กรมอุตุฯ แจง 'พายุฤดูร้อน' 19 มี.ค. ฝนตกหนัก อุณหภูมิลดฮวบ จากร้อนจัดเป็นอากาศเย็น

16 มี.ค.2567 - เมื่อเวลา 12.00 น. เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานข้อมูลพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 มีนาคมนี้ว่า ฝนมาเมื่อไหร่? : คาดว่าฝนจะเริ่มเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 19 มี.ค.67 หรืออาจจะมาก่อนเล็กน้อย และอาจจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่จะทำให้สภาพอากาศอากาศเปลี่ยนแปลงพอสมควร

สิ่งที่ต้องเตรียมความพร้อมรับมือ ภัยที่มาพร้อมกับอากาศแปรปรวนเช่น พายุฤดูร้อน (ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง ลูกเห็บ(บางพื้นที่)) อุณหภูมิจะลดลง เมื่อมีฝนและมวลอากาศเย็นแผ่ลงมา อาจจะลดลงแบบฉับพลัน (จากเดิมที่อากาศร้อน-ร้อนจัดเป็นอากาศเย็น ในช่วงวันที่ 20 -21 มี.ค.67) ระมัดระวังรักษาสุขภาพในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง

พี่น้องเกษตรกรต้องหาวิธีป้องกันป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผลผลิต โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งกำลังเติบโตและใกล้ให้ผลผลิต ต้องหาที่ค้ำยันกิ่งให้แข็งแรง เกษตรกรที่เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา อุณหภูมิของอากาศอาจเปลี่ยนแปลง ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างหรือป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ใช้รถใช้ถนนต้องระวังถนนรื่น เฝ้าระวังและติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ ช่วงวันเวลาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ข้อดีพอจะช่วยคลายร้อนได้บ้าง

(ข้อมูลอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พายุฤดูร้อนกระหน่ำบึงกาฬ เครนยักษ์ล้มทับ 3 คนงานเสียชีวิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่จังหวัดบึงกาฬ ได้เกิดพายุฤดูร้อนพัดถล่มมาพร้อมกับลมแรงพัดมาจากฝั่งทางทิศตะวันตกนานกว่า 30 นาที โดยภาพบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร บนถนนหลาวงสาย 212 บึงกาฬ-หนองคาย

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 7 อัปเดตชื่อจังหวัดระวังพายุฤดูร้อน ฝนถล่ม 4-7 พ.ค.นี้

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 4-7 พฤษภาคม 2567)

ระดมกำลังเข้าดับไฟป่า 'ดอยผาผึ้ง' ทั้งคืน ก่อนควบคุมได้ช่วงใกล้เที่ยงคืน

จนท.ระดมกำลังเข้าดับไฟป่าดอยผาผึ้ง เหนือห้วยตึงเฒ่า เชิงดอยสุเทพทั้งคืนก่อนควบคุมได้ช่วงใกล้เที่ยงคืน อุตุเตือนพายุฤดูร้อน

กรมอุตุนิยมฯ เตือน พายุฤดูร้อนถล่มไทยตอนบน 3-7 พ.ค.

กรมอุตุนิยมวิทยา โดยนางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 5

ทั่วไทยยังมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ภาคเหนือตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ลูกเห็บตกบางแห่ง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป