นายจ้างแฉส่วยระบบขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เผยศูนย์ CI เรียกเก็บเงินไร้ใบเสร็จแถมทำงานไม่ทันเป็นเหตุลูกจ้างข้ามชาติหลุดจากระบบนับแสนคน
6 พ.ย.2567 - นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว (นายจ้างสีขาว)เปิดเผยถึงปัญหากระบวนการทำ CI (Certificate of Identity) เพื่อรับรองสถานบุคคลสำหรับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ โดยระบุว่ามีการเรียกเก็บเงินโดยไม่มีใบเสร็จรับเงิน อีกทั้งยังมีขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและยุ่งยาก สร้างภาระให้กับทั้งนายจ้างและแรงงานในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาและประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด จึงไม่ทันเวลาที่ต้องขึ้นทะเบียนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ทำให้แรงงานหลายแสนคนต้องหลุดออกจากระบบ
นางนิลุบล กล่าวว่า ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา นายจ้างประสบปัญหาคำสั่งซื้อลดลง ส่งผลให้ไม่มีการทำงานล่วงเวลา (OT) กระทบต่อรายได้ของลูกจ้างที่ต้องพึ่งพาเพียงค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ไม่มีเงินเก็บ ปัญหาสำคัญคือ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่ออกมาไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงที่หลายจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งกระทรวงแรงงานไม่เคยเสนอแนวทางที่จะอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตาม มติ ครม. ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว หรือการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน แม้ได้ยื่นหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
นางนิลุบลกล่าวว่า แม้ทางหน่วยงานได้เคยทำหนังสือชี้แจงถึงความเป็นไปได้ในการขอมติ ครม. โดยไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ CI ซึ่งเคยดำเนินการสำเร็จมาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบันกลับมีการบรรจุเงื่อนไข CI เข้าไปในทุกมติ ครม. นอกจากนี้ ศูนย์ CI ที่เปิดให้บริการยังมีจำนวนจำกัดและกระจายตัวไม่ทั่วถึง ส่งผลให้แรงงานต้องเดินทางข้ามจังหวัดเพื่อดำเนินการ ปัจจุบันมีศูนย์ CI เพียง 7 แห่งทั่วประเทศ ไม่สอดคล้องกับการกระจายตัวของแรงงานที่มีอยู่ในทุกจังหวัด
“ในการขึ้นทะเบียนแรงงานที่เหลือประมาณ 400,000 คน พบปัญหาการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นทางการ ระบบการจองคิวทั้งแบบออนไลน์และ walk-in สำหรับการทำบัตรชมพู การตรวจลงตราวีซ่า หรือการทำ CI ขาดความโปร่งใสและเอื้อต่อการทุจริต โดยเฉพาะที่ศูนย์ CI สมุทรปราการ มีการเรียกเก็บเงินประมาณ 3,800-4,000 บาท โดยไม่มีใบเสร็จรับเงินจากภาครัฐ กระบวนการที่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อน”นางนิลุบลกล่าว
ขณะที่ผู้ประกอบการรายหนึ่งที่จ้างแรงงานต่างด้าวกล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรมการจัดหางาน ไม่ได้เข้าไปควบคุมดูแลการดำเนินงานของศูนย์ CI อย่างเข้มงวด มักอ้างว่าเป็นความรับผิดชอบของประเทศต้นทาง แม้จะได้รับค่าสัมปทานจากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาการขายคิว การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ นอกจากนี้ยังมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำบัตรชมพูเพิ่มเติมอีก 500 บาทต่อราย
“ที่น่าห่วงคือการไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา แรงงานกลุ่มนี้กลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายทันที โดยเฉพาะแรงงานในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีตัวแทนนายจ้างคอยช่วยเหลือ สำหรับกลุ่มแรงงานที่จะหมดอายุใบอนุญาตทำงานวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ก็ประสบปัญหาเช่นกัน เนื่องจากมติ ครม. กำหนดให้ต้องดำเนินการในรูปแบบ MOU ซึ่งต้องออกนอกประเทศและขอ Name List จากประเทศต้นทาง อีกทั้งยังมีเงื่อนไขการเสียภาษีให้กับประเทศต้นทาง ที่ต้องเปิดบัญชีธนาคารและโอนเงินกลับประเทศ ซึ่งธนาคารจะรับเฉพาะผู้มีบัตรชมพูและ ทร.38/1 เท่านั้น เราได้ทำหนังสือถึงสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ชี้แจงว่าการดำเนินการแบบนี้สร้างความยากลำบากให้กับผู้ที่ไม่มีเงิน ควรตัดขั้นตอน CI ที่ไม่จำเป็นออกไป และปรับปรุงกระบวนการให้มีความโปร่งใสมากขึ้น”ผู้ประกอบการ กล่าว
ด้าน นางชะเว (นามสมมติ) แรงงานชาวพม่าวัย 30 ปี กล่าวว่า ทำงานในบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นแรงงานที่ทำงานอย่างถูกกฎหมายมาโดยตลอด แต่เนื่องจากความไม่เข้าใจในระบบของการขึ้นทะเบียนแรงงานเพราะมีความซับซ้อนอีกทั้งต้องเดินทางบ่อย
"ฉันทำงานที่นี่ จ่ายภาษี มีประกันสังคม ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่พอขั้นตอนที่ยุ่งยาก ดำเนินการทำยังไม่เสร็จและพลาดขึ้นทะเบียนไม่ทัน ตอนนี้ต้องกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย ไม่รู้จะทำยังไงต่อดี นอกจากนี้ยังมีเพื่อนแรงงานชาวพม่าอีกหลายคนที่ประสบปัญหาเดียวกัน บางคนถึงขั้นต้องยอมเป็นแรงงานเถื่อนทั้งที่เป็นแรงงานฝีมือและทำงานกับบริษัทมานาน”นางชเวกล่าว
ขณะที่ นายตูระ (นามสมมติ) แรงงานชาวพม่า วัย 28 ปี กล่าวว่า เป็นแรงงานที่จะหมดอายุใบอนุญาตทำงานวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และต้องดำเนินการในรูปแบบ MOU ซึ่งต้องออกนอกประเทศเพื่อต่อ MOU จากประเทศพม่า แต่ตนไม่ได้เสียภาษีให้กับประเทศเพราะกังวลว่าเงินที่ต้องจ่ายภาษีจะไปเข้ากองทัพพม่าที่กำลังสู้รบกับกองกำลังชาติพันธุ์และฝ่าบต่อต้าน ซึ่งหากต้องเดินทางกลับไปต่อ MOU ก็ไม่มีสิทธิที่จะกลับเข้ามาทำงานในประเทศไทยอีก
“ผมไม่สามารถเดินทางกลับไปพม่าได้เพราะไม่อยากเสี่ยงต่อชีวิตและไม่การต้องจ่ายภาษีให้กับรัฐบาลทหารพม่า ผมมีความกังวลว่าเงินเหล่านี้จะถูกนำไปสนับสนุนกองทัพที่มีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ความคาดหวังคือจากรัฐบาลไทยควรพิจารณาปรับปรุงกฎหมายแรงงานเพื่อให้แรงงานต่างด้าวสามารถต่ออายุใบอนุญาตทำงานได้โดยไม่ต้องออกนอกประเทศ” นายตูระกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประเดิมรายแรก! หนุ่มต่างด้าววัย 23 โดนถอนสัญชาติไทย ทำผิดคดีขนแรงงานเถื่อน
ความคืบหน้ากรณี พล.ต.ท.ภาณุมาศ บุญญลักษม์ ผบช.สตม. พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. พล.ต.ต.ชัยฤทธิ์ อนุฤทธิ์ ผบก.ตม.3 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
“สิรภพ” ลุยกาญจนบุรี! ฝึกอบรมอาชีพเสริม 12 สาขาฟรี ! ทำงานได้ทันที
วันที่ 14 มีนาคม 2568 นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีเปิดโครงการ “สร้างงาน สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพให้กับแรงงานนอกระบบ” ในจังหวัดกาญจนบุรี
'พิพัฒน์' ลุยสงขลา หนุนสร้างงาน-เพิ่มรายได้ เปิดงาน 'JOB FAIR 2025 @สงขลา' รับแรงงานกว่า 2,000 อัตรา แนะแนวอาชีพอิสระ มีเงินทุนส่งเสริมอาชีพให้กู้สูงสุด 300,000 บาท
กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน เดินหน้าสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับประชาชนในจังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดงาน “JOB FAIR 2025 @สงขลา”
รัฐบาลเตือน 'นายจ้าง' รีบยื่นขอใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว ภายในสิ้นเดือนนี้
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดให้นายจ้างและสถานประกอบการที่จ้างแรงงานข้ามชาติที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ป้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม! “พิพัฒน์” แจงกระทู้สดในสภา – เร่งช่วยแรงงานถูกเบี้ยวค่าเลิกจ้าง ดันงบกลาง-ล็อคบัญชีนายจ้าง-แก้กฎหมายให้คุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้สดในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชี้แจงถึงแนวทางแก้ไขปัญหานายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน การขออนุมัติงบกลางช่วยเหลือลูกจ้าง และมาตรการป้องกันการโยกย้ายทรัพย์สินของนายจ้าง .
เปิดคำสั่ง 'อนุทิน' ตั้งคกก.สืบสวนข้อเท็จจริง ปมร้อนงบประกันสังคม
สำหรับการแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงกรณีการใช้งบสำนักงานประกันสังคม (สปส.) นั้น เมื่อวันที่ 11 มี.ค. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงนามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 86/2568 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง