กรมอุตุฯ เปิดภาพถ่ายดาวเทียม เมฆเริ่มปกคลุมภาคอีสาน จากขอบพายุไต้ฝุ่นยางิ

6 ก.ย.2567 - เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียม เย็นวันนี้(6/9/67)เมฆเริ่มปกคลุมทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน (แบนเมฆตามขอบของพายุ )ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนพายุไต้ฝุ่นกำลังขึ้นฝั่งทางด้านตะวันออกของเกาะไหหลำ ลมแรง

เส้นทางพายุไต้ฝุ่น "ยางิ" จากศูนย์กรณ์เส้นทางพายุต่างๆ : พายุไต้ฝุ่น "ยางิ(YAGI)" ยังมีศูนย์กลางอยู่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ อ่าวตังเกี๋ย และขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนช่วงเวลา 13.00 น. วันพรุ่งนี้ (7/9/67) และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ

คาดว่าจะสลายตัวใน สปป.ลาว แม้ศูนย์กลางของพายุไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย แต่ขอบของพายุ อาจจะทำให้ภาคเหนือตอนบบน (พะเยา น่าน แพร่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน) และภาคอีสานตอนบน (หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู เลย อุดรธานี ) ช่วงเสาร์-อาทิตย์ (7 - 8 ก.ย.67) นี้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งและมีลมแรง เกิดขึ้นได้

ภายหลังจากที่พายุอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ ต้องเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิดและเตรียมการรับมือ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลมหนาวแรง! กรมอุตุฯ อัปเดตข้อมูลใหม่ อุณหภูมิลดลง 4-8 องศา กทม.ต่ำสุด 19 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 5

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 ลมหนาวระลอกใหม่ อุณหภูมิลดฮวบ 4-6 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 12 - 16 ธันวาคม 2567)

12-16 ธ.ค.เตรียมรับลมหนาวอีกรอบ

กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอน

พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า หนาวต่อเนื่องถึงคริสต์มาส

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 9 - 23 ธ.ค. 67

อุตุฯ เตือนมวลอากาศเย็นระลอกใหม่ ลมแรง อุณหภูมิลด กทม. ต่ำสุด 23 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้