ขับเคลื่อน ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ผ่านงานศิลปะ ชวนตระหนักรู้ด้วยสุนทรียะ ไปกับ 2 ผลงานของ น.ศ.ธรรมศาสตร์

‘ความหลากหลายทางเพศ’ สะท้อนความงดงามของมนุษยชาติ ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกต่าง ‘เปิดรับ’ และตระหนักถึงศักดิ์ศรี-ความเสมอภาค และสิทธิต่างๆ ของคนทุกเพศทุกวัย

อย่างไรก็ดีต้องยอมรับความจริงที่ว่า กว่าจะเดินมาจนถึงวันนี้ได้ เราต่างผ่านประสบการณ์เจ็บปวดจนกระทั่งสังคมเกิดการเรียนรู้ และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ฉากการต่อสู้นั้นๆ ก็เปลี่ยนตาม

ในอดีต เราคุ้นชินกับการเดินขบวนประท้วง ตัวอย่างเช่นในปี ค.ศ.1848-1920 เกิดขบวนประท้วงใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียกร้องสิทธิการเลือกตั้งให้กับสตรี หรือการจัดขบวน Pride ของ LGBTQIA+ ทั่วทุกมุมโลก ก็ถือเป็นการแสดงพลังผ่านการเดินขบวนทั้งสิ้น

ทว่าในปัจจุบัน เครื่องมือการต่อสู้เพื่อแสดงออกถึงความคิด-จุดยืนต่อประเด็นนั้นๆ มีมากขึ้น และผันแปรไปตามไอเดีย-ทักษะ หนึ่งในนั้นคือการใช้ ‘งานศิลปะ’ ผ่านการออกแบบ โดยเฉพาะ ‘แฟชั่น-เครื่องแต่งกาย’ ที่มีทั้งการแฝงฝังนัยความหมายในลวดลาย ทั้งที่จำเป็นต้องอาศัยการตีความ และการสะท้อนออกมาอย่างตรงไปตรงมา

อย่างเช่นผลงานของ นเรวิน สีชะนะ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบชุดเสื้อผ้าที่ใช้ชื่อสื่อความชัดเจนว่า “ผ้าอนามัยฟรี จากภาษีประชาชน” ซึ่งถูกจัดแสดงอยู่ในงานนิทรรศการและแฟชั่นโชว์ “ศิลปนิพนธ์ Pastra24” ในวาระครบรอบ 90 ปีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทั้งหมดทั้งมวลตั้งต้นจากแนวคิดที่อยากจะสร้างชิ้นงานศิลปะ โดยการตั้งคำถามให้กับคนในสังคมไทยได้ฉุกคิด “นเรวิน” จึงหยิบยกประเด็นที่สามารถเห็นได้ชัดเจน นั่นก็คือความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศชายเเละหญิง ซึ่งเป็นพื้นฐานของสังคมไทยที่ยังใช้ระบบชายเป็นใหญ่ ผลให้สังคมพยายามกดขี่ผู้หญิง รวมถึง LGBTQIAN+

“สิ่งที่เห็นง่ายที่สุด คือการมองว่าการเป็นประจำเดือนนั้นเป็นของต่ำ การบูลลี่คนเป็นประจำเดือน การสนับสนุนถุงยางอนามัยฟรีเเต่ไม่มีการสนับสนุนผ้าอนามัยฟรี ซึ่งโดยธรรมชาติผู้หญิงจะเป็นประจำเดือนทุกๆเดือน อีกทั้งยังจะคิดภาษีผ้าอนามัยอีก เราจึงหยิบเรื่องราวเหล่านี้ถ่ายทอดออกมาผ่านผลงาน” นเรวิน ระบุ

ในส่วนของการออกแบบผลงานนั้น ‘นเรวิน’ อธิบายสั้นๆ ว่า ผลงานนี้เริ่มต้นจากการใช้ผ้าอนามัยมาลดทอนโครงสร้างเก่าแล้วทำออกมาในรูปเเบบใหม่ (deconstruction) ให้เป็นเสื้อผ้ามีลักษณะคล้ายผ้าอนามัย โดยดึงทุกอิริยาบทของการใช้ผ้าอนามัยมาให้ดูเข้าถึงได้ในรูปเเบบของแฟชั่น ดีไซน์ เเละนำศิลปะการเสียดสีสังคมมาใช้ในงาน เพื่อล้อกับปัญหาการเมืองในปัจจุบัน

ที่สำคัญคือผลงานชิ้นนี้ไม่จำกัดว่าสำหรับเพศใด หรือก็คือสามารถใส่ได้ทุกเพศ (Unisex) โดยเขาเหตุผลว่า “จริงๆ เเล้วผลงานที่ทำออกมานั้นสามารถใส่ได้ทุกเพศ รวมถึง LGBTQIAN+ เราอยากให้ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถพูดได้อย่างเต็มที่ และอยากให้สะท้อนถึงความคิดว่า หากผ้าอนามัยหรือการเป็นประจำเดือนไม่สามารถอยู่ใกล้ผู้ชายได้นั้น ถ้าผู้ชายต้องอยู่กับสิ่งนี้อย่างเปิดเผยจะมีมุมมองอย่างไรบ้าง”

ทว่า กว่าผลงานชิ้นนี้จะประกอบรูปขึ้นร่างจนสำเร็จในเวลากว่าขวบปีนั้น ต้องผ่านอุปสรรคหลายด่าน อาทิ เรื่องความขัดแย้งทางความคิดระหว่างครอบครัว และคนรอบข้าง การศึกษาข้อมูลต่างๆ

“เรื่องของความคิดที่ต่างกันที่มองว่าเราไม่ได้เป็นบุคคลที่ใช้ผ้าอนามัยแต่ทำไมถึงทำ แต่เรามองว่ามันไม่ใช่เเค่ชายหรือหญิง แต่มันคือความเท่าเทียมในสังคม ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เเค่เรื่องของประจำเดือน เเต่รวมไปถึงการถูกกดขี่จากสังคมชายเป็นใหญ่ด้วย” นเรวิน กล่าว

นอกจากชุดเสื้อผ้าของ ‘นเรวิน’ แล้ว ภายในงานนิทรรศและแฟชั่นโชว์ดังกล่าว ยังมีอีกหนึ่งชิ้นงานที่สื่อสารในประเด็นเดียวกันนี้ แต่ใช้วิธีการถ่ายทอดความหมายระหว่างบรรทัด โดยใช้ชื่อว่า “The Magic of Butterflies ความมหัศจรรย์ของผีเสื้อ” ซึ่งผลิตออกมาในรูปแบบผ้าทอสำหรับใช้นุ่งหรือห่มเรือนกาย

อันเป็นผลงานของ อรณัชชา จิณปัน นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสาขาวิชาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. โดยได้รับแรงบรรดาลใจมาจากลวดลายและสีสันของผีเสื้อ รวมถึงในเชิงสัญลักษณ์ยังเป็นตัวแทนสูงสุดของ ‘เสรีภาพ’ ที่ครอบคลุมทุกมิติด้วย

เทคนิคในการทำนั้นได้มีการตัดหรือเจียนบางส่วนของส่วนต่างๆ (crop) ของปีกผีเสื้อที่มีองค์ประกอบสัดส่วน (composition) ที่ลงตัว จากนั้นนำมาวางลายบนผืนผ้าแล้วลดทอนรายละเอียดของลาย รวมถึงปรับสีให้เข้ากับงานผ้าทอและเพื่อให้สามารถทอได้จริง

แม้วัสดุที่ ‘อรณัชชา’ เลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าฝ้าย และผ้าไหมที่ไม่ได้ใช้แล้วจากโรงงานผลิตเสื้อผ้า แต่เธอบอกว่าอนาคตถ้าเป็นไปได้ก็อยากปรับเปลี่ยนวัสดุและการย้อมให้มาจากธรรมชาติที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อธรรมชาติให้น้อยที่สุด รวมถึงอยากสนับสนุนเกษตรกรที่ปลูกฝ้ายหรือวัสดุธรรมชาติต่างๆ

“ชิ้นงานทั้งสองชิ้นนี้ อาจเป็นสิ่งที่ช่วยบอกได้อย่างดีว่าทำไมปีล่าสุดธรรมศาสตร์เราได้อันดับที่ 7 ในการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน SDGs ข้อที่ 5 ความเสมอภาคทางเพศ หรือ Gender Equality เพราะไม่ใช่แค่มหาลัยที่พยายามผลักดันหรือขับเคลื่อนผ่านนโยบายต่างๆ แต่นักศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงออกตรงนี้ด้วย” ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ. กล่าว

ผศ.ดร.อนุชา กล่าวต่อไปว่า มากไปกว่านั้นไม่เพียงแต่ผลงานเหล่ามีแนวคิดที่สะท้อนปัญหาเชิงสังคมอย่างเดียวเท่านั้น ตัววัสดุที่ใช้ต่างก็เป็นวัสดุเหลือใช้ และใช้เวลาในการย่อยสลายได้เมื่อเวลาผ่านไปอีกด้วย ซึ่งเป็นส่วนเล็กๆ ในการรณรงค์เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า และทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมต่างเชื่อมโยงไปสู่ความเป็นธรรมศาสตร์ที่สอนให้รักประชาชนทั้งสิ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน ครั้งที่ 17 พร้อมจัดยิ่งใหญ่ ศรัทธา-ศิลป์-แผ่นดินหนังใหญ่ ร่วมใจสู่มรดกโลก

ที่สุดงานวัฒนธรรมแห่งปี .. “เทศกาลหนังใหญ่วัดขนอน ครั้งที่ 17” รวบรวมศิลปะการแสดง หนังใหญ่วัดขนอน “ โขน มโนรา (มโนราห์) และวันสงกรานต์ไทย” ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก เป็นมรดก

นายกฯ นำชาวไทยฉลองสงกรานต์มรดกโลก

นายกฯ เปิดงานฉลองสงกรานต์ หลังยูเนสโกประกาศยกย่องเป็นมรดกภูมิปัญญาทางมนุษยชาติ ประกาศเจตนารมณ์ไทยจะรักษาและสืบทอดประเพณีสงกรานต์ทุกที่ ‘แอนโทเนีย โพซิ้ว’ นำขบวนแห่นางสงกรานต์สวยงามตระการตา เผยแพร่วัฒนธรรมไทยให้ทั่วโลกรับรูั

“เสริมศักดิ์” รมว.วัฒนธรรม เปิดนิทรรศการผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ภายใต้แนวคิด “เมือง นคร บุรี” ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่นสร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชน

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฯ ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 – 16.00 น. ณ Creative Lab ชั้น 3 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ กรุงเทพฯ

เปิดโลกลวดลายผ้าไทยสุดวิจิตร กับละครดังทางช่อง3 'พรหมลิขิต'

เรียกได้ว่าเป็นละครไทยที่กำลังมาแรงที่สุดในตอนนี้ สำหรับ "พรหมลิขิต" ทางช่อง3 ที่นอกจากบทละครจะสนุกและสอดแทรกความรู้ด้านประวัติศาสตร์แล้ว สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ "เครื่องแต่งกาย" ซึ่งหลายคนชื่นชมว่างดงามและใส่ใจในรายละเอียดเป็นอย่างมาก งานนี้ผู้เขียนเลยจะพาไปเปิดโลกของ "ผ้า" ลวดลายต่างๆที่นำมาทำเครื่องแต่งกายของตัวละครในละคร พรหมลิขิต

'มาร์ค วงศ์ศิลป์' แตะมือ 'พ่อวีระพงษ์' สืบสานตำนาน 'ศิลปินภูไท'

ถ้าพูดถึงวงหมอลำในตำนาน ต้องมีชื่อของวง "ศิลปินภูไท" ที่ถือกำเนิดขึ้นในปี 2547 โดย "วีระพงษ์ วงศ์ศิลป์" ติดอันดับความขลัง ที่ ณ ปัจจุบัน ก็ยังคงสืบสานการลำภูไท และ เป็นวงหมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์ กาเต้นก้อน ที่ยังคงมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวในประเทศไทยในตอนนี้

จุดพลังคนรุ่นใหม่ ชโลมใจด้วยคุณค่าของศิลปะ

การสื่อความและเล่าเรื่องราวของมนุษย์เรา ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการสนทนา ถ่ายภาพนิ่ง หรือ วิดีโอ เพียงเพื่อเป็นการย้ำเตือนภาพวันวานในปัจจุบันเท่านั้น แต่ ศิลปะ