เอกชนปลื้ม 'จุรินทร์' ดัน SMEs กลุ่ม BCG ทั่วไทย สู่เวทีการค้ายุคใหม่

“จุรินทร์”  ชูสองยุทธศาสตร์  “BCG” และ  “E-Commerce” เป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทยให้ตอบโจทย์ตลาดโลก สร้างนักธุรกิจยุคใหม่ที่ต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับจุดแข็งของท้องถิ่นทั้งด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม

26 ธ.ค.2564 – นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าอย่างยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการไทยจากทั่วทุกภูมิภาคเพื่อตอบสนองต่อแนวโน้มการค้าโลกและความต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เช่น Climate Change, Green Trade, Carbon Neutrality, Sustainability เป็นต้น

นางมัลลิกา กล่าวว่า โดยนายจุรินทร์ได้วางกลยุทธ์ดันประเทศไทยให้มีภาพลักษณ์ทางการค้าที่ดีในเวทีสากล เป็นที่เชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลก โดยยกโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของไทย นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล ส่งเสริมการขยายตลาดสินค้ากลุ่ม BCG ในยุค New Normal ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ การเจรจาการค้าออนไลน์ (OBM) เป็นต้น ซึ่งนับว่าได้รับการตอบรับจากภาคเอกชนอย่างดี มีผู้ประกอบการให้ความสนใจมากเกินคาด

“ล่าสุด ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานในกระทรวงพาณิชย์ ดำเนินโครงการ เศรษฐกิจแพลตฟอร์มขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ผู้นำ BCG ยุคใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้ปรับตัวสู่การเป็นผู้ประกอบการ BCG เป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการกว่า 2,000 ราย สร้างมูลค่ากว่า 500 ล้านบาท ผ่าน 61 กิจกรรม อันนี้คือเป้าระยะสั้นที่เห็นอยู่ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการ การพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรม การออกแบบ และการสร้างแบรนด์ ตามแนวคิด BCG การพัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ และการประชาสัมพันธ์ยกระดับภาพลักษณ์ประเทศไทยด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้บริบทการค้ายุคใหม่ ที่กระแสรักษ์โลก และเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นเมกะเทรนด์ของโลก และช่วยขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ” นางมัลลิกา กล่าว

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุด้วยว่า นโยบายของรองนายกฯจุรินทร์  สำหรับการดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ (1) การพัฒนาคนและสินค้า เช่น เพิ่มองค์ความรู้ด้าน BCG ในหลักสูตร NEA รวมทั้งเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ประกอบการระหว่างกรมเพื่อส่งต่อให้ได้รับการพัฒนารอบด้าน อาทิ GI OTOP Select เกษตรกร FARM OUTLET APi ตลอดจนเชื่อมโยงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามนโยบาย เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด  รวมถึงหน่วยงานวิจัยและนวัตกรรม ภายใต้กรอบความร่วมมือ MOU ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และอีก 7 หน่วยงานภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว.

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวต่อว่า ระยะที่ (2) การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และสร้างความรู้ความเข้าใจ อาทิ การเผยแพร่วิดิโอให้ความรู้  BCG คืออะไร ฉบับผู้ประกอบการ” การจัดทำ Checklist และการรวบรวมแคตตาล็อกรวมรายชื่อผู้ประกอบการ BCG Heroes ตลอดจนการจัดทำแคมเปญเชิญชวนร่วมเป็นผู้ประกอบการ BCG #BetheChanGe และระยะที่ (3) การส่งเสริมการขายผ่านช่องทางออนไลน์ อาทิ การจัดเจรจาการค้าออนไลน์ผ่าน Thaitrade.com Shoppee Lazada รวมถึงพันธมิตรในต่างประเทศ โดยมีสินค้านำร่องศักยภาพ 5 กลุ่ม คือ อาหารแห่งอนาคต อาหารสัตว์เลี้ยง บรรจุภัณฑ์ ไลฟ์สไตล์ และเครื่องสำอางสมุนไพร และกลุ่มคนเป้าหมาย อาทิ ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ เป็นต้น

นางมัลลิกา บอกว่า สำหรับ BCG Model หรือ Bio – Circular – Green Economy คือ โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เป็นแนวคิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่รัฐบาลได้หยิบยกขึ้นเป็นวาระแห่งชาติเมื่อต้นปี 2564 มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมสูงได้อย่างคุ้มค่า เกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบต่างๆ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เกิดการสร้างงานและการพัฒนาที่ทั่วถึง มีความรับผิดชอบ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาสภาพแวดล้อมให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์ต่อไป ช่วยลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นประเด็นหลักในเวทีการค้าโลกปัจจุบัน โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายจุรินทร์  ให้ความสำคัญเป็นนโยบายหลักกระทรวงพาณิชย์เนื่องจากต้องเจรจาการค้ากับคู่ค้าทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญกับ Bio – Circular – Green Economy หรือโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เป็นเทรนด์ของโลกและความยั่งยืนของภาคธุรกิจที่รัฐบาลทั่วโลกส่งเสริมและเป็นพันธกิจร่วมกันในหลายข้อตกลงของกลุ่มประเทศต่างๆ สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อไปยังกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สายด่วน 1169 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์  www.ditp.go.th

“ความจริงแล้วเมื่อพูดถึงด้านนี้ ในระดับโลกจะพูดถึงเรื่องการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ประเทศเศรษฐกิจ​สำคัญมีการผลักดันพลังงานสะอาดอย่างจริงจัง ทำให้ clean energy เป็นวาระหลักของหลายประเทศ มีการส่งเสริม Solar roof,Solar farm ,Biogas, Biomass และพลังงานสีเขียวอื่นๆ  เป็นต้น เพราะเป็นเรื่องที่สามารถจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจประเทศได้ แต่ในส่วนนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงอื่น ๆ และถ้าต้องการความร่วมมือตามโมเดลนี้ ทางกระทรวงเกษตรและพาณิชย์ก็พร้อมที่จะยกระดับพื้นที่ของเกษตรกรให้มีทางเลือกในการปลูกพืชทางเลือกด้านพลังงานเช่นกัน และสำหรับหน้าที่ซึ่งอยู่ตรงหน้าของเราเวลานี้คือกระทรวงพาณิชย์ในส่วนที่เรารับผิดชอบจุดนี้เราเดินหน้านโยบายส่งเสริมการผู้ประกอบการและสร้างโอกาสทางการค้าตามโมเดลด้วยความรับผิดชอบ เพราะถือเป็นพันธกิจระดับโลกและนโยบายรัฐบาลไทยที่สอดคล้องกันโดยเราจะดำเนินนโยบายรองนายกฯจุรินทร์ อย่างสุดความสามารถ ”  นางมัลลิกา กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พาณิชย์' แนะผู้ส่งออกลุยตลาดข้าวคุณภาพสูง ตอบโจทย์ตลาดพรีเมียม หนีแข่งขันด้านราคา

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เกาะติดสถานการณ์ส่งออกข้าวและการปรับตัวของเวียดนาม หลังอินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาว พบมีผลกระทบด้านราคาเหมือนกับไทย แต่มีการวางแผนปรับตัว หันไปผลิตข้าวคุณภาพสูง เพื่อเพิ่มราคาแทน แนะไทยลุยตลาดข้าวคุณภาพสูง ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวออร์แกนิก และข้าวเพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์ตลาดพรีเมียม หนีการแข่งขันด้านราคา

ชวน 'ร้านอาหารไทย' สมัครรับตรา 'Thai SELECT' ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลก

รัฐบาลชวนผู้ประกอบการ 'ร้านอาหารไทย' สมัครรับตราสัญลักษณ์ Thai SELECT การันตีมาตรฐานสากล สร้างความมั่นใจผู้บริโภค-นักท่องเที่ยวทั่วโลก

'พาณิชย์' ชี้เป้าผู้ส่งออก ขายสินค้าเสริมความงามจีน แนะเน้นกลุ่มธรรมชาติ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) สำรวจตลาดความงามในจีน พบมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและบริการเวชกรรมความงามแบบเบา แนะเจาะตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ อย่างสมุนไพร

พาณิชย์-DITP จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าระหว่าง ผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาลและน้ำตาลแปรรูปกับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์

โดยกิจกรรมการจับคู่เจรจาการค้าระหว่างผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาลและน้ำตาลแปรรูปจำนวน 5 ราย กับผู้นำเข้าฟิลิปปินส์ จำนวน 8 ราย ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเกิดการจับคู่เจรจาธุรกิจจำนวน 32 คู่ ก่อให้เกิดมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น จำนวน 33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1,127.61 ล้านบาท อีกทั้งยังเป็นการหาช่องทางในการส่งออกเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากการส่งออกใน

ไทยเร่งรับมือ 'สหรัฐ' เตรียมขึ้นภาษี 'พาณิชย์' จับมือเอกชนวางแนวทางลดผลกระทบ

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงร่วมภาครัฐ-เอกชน วางแผนรับมือมาตรการภาษีใหม่ของสหรัฐฯ พร้อมยืนยันไทยเดินหน้าเจรจาเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเกษตรกร