กกต. เผยแพร่ข้อกำหนด ขั้นตอนสมัคร เตือนห้ามใช้เอกสาร-พยานเท็จ มีโทษคุก 1 ปี

กกต.เผยแพร่ข้อกำหนด-การเตรียมเอกสารขั้นตอนสมัคร เตือนห้ามใช้เอกสาร-ใช้พยานเป็นเท็จ โดนโทษคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท แถมเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี

20 พ.ค.2567 - สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่เอกสารขอเชิญชวนผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสมัครรับเลือก สว. ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 24 พ.ค. 2567 ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตสำหรับกรุงเทพมหานคร หรือสถานที่ที่ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอกำหนด ไม่เว้นวันหยุดราชการ

โดยให้ผู้สมัครยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบการสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอ ดังนี้ 1. แบบใบสมัคร (สว. 2) 2.แบบข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร (สว. 3) 3. แบบหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในกลุ่มที่สมัคร (สว. 4) โดยต้องมีผู้รับรองและพยานอย่างน้อย 1 คน ลงลายมือชื่อยืนยันว่าผู้สมัครมีคุณลักษณะเช่นนั้นจริงและต้องมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรองและพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องด้วย ยกเว้นสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น ตามมาตรา 11 (14) และ (15) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 5. สำเนาทะเบียนบ้าน06. ใบรับรองแพทย์ 7.รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร จำนวนคนละ 2 รูป สำหรับปิดแบบข้อมูลแนะนำตัวของผู้สมัคร (สว. 3)

8.หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (ก) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก เช่น สำเนาสูติบัตร เป็นต้น พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ข) หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ค) หลักฐานซึ่งแสดงว่าทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก เช่น หนังสือรับรองการทำงาน เป็นต้น พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

(ง) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกแล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี เช่น หนังสือรับรองการทำงาน สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (จ) หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา เช่น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หนังสือรับรองจากสถานศึกษา เป็นต้น พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (9) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครคนละ 2,500 บาท (สองพันห้าร้อยบาทถ้วน โดยสามารถชำระเป็นเงินสด หรือตั๋วแลกเงิน หรือแคชเชียร์เช็ค แล้วแต่กรณี (10) สำเนาหลักฐานอื่นที่ผู้สมัครนำมาแสดงตนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนและไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตามบันทึกการให้ถ้อยคำของผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามแบบ สว. 2 (11) หลักฐานอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น

(ก) หลักฐานการขอลาออกหรือการขออนุญาตให้ลาออกกรณีเป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง เช่น หนังสืออนุมัติให้ลาออกจากราชการ เป็นต้น (ข) เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ใดรับรองหรือเป็นพยานซึ่งลงลายมือชื่อรับรองเอกสารหรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการรับสมัครเป็นเท็จ กฎหมายได้กำหนดบทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติได้ทางเว็บไชต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง www.ect.go.th แอปพลิเคชันสมาร์ทโหวต (Smart Vote) หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร หรือสายด่วน 1444

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วุฒิสภา' แจ้งเลื่อน! พิธีรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ปธ.-2รอง'

ความคืบหน้าการแต่งตั้งนายมงคล สุระสัจจะ เป็นประธานวุฒิสภา พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และนายบุญส่ง น้อยโสภณ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่ 2

'นันทนา' วิงวอน สว.สีน้ำเงิน แบ่งเก้าอี้ประธานกมธ. ให้ สว.พันธุ์ใหม่ ผลักดันวาระประชาชน

รศ.ดร.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวุฒิสภา เพื่อเลือกประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และคนที่ 2 ว่า ผลที่ออกมาไม่ได้เกินความคาดหมาย เป็นไปตามสิ่งที่สื่อมวลชนรายงาน ซึ่งค

'สว.พันธุ์ใหม่' โวยลั่นสภาสูงไม่เป็นอิสระ จี้ประธาน-รองปธ.วุฒิฯป้ายแดง ตอบข้อสงสัยประชาชน

นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวุฒิสภา เพื่อเลือกประธาน ถึงกรณีที่รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 เป็นนายบุญส่ง น้อยโสภณ ว่าที่รองประธานวุฒิสภาคนที่ 2 ถือว่าเหนือความคาดหมายหรือไม่ ว่า ไม่

คะแนนท่วมท้น! 'บุญส่ง' นั่งรองประธานวุฒิฯ คนที่ 2 สว.สีน้ำเงินเปิดทางกลุ่มอิสระ

การประชุมการเลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ผลปรากฏว่านายบุญส่ง น้อยโสภณ สว.ได้ 167 คะแนน นางอังคณา นีละไพจิตร สว. ได้ 18 คะแนน นายพงษ์ศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต สว. ได้ 8 คะแนน และนายปฏิมา จีระแพทย์ สว. ได้ 4 คะแนน งดออกเสียง 2

สีน้ำเงินปกคลุมสภาสูง! 'พล.อ.เกรียงไกร' ลอยลำ นั่งรองประธานวุฒิฯ คนที่ 1

การนับคะแนนการเลือกรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ผลปรากฏว่า พลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ ได้ 150 คะแนน ขณะที่ นายนพดล อินนา ได้ 27 คะแนน ด้าน รศ.แล ดิลก วิทยรัตน์ ได้ 15 คะแนน ส่วน ดร.ปฏิมา จีระแพทย์ ได้ 5 คะแนน บัตรเสีย 2 คะแนน งดออกเสียง 1 คะแนน