กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 7 เตือนทั่วประเทศ ฝนตกหนัก-ลมแรง ถึง 30 พ.ค.

28 พ.ค.2566-กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 7 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน มีผลกระทบถึง 30 พ.ค.66 ระบุว่า ในช่วงวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศก้มพูชาและเวียดนามตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยและลงสู่อ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมาลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีลมกระโขกแรง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเอียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้

ขอให้ประชาชนบริเวณ ดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉบัพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 ภาคเหนือ : จังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพยร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กานสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง : จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนดรศรีอยุธยาสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก : จังหวัคนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ : จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 29-30 พฤษภาคม 2566 ภาคเหนือ: จังหวัดตาก กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ตกระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับลื่นลมบริเวณทะเลอันตามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดย ทะเลอันตามันมีคลื่นสูง 2 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรขอให้ชาวเรือในบริเวณตังกล่าวเตินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเสี่ยงการเตินเรื่อบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2566

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปภ.เฝ้าระวัง 16 จว. ‘เหนือ-อีสาน-กลาง’ พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM  รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 1 ต.ค.2566 เวลา 18.00 น.  พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

นอภ.สบเมย เร่งสำรวจเส้นทางเสียหาย จากฝนตกหนักหลายพื้นที่

นายอำเภอสบเมยได้ประสานงานกับแขวงทางหลวงชนบทแม่สะเรียง เพื่อให้นำเครื่องจักรกลหนักพร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าพื้นที่เร่งรัดแก้ไขคาดว่าจะเปิดเส้นทางได้

กรมอุตุฯ จับตาพายุโซนร้อน ‘โคอินุ’ เคลื่อนตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก

รายงานภาพเคลื่อนไหวพยากรณ์ฝนสะสมราย 6 ชม. และโอกาสการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone Genesis) จาก ศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรประยะกลาง

เหนือ อีสาน กลาง ยังต้องรับมือฝนตกหนักวันนี้

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน

กรมอุตุฯ จับตาพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงเป็นพายุโซนร้อน 'โคอินุ' คาดถึงเวียดนาม

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เช้าวันนี้(30/9/66) : พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" (ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น )แล้ว

กรมอุตุฯ คาดหมายฤดูหนาวของไทยจะมาช้ากว่าปกติ 2 สัปดาห์ หนาวเย็นน้อยกว่าปีที่ผ่านมา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย ประมาณปลายเดือนตุลาคม 2566 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2567