พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า อีสาน-กทม. อุณหภูมิลด ใต้ฝนตกหนัก

22 ม.ค. 2567 – กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 22 – 31 ม.ค. 67 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

ช่วง 22 – 26 ม.ค. มีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคอีสานและทะเลจีนใต้ (ค่ำๆ วันนี้) ซึ่งส่วนใหญ่ลงทะเลทำให้ในช่วงแรกๆ มีลมฝ่ายใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม. ปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน ส่วนระดับบน (700hPa: 3 กม.) มีกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้มีฝนเกิดขึ้นบางแห่งบริเวณดังกล่าว อุณหภูมิบริเวณภาคอีสานลดลง 3-5 องศาเซลเซียส (ซ.) ส่วน กทม.และปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย (1 – 2 ซ.) สำหรับภาคใต้ ยังมีฝนเพิ่มขึ้นและมีตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง คลื่นลมแรงขึ้นหลังวันที่ 23 ม.ค. 67

ช่วง 27 – 31 ม.ค. 67 มวลอากาศเย็นมีกำลังอ่อนลง ลมมีกำลังอ่อน ทิศทางมีแปรปรวน มีลมใต้ ตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่วนลมที่ระดับ 700 hPa ยังมีขอบของลมตะวันตก พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสานตอนบน อุณหภูมิสูงขึ้น เมฆเพิ่มขึ้น (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังแรง ซึ่งทำให้สภาวะลมหนาว ฝน และพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุนิยมฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 3-7 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา โดยนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5

ทั่วไทยยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป

อุตุฯ พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ต้น พ.ค. ฝนเพิ่มเริ่มคลายร้อนบ้าง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 29 เม.ย. - 8 พ.ค. 67