12 ต.ค.2567 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 12-18 ตุลาคม ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นในตอนเช้า
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 12 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ภาคเหนือ
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 12 – 16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่
ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 18 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค
อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 12 – 16 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค
ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 18 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง
โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 17 – 18 ต.ค.
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง
ลมแปรปรวน ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.
ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง
ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 – 70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.
อุณหภูมิต่ำสุด 25 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียส
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อัปเดตเส้นทางดีเปรสชัน 'หยินซิ่ง' ทวีรุนแรงเป็น 'พายุโซนร้อน'
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถาการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ล่าสุดเช้าวันนี้ : ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "หยินซิ่ง (YINXING)" แล้ว
หนาวสะท้าน! ยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิเข้าสู่เลขตัวเดียว 7 องศาฯ
เชียงใหม่อากาศเริ่มหนาวเย็นต่อเนื่องโดยเฉพาะที่ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง เช้าวันนี้อุณหภูมิเริ่มเป็นเลขตัวเดียว
ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 8 เตือนเหนืออากาศแปรปรวน-ใต้ฝนตกหนัก
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง
อุตุฯ เตือนใต้ฝนตกหนัก เหนืออากาศเย็นอุณหภูมิลด 1-2 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน
พยากรณ์อากาศ 24 ชม. ‘เหนือ’ สัมผัสหนาวต่ำสุด 18 องศาฯ ‘กทม.’ 23 องศาฯ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ประกาศฉบับ 6 อากาศแปรปรวน ‘เหนือ’ อุณหภูมิลด 1–2 องศา ‘13จว.ใต้’ ฝนตกหนัก
บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้