'เด็จพี่' ร้องDSI สอบทุจริต บ.NT-เอกชน ฮั้วประมูลจัดซื้อจัดจ้าง งบเกือบพันล้าน

5 ก.ค.2567 - ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต สส.บัญชีรายชื่อและอดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย เดินทางยื่นเอกสารต่อ ร.ต.อ.วิษณุ ฉิมตระกูล รองอธิบดีดีเอสไอ และ พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ เพื่อให้ตรวจสอบบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ (NT) เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 ในโครงการจัดซื้อระบบคลาวน์ของกระทรวงสาธารณสุข งบประมาณเกือบ 1,000 ล้านบาท

นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า เมื่อเดือน ม.ค.67 ตนได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและผู้หวังดีในหน่วยงานขอช่วยตรวจสอบการประมูลของโครงการจัดซื้อดังกล่าว ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมอบหมายให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดหา โดยขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างได้เลือกวิธีการเชิญชวนเฉพาะแทนการประกวด (E-Bidding) ถือว่าเรื่องที่แปลก และเชิญบริษัทเข้ามาเสนอราคาเพียง 7 บริษัทมาประมูลในช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฎว่าใน 7 บริษัท มีรายชื่อบุคคลเดียวกันเป็นกรรมการอยู่ 3 บริษัท และอีกรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้น 2 บริษัท

"ในวันเสนอราคา มี 5 บริษัท ได้ถอนตัวออกไป ทำให้เหลือเพียง 2 บริษัท โดยบริษัทที่ชนะการประกวดเสนอราคา 991 ล้านบาท ส่วนบริษัทที่แพ้การประมูลเสนอราคา 992 ล้านบาท ซึ่งราคาต่างกันเพียง 0.16% เท่านั้น เข้าข่ายพฤติการณ์น่าสงสัยว่ามีการฉ้อโกงและทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ ที่สำคัญทั้ง 2 บริษัท มีหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทที่ชนะการประกวดเป็นผู้ถือหุ้นอีกบริษัทที่เคยค้านร่วมกับบริษัทที่แพ้การประมูล จึงไม่ใช่ คู่แข่งทางการค้า เชื่อว่าการจัดซื้อจัดจ้างในครั้งนี้เข้าข่ายการสมยอมราคากัน"

เมื่อถามถึงรายละเอียดของ 7 บริษัทว่าจดทะเบียนบริษัทเมื่อไหร่ หรือประกอบกิจการเกี่ยวกับระบบคลาวด์มาอย่างไร เคยประกวดราคาทำงานร่วมกับรัฐมาแล้วหรือไม่ นายพร้อมพงศ์ เผยว่า สำหรับรายละเอียดอยู่ในเอกสารที่ยื่นให้กับพนักงานสอบสวนคดีพิเศษตรวจสอบไปแล้ว ส่วนก่อนหน้านี้ทั้ง 7 บริษัทเคยแข่งขันโครงการของรัฐด้วยกันหรือไม่ ตรงนี้ไม่มีรายละเอียด

นายพร้อมพงศ์ กล่าวเสริมว่า ตนอยากให้ตรวจสอบการขโมยสายเคเบิ้ลทองแดงของบริษัท NT ซึ่งไม่ได้ใช้งานแล้วเปลี่ยนมาเป็นสายไฟเบอร์แต่ถูกฝังไว้ใต้ดิน กลับมีขบวนการลักลอบตัดสายเคเบิ้ลในหลายพื้นที่สร้างความเสียหายหลายพันล้านบาท ซึ่งมองว่าอาจจะมีคนในรู้เห็นเพราะต้องมีแผนผังการขุดจากดินขึ้นมา รวมทั้ง บางพื้นที่มีการขโมยช่วงเวลากลางวันและแอบใส่ชุดเจ้าหน้าที่เพื่อไม่ให้สงสัย ทั้งที่บริษัท NT ควรนำมาประมูลขายเองมากกว่า เพื่อเงินที่ได้จะได้นำเข้ารัฐ โดยมีสื่อหลายช่องนำเสนอประเด็นดังกล่าวแต่ทางผู้บริหารของ NT ไม่มีการแก้ไขปัญหาถือมีความผิดตาม ม.157 และในสัปดาห์หน้าตนจะนำ 2 เรื่องนี้ไปยื่นให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ถ้าเชื่อมโยงไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐจะมีการไปต้องยื่นหนังสือกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อไป

ด้าน ร.ต.อ.วิษณุ ระบุว่า เบื้องต้นทางดีเอสไอได้รับเรื่องไว้ดําเนินการตรวจสอบ โดยจะมอบหมายกองคดีฮั้วประมูลเร่งสืบสวนหาข้อเท็จจริง ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ยืนยันจะต้องเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องและทั้ง 7 บริษัทเข้ามาสอบปากคำ ก่อนพิจารณารับเป็นคดีพิเศษต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พยานฝั่งดิไอคอน ร้อง 'กมธ.ความมั่นคง' หวั่นไม่ได้รับความเป็นธรรม

ผู้เสียหายและพยานที่ได้รับความเดือดร้อน จากการอายัดทรัพย์โดยไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับความผิดที่ถูกกล่าวหา กรณี บริษัท ดิ ไอคอนกรุ๊ป เข้ายื่นหนังสือถึง นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ

'เคนโด้-อี้' จี้ดีเอสไอ สอบบริษัทเครือข่ายขายซิม-รถยนต์ของ 'สามารถ' หลังยึดได้ 15 คัน

ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)​ นายเกรียงไกรมาศ พจนสุนทร หรือ เคนโด้ และ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ประธานชมรมสันติประชาธรรม

เปิดพฤติการณ์ 'สามารถ' ฟอกเงินดิไอคอน ตำรวจค้านประกันร่ายเหตุผลยาว

ศาลอาญารับฝากขัง สามารถ-เเม่ ฟอกเงินคดีดิไอคอน ด้านจนท.ค้านประกันร่ายยาว เป็นบุคคลที่เคยมีตำแหน่งทางการเมือง ใกล้ชิดกับคนมีอำนาจ และมีศักยภาพการเงินสูง เกรงว่าจะหลบหนีไปยุ่งกับพยานหลักฐาน พบเงินหมุนเวียนตั้งเเต่ปี 61 ร้อยกว่าล้าน

ผบ.ตร. ขอรอดูพฤติการณ์ 'สามารถ' หลบหนีหรือไม่ หลังถูกจับที่เชียงราย

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กล่าวถึงกรณีเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้เข้าควบคุมตัวนายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ผู้ต้องหาตามหมายจับข้อหาร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงิน