ลุยงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อย. จัด e-Consult ช่วยผู้ประกอบการ

รัฐเร่งผลักดันงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ อย. จัด e-Consult พร้อมระบบสนับสนุนผู้ประกอบการ นักวิจัย ออกผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสุขภาพสู่ท้องตลาดเร็วขึ้น

7 ส.ค. 2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มีนโยบายสนับสนุนให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เป็นรากฐานให้เศรษฐกิจเติบโตได้ยั่งยืนด้วยศักยภาพของคนไทย ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการออกกฎหมายมารองรับหลายฉบับ อาทิ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 พ.ร.บ.ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564

ขณะนี้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตผลิตภัณฑ์ก็ได้เร่งรัดกระบวนการทำงานเพื่อรับกับนโยบายการวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการปรับปรุงกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่าง โดยล่าสุดได้จัดทำระบบให้คำปรึกษา การอนุญาตที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์กลุ่มนวัตกรรมสุขภาพให้เติบโตได้มากขึ้น

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า อย. จัดให้มีบริการวินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือนักวิจัยสามารถยื่นขออนุญาตผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงบริการให้คำปรึกษาด้านกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตั้งแต่กระบวนการวิจัยไปจนถึงพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านระบบให้คำปรึกษาออนไลน์ หรือ e-Consult

โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 66 ได้มีผู้ยื่นคำขอรับคำปรึกษาและคำขอรับการวินิจฉัยในระบบ e-Consult 4,892 คำขอ แบ่งเป็นคำขอรับการวินิจฉัยประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3,236 คำขอ และคำขอรับคำปรึกษาผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1,656 คำขอ แสดงให้เห็นแนวโน้มของการนำองค์ความรู้ งานศึกษาวิจัยด้านสุขภาพออกไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่มากขึ้น โดย อย.ได้ให้บริการ e-Consult แก่ผู้ประกอบการ หรือนักวิจัยที่ประสงค์รับคำปรึกษาผ่านช่องทาง [email protected], Line ID: @consult_fda และ โทร 1556

นอกจากนี้ อย. มีการจัดทำระบบสนับสนุนให้งานวิจัยนวัตกรรมสุขภาพออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยประสานงานกับภาคีเครือข่าย เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ หน่วยงานให้ทุน มหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อดึงให้นักวิจัยที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพนวัตกรรมและมีระดับความพร้อมของเทคโนโลยี (Technology readiness level; TRL) อยู่ในระดับ 3 เป็นอย่างน้อยหรือมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว สามารถยื่นข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลต่อปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด และสินค้ากลุ่มนวัตกรรมสุขภาพสามารถอุตสาหกรรมที่เข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ก้าวไกล เดือดแทน ‘หมอชลน่าน’ ทุ่มเทเหนื่อยสุด โดนคนทิ้งพรรคเสียบเก้าอี้

‘ณัฐชา’ มอง ปรับ ครม.เศรษฐา 1/1 ‘เพื่อไทย’ ยังรักษาคาแรคเตอร์ ‘สมบัติผลัดกันชม’ เก้าอี้ รมต. เหมือนเดิม สงสัย ทำไมเอาคนทิ้งพรรคอย่าง ’สมศักดิ์‘ แทน ’หมอชลน่าน‘ เหตุเหนื่อยสุดแบกรับสถานการณ์ช่วงเลือกตั้ง-จัดตั้งรัฐบาล

แฉเล่ห์ 'พท.' วางยาแก้ รธน. ล็อกคำถามประชามติครั้งแรก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พรรคเพื่อไทยจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

รัฐบาลตีปี๊บ ประกวด 'ข้าวหอมมะลิไทย' ช่วยยกคุณภาพชีวิตเกษตรกร

รัฐบาลหนุนเกษตรกรและโรงสี จัดประกวดข้าวหอมมะลิไทยปี 2566 เฟ้นหาและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยคุณภาพชั้นเลิศ พร้อมขยายช่องทางการจำหน่าย

14 พ.ค.ได้ลุ้น คกก.ค่าจ้างฯ ถกค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ

'คารม' ย้ำขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ พิจารณาอย่างเหมาะสมและรอบคอบ เผย 14 พ.ค.นี้ คกก.ค่าจ้างฯ เตรียมประชุมพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ

รัฐบาลกวักมือเรียกผู้กู้ กยศ.ที่ถูกดำเนินคดีเร่งปรับโครงสร้างหนี้ด่วน!

รัฐบาลเชิญชวน ผู้กู้ยืม กยศ. ถูกดำเนินคดีในปี 2557 ที่ยังมีภาระหนี้ค้าง เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อขยายระยะเวลาชำระหนี้ ปลดภาระผู้ค้ำประกัน