23 ก.ย.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน มีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ตลอดช่วง
ในช่วงวันที่ 23 – 28 ก.ย. 66
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 23 – 29 ก.ย. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ลมแปรปรวน ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯ พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า 7-13 ธ.ค. เย็นอีกระลอก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 4 - 13 ธ.ค. 66 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)
อุตุฯ เตือนทั่วไทยฝนฟ้าคะนอง ใต้ตกหนัก คลื่นสูง 2 เมตร
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้
หนาวสุด! อุณหภูมิยอดดอยอินทนนท์ 9.5 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุดบริเวณประเทศไทย เช้าวันนี้(3 ธ.ค. 2566) วัดได้ 18.5 องศาเซลเซียส ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ ต.ขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม อุณหภูมิต่ำสุดยอดดอย 9.5 องศาเซลเซียส ที่ ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
อุตุฯเตือนไทยตอนบน เจอทั้งฝนและลมหนาว - ภาคใต้รับมือฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว
กรมอุตุฯ เผยอากาศอุ่นขึ้นแถมยังมีฝนตก มวลอากาศเย็นแผ่ลงมาเป็นระลอก แต่ไม่แรง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 2-11 ธ.ค.66 อัพเดท 2023120112 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ธันวาคม แล้ว อากาศบ้านเรายังไม่หนาวแถมยังมีฝนรบกวน โดย
ทั่วไทยอุณหภูมิลด กรุงเทพฯ-ปริมณฑลต่ำสุด 23 องศาฯ
อิทธิพลของมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีน ส่งผลให้ทั่วภูมิภาคประเทศไทยอุณภูมิลดลง ขณะที่ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง