11 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาฯ มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาเรื่องปัญหาปลาหมอคางดำ โดยนายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กทม.พรรคก้าวไกล โดยระบุว่า ขณะนี้ปลาหมอคางดำแพร่ระบาด 13 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่กำลังประกาศขายที่นา ดังนั้นขอถามรัฐบาลถึงต้นตอของการนำปลาสายพันธุ์ชนิดนี้เข้ามาด้วยวิธีการใดบ้าง และผู้นำเข้ามีส่วนรับผิดชอบอย่างไร การแก้ปัญหาของกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง ได้แก้ปัญหานี้อย่างไร ใช้งบประมาณไปเท่าไรและกับค่าอะไรบ้าง นอกจากนี้อยากให้ประกาศให้ชัดว่าจะเอาอย่างไรกับปลาสายพันธุ์นี้ จะกำจัดอย่างเดียวโดยประเทศไทยจะไม่รับรองปลาสายพันธุ์นี้เข้ามาอยู่ใช่หรือไม่ และมีมาตรการเยียวยาเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้วถูกปลาหมอคางดำเข้าไปกัดกินอย่างไร
ด้านนายอรรถกร ศิริลัทธยากร รมช.เกษตรฯ ชี้แจงว่า ยืนยันว่ากระทรวงเกษตรฯ จะไม่สนับสนุนให้พี่น้องมีการเลี้ยงเพิ่ม กำจัดอย่างเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ จากการตรวจสอบการระบาดของปลาสายพันธุ์นี้ในช่วงปี 60 และลามจนถึงตอนนี้ ตนให้กรมประมงตรวจสอบและยืนยันว่าไม่พบหลักฐานของการนำส่งตัวอย่างของปลาสายพันธุ์นี้เข้ามาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เอกสารของกรมประมงมีจำกัด ตนไม่สามารถระบุได้ว่าในปี 60 นั้นมีการส่งมอบตัวอย่างขึ้นจริงหรือไม่ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจริงแต่ไม่มีหลักฐาน หรืออาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงก็ได้ ซึ่งตนอยู่ตรงนี้ก็ต้องเชื่อว่ากรมประมงค้นแล้วและไม่มีหลักฐานว่ารับตัวอย่างมาจริงๆ
นายอรรถกร ชี้แจงต่อว่า ด้วยเทคโนโยลีทุกวันนี้หากเรามีตัวอย่าง เราสามารถนำดีเอ็นเอไปตรวจสอบย้อนกลับได้ เราก็จะสามารถหาผู้ที่ต้นตอและนำมารับผิดชอบต่อไป ดังนั้นถ้าใครมีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่าใครหรือบริษัทใดเป็นคนทำ เรายินดีทำงานร่วมกับท่านเพื่อแก้ปัญหาต่อไป การตรวจสอบหาต้นทาง เราขาดแค่หลักฐานที่เป็นปลาตายหรือป่วยที่เข้าเงื่อนไขการนำเข้า ณ เวลานั้น แต่เราหาต้นตอไม่เจอ ซึ่งเราพยายามหาต้นตอ หากพิสูจน์ได้จริงๆ ว่าใครทำผิดก็ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายระดับประเทศ ทั้งนี้ เรามีร่างแผนการปฏิบัติการแก้ไขการระบาดของปลาหมอคางดำ โดยเราจะไปประชุมคณะกรรมการฯ ในสัปดาห์หน้า ซึ่งมีเรามี 5 มาตรการ 13 กิจกรรมย่อย ซึ่งหนึ่งในมาตรการที่กรมประมงเร่งรัด คือการเหนี่ยวนำชุดโครโมโซมปลาจากสองเอ็นเป็นสี่เอ็น ทำให้โครโมโซมปลาชนิดนี้เปลี่ยน แล้วปล่อยลงทะเลไป เมื่อผสมพันธุ์กันแล้วก็จะทำให้ปลาเป็นหมัน ซึ่งปลาที่จะปรับเปลี่ยนโครโมโซมจะกระโดดลงน้ำภายในสิ้นปีนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'
เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา
'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง
“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด
ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว
ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3