กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย เตือนพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า

พยากรณ์อากาศประจำวันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่ 18:00 น วันนี้ถึง 18:00 น วันพรุ่งนี้ (16 ส.ค.)

15 ส.ค.2566 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่บริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 15 ส.ค. 66

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับมีร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่ไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้

วันที่ 15 สิงหาคม 2566

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ และตาก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร และนครพนม

ภาคตะวันออก: จังหวัดครนายก ปราจีนบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณ ที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตรียมใจยังร้อนกันอีกยาว 'เอลนีโญ'ส่อหวนกลับมาเร็ว

จากกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการติดตามและการคาดหมายปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยมี 4 ปรากฏการณ์ ประกอบด้วย ปรากฏการณ์เอนโซ El Nino Southern Oscillation (ENSO) ปรากฏการณ์ Indian Ocean Dipole (IOD) ปรากฏการณ์ Madden Julian Oscillation (MJO) และลมมรสุม (Monsoon) นายสมควร ต้นจาน ผู้อำนวยการกองตรว

พายุฤดูร้อนกระหน่ำบึงกาฬ เครนยักษ์ล้มทับ 3 คนงานเสียชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่จังหวัดบึงกาฬ ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มมาพร้อมกับลมแรงพัดมาจากฝั่งทางทิศตะวันตกนานกว่า 30 นาที โดยภาพบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร บนถนนหลาวงสาย 212 บึงกาฬ-หนองคาย

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 อัปเดตชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม 4-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567)

กรมอุตุนิยมฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 3-7 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา โดยนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5

ทั่วไทยยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป