บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ร่วมมือกับ กรมประมง ระดมกำลังจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติในทุกจังหวัด เพื่อช่วยบรรเทาความเดือนร้อนของเกษตรกรและชาวประมง ร่วมสร้างสมดุลระบบนิเวศ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเครื่องมือจับปลา อาหาร และน้ำดื่มในการจัดกิจกรรมจับปลาในจังหวัดต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และ ในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ บริษัทเตรียมส่งมอบปลานักล่าเพิ่มอีก 19,000 ตัวเพื่อปล่อยลงสู่แหล่งน้ำให้กับประมงจังหวัดระยอง สมุทรปราการ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา เพื่อนำปลาหมอคางดำออกจากระบบนิเวศให้มากที่สุด
วันนี้ ซีพีเอฟร่วมสนับสนุนประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดกิจกรรมลงแขกลง ครั้งที่ 6 บริเวณหน้าประตูระบายน้ำท่าพยา ในอำเภอปากพนัง โดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย ผู้นำชุมชน และชาวประมง คลอง ระดมจับปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ และเปิดรับซื้อปลาหมอหมอคางดำกิโลกรัมละ 15 บาทเพื่อส่งต่อให้สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดนำไปผลิตน้ำหมักชีวภาพสำหรับเกษตรกรต่อไป ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟีร่วมกับประมงนครศรีธรรมราชจัดกิจกรรมส่งเสริมการนำปลาไปใช้ประโยชน์ และสนับสนุนปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้ว จำนวน 5,000 ตัว เตรียมปล่อยลงสู่แหล่งน้ำที่เพื่อช่วยจับกินลูกปลาหมอคางดำ เพื่อเร่งลดจำนวนปลาหมอคางดำในจังหวัดให้เบาบางลง
ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟร่วมมือกับประมงจังหวัดสงขลา ชมรมผู้เลี้ยงกุ้งจังหวัดสงขลา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่รวม 100 คน ระดมกันจับปลาหมอคางดำในลำคลองในพื้นที่อำเภอระโนด มีซีพีเอฟสนับสนุนน้ำดื่มสำหรับผู้ร่วมกิจกรรม สามารถจับปลาหมอคางดำได้ 346 กิโลกรัม นำส่งให้สำนักงานพัฒนาที่ดินอำเภอจะนะเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพและแจกจ่ายให้เกษตรกรชาวสวนยางต่อไป และมีแผนปล่อยปลานักล่าในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้
ในช่วงปลายเดือนกันยายนนี้ ซีพีเอฟยังร่วมสนับสนุนกรมประมงจัดกิจกรรมจับปลาหมอคางดำเพื่อควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาดในจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี และสมุทรปราการ และในทุกพื้นที่ที่พบปลาหมอคางดำ
ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟสนับสนุนอวนทับตลิ่ง ประมงจังหวัดเพชรบุรี องค์การบริหารตำบล เกษตรจังหวัด และสำนักงานพัฒนาที่ดิน จัดกิจกรรมจับปลาที่คลองในตำบลนาพันสาม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยสามารถจับปลาหมอคางดำได้ 103 กิโลกรัม ขณะเดียวกันยังจับได้ปลาชนิดอื่นอีกด้วย เช่น ปลาช่อน ปลานิล เป็นต้น สำหรับปลาหมอคางดำที่จับได้ ประมงจังหวัดส่งต่อให้องค์การบริหารตำบลบ้านหม้อเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ สำหรับแจกจ่ายให้กับเกษตรกรในพื้นที่ใช้กับแปลงเพาะปลูก
นอกจากการสนับสนุนกิจกรรมจับปลาแล้ว บริษัทยังสนับสนุนปลากะพงขาวขนาด 4 นิ้วขึ้นไปเพื่อปล่อยลงในแหล่งน้ำช่วยกำจัดลูกปลาหมอคางดำ ซึ่งที่ผ่านมา ซีพีเอฟได้สนับสนุนปลานักล่าไปแล้ว 70,000 ตัวปล่อยในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ระยอง และจันทบุรี และได้ร่วมมือกับกรมประมงในการวางแผนการปล่อยปลานักล่าในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และราชบุรี โดยตั้งเป้าสนับสนุนปลานักล่าแก่กรมประมงรวมทั้งสิ้น 200,000 ตัว เพื่อร่วมกันช่วยสร้างสมดุลระบบนิเวศของแหล่งน้ำ และช่วยลดผลกระทบเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่
การร่วมสนับสนุนกิจกรรมการจับปลาหมอคางดำ และการปล่อยปลานักล่า อยู่ภายใต้การดำเนินงาน 5 มาตรการเชิงรุกที่ซีพีเอฟร่วมกับกรมประมงขับเคลื่อนจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในทุกพื้นที่ จนถึงวันนี้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมจับปลาในแหล่งน้ำของ 17 จังหวัด สามารถจับปลาออกจากแหล่งน้ำได้มากกว่า 27,000 กิโลกรัมซึ่งส่งต่อให้กับโรงงานปลาป่น สำนักงานพัฒนาที่ดินผลิตน้ำหมักชีวภาพ และไปใช้บริโภค เป็นต้น./
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว
ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3
เอาแล้ว! เลขาฯไบโอไทย เจอหมายเรียกปมปลาหมอคางดำ
เฟซบุ๊กเพจ BIOTHAI ของมูลนิธิชีววิถีโพสต์ข้อความ ระบุว่าหมายเรียกจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งแจ้งความดำเนินคดี นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ
ฟ้องแพ่งเอกชน ‘คางดำ’ระบาด! ชดใช้4.4พันล้าน
กลุ่มชาวประมงผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ "ปลาหมอคางดำ" ยื่นฟ้องเเพ่งเรียกค่าเสียหายเอกชนกว่า 4 พันล้านบาท
กลุ่มชาวประมง ยื่นฟ้องแพ่ง เรียกค่าเสียหายเอกชนหลายพันล้าน ทำปลาหมอคางดำแพร่ระบาด
นายปัญญา โตกทอง อายุ 66 ปี สมาชิกเครือข่ายรักษ์อ่าวไทยตอนบน และเครือข่ายประชาคมคนรักแม่กลอง พร้อมชาวบ้านกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมงเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา และประมงพื้นบ้าน ในเขตอําเภออัมพวา อําเภอบางคนที