'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ตั้งข้อสังเกต 5 ข้อ ไฟไหม้ถังสารเคมี แนะทบทวนแผนป้องกันอุบัติภัย


10พ.ค.2567- ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงเหตุไฟไหม้ถังสารเคมีที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่า

ไฟไหม้ถังสารเคมีที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างรุนแรง..บอกอะไร? และควรจะทำอะไรในพื้นที่นี้ต่อไป..

1.บริษัทมาบตาพุดแทงค์เทอร์มินอล จำกัดเพิ่งเกิดไฟไหม้ถังเก็บสารแนฟทาอย่างรุนแรงเมื่อวันที่28 ตุลาคม 2564มีคนตาย3 คน บาดเจ็บ2คน และวันที่9 พฤษภาคม 2567 เกิดไฟไหม้และระเบิดอย่างรุนแรงที่ถังTK181บรรจุสาร pyrolysisgasoline ขนาด9000ลบ.ม.ต้องใช้เวลาดับเพลิงมาก กว่า6ชั่วโมง พนักงานตาย1บาดเจ็บ4คน ประชาชนอพยพหนีตายและมลพิษทางอากาศไปมากกว่า3กม.

2.บริษัทมาบตาพุดแทงค์เทอร์มินอล จำกัด เครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทยเพิ่งได้รับราง วัลธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยยอดเยี่ยม(ธงขาว-ดาวเขียว) ประจำปี2566 เพิ่งรับรางวัลเมื่อปลายปีที่ผ่านมาจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประ เทศไทย รางวัลดังกล่าวต้องครอบคลุมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของพนักงานและการจัดการอุบัติเหตุอุบัติภัยอย่างดีเยี่ยม แต่ไม่กี่เดือนต่อมาเกิดระเบิดและไฟไหม้อย่างรุนแรง

3.ระบบความปลอดภัยของคลังเก็บสารเคมีอันตรายของบริษัทดังกล่าวปลอดภัยจริงหรือไม่ ? สารpyrolysisgasolineเป็นของเหลวไวไฟแต่จะติดไฟได้ด้วยตัวเองต้องมีอุณหภูมิสูงถึง 537.77องศาจึงไม่มีทางเป็นไปได้ที่ความร้อนในบรรยากาศทำให้เกิดไฟลุกได้เอง แต่ไอระเหยที่ออกมาจากถังมีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศจึงอาจลอยตกลงมาใกล้พื้นดินและสารนี้มีจุดวาบไฟที่-16ถึง-6 องศาหมายความว่าหากมีประกายไฟเกิดขึ้นที่ใกล้ถังหรือที่ถังอาจเกิดไฟลุกไหม้ได้ง่ายและลามเข้าไปในถังทำให้เกิดระเบิดได้ การดับเพลิงต้องใช้โฟมหรือทรายหรือผงเคมีแห้งหรือCO2ดับไฟเท่านั้น น้ำดับไฟไม่ได้เพราะไม่จับหรือคลุมกับของเหลวคุณสมบัติเหมือนน้ำมันดังกล่าว

4.นิคมอุตสาหกรรมาบตาพุดเป็นพื้นที่ที่มีสารอันตรายและโรงงานประะเภทปิโตร เคมีจำนวนมาก ถูกประกาศเป็นพื้นที่เขตควบคุมมลพิษตั้งแต่ปี2552จนบัดนี้15ปียังควบคุมมลพิษไม่ได้ทั้งสารเบนซิน,1,3บิวทาไดอีน เป็นต้น ขณะที่มีการเพิ่มโรงงานขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเกิดไฟไหม้ถังเก็บสารเคมีไวไฟก็ยังใช้เวลาในการดับไฟมากกว่า 6ชั่วโมงแสดงว่าระบบแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรขณะเกิดไฟไหม้ทิศทางลมพัดไปทางวัดหนองแฟบและเขตบ้านฉางแต่หน่วยงานราชการบางแห่งกลับไปตรวจวัดมล พิษทางอากาศที่วัดตากวนซึ่งอยู่เหนือลมและรายงานว่าไฟไหม้ครั้งนี้มีคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ปรกติ อย่างนี้เรียกว่าบิดเบือนหรือไม่?

5.ถึงเวลาแล้วที่ควรต้องทบทวนแผนการป้องกันอุบัติภัยรวมทั้งแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุและแผนอพยพประชาชนในพื้นที่ตำบลมาบตาพุดและทุกนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งควรทำการประเมินผลระทบทางยุทธศาสตร์ในพื้นที่มาบตาพุด(SEA)โดยศึกษาศักยภาพการรองรับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ว่ายังรองรับได้หรือไม่ และต้องลดไอระเหยสารอินทรีย์จากโรงงานทุกแห่งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน...ขณะนี้(1พค.67)มีเครื่อข่ายภาคประชาชนคนรักระยองได้ไปร้องเรียนกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ประกาศเขตควบคุมมลพิษมา 15ปี มลพิษยังไม่ลดลงทำให้ประชาชนเสี่ยงกับการเป็นโรคมะเร็ง...

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ติดตามไฟไหม้มาบตาพุด เผยผลตรวจอากาศในชุมชนยังไม่เกินค่ามาตรฐาน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่าน x ระบุว่า “ผมทราบการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ถังเก็บวัตถุดิบสารไพโรไลสีส แก๊สโซลีน ของบริษัท มาบตาพุดแทงค์เทอร์มินัล