยุคสมัย เปิดให้คนไทยทุกคนที่มีความต้องการพัฒนาภาษาอังกฤษเข้าถึงได้ โดยมีให้เลือกทั้งรูปแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

นอกจากนี้ ยังมีการจัดสอบ TU-GET สำหรับวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษทุกทักษะ ทั้งฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับข้อสอบที่ใช้ในการวัดระดับทั่วโลกอย่าง โทอิค (TOEIC) โทเฟิล (TOEFL) ไอเอลส์ (IELTS) และตามกรอบ CEFR (Common European Framework of Reference)

ในส่วนของการสร้างความยั่งยืน เมื่อช่วงปลายปี 2565 สถาบันภาษา มธ. ยังได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และโรงเรียนบางแห่งใน จ.ปทุมธานี และ กรุงเทพมนานคร (กทม.)และยกระดับไปสู่โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้ภาษาอังกฤษของเด็กนักเรียน ผ่านโปรแกรม Reading Progress ที่มีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยประมวลผลพัฒนาการการใช้ภาษาอังกฤษ

ผลลัพธ์ของการวิจัยจะช่วยตอบโจทย์ว่าอะไรคือเงื่อนไข และปัจจัยที่จะช่วยพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเด็กไทย ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อออกแบบอนาคตประเทศไทยต่อไป

เหล่านี้เป็นสิ่งที่ รศ.ดร.สุพงศ์ เชื่อมั่นว่าจะช่วยสนับสนุนศักยภาพทางภาษา และทำให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุทิน' ควง 'เจ้าสัวธนินท์' สักขีพยาน MOU กลาโหมจับมือซีพี

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหม กับบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด

การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

หนึ่งในทรัพยากรที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ คือทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์

'หมอวรงค์' เปิดใจ! ทำไมต้องมี 'พรรคไทยภักดี'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี คำถามที่หลายคนต้องการคำตอบ เพื่อความชัดเจนว่า ทำไมต้องมีพรรคไทยภักดี ตั้งใจอ่านให้จบนะครับ

ตะลึง! ทั้งโรงเรียนมีครูคนเดียว ต้องดึงฝ่ายธุรการช่วยสอนนักเรียน

นายสุนทร ผูนา ผู้ใหญ่บ้านดงโชคหมู่ 1 เปิดเผยว่าโรงเรียนแห่งนี้ชาวบ้านร่วมกันบริจาคที่ดินก่อสร้าง เริ่มจากปี 2484-2548 มีครูใหญ่ 6 คน จากนั้นก็เปลี่ยนผู้บริหารมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน(ผอ.รร.ฯ) ถึงขณะนี้มี 3 คน

เด็ก มธ. ชวนสร้าง 'ค่านิยมใหม่' วันรับปริญญา ใช้วาระเฉลิมฉลองบัณฑิต เป็นสะพานเชื่อมโอกาสสู่สังคม

‘วันรับปริญญา’ ถือเป็นวาระแห่งความสุขและการเฉลิมฉลอง มีนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่มองว่าวันรับปริญญาคือหลักไมล์สำคัญของชีวิต เป็นรอยต่อที่จะก้าวเข้าสู่โลกการทำงานอย่างเต็มตัว