นักวิชาการมธ. เตือน 'รถบัส 2 ชั้น' วิ่งระยะไกลเสี่ยงอุบัติเหตุกว่ารถชั้นเดียว 7 เท่า

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้ รถบัส 2 ชั้น เสี่ยงอุบัติเหตุกว่ารถชั้นเดียวถึง 7 เท่า เสี่ยงตายมากกว่า 10 เท่า จึงไม่เหมาะสมวิ่งทางไกล-ทางคดเคี้ยว-ลาดชัน เหตุผู้โดยสารอยู่ข้างบน ส่งผลให้ ‘จุดศูนย์ถ่วง’ ไม่สมดุล ระบุ ต่างประเทศใช้แค่เป็นรถชมเมืองเท่านั้น เสนอแก้ปัญหาเบื้องต้น กำหนดโซนให้รถ 2 ชั้น วิ่งได้จำกัด

27 ก.พ. 2568 -  กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถโดยสารไม่ประจำทาง ของคณะศึกษาดูงานของเทศบาลตำบลพรเจริญ พลิกคว่ำ โดยตกข้างทางบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 210 ถนนสาย 304 เขาศาลปู่โทน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 18 ราย และบาดเจ็บจำนวน 31 ราย

ดร.ณฐกร พุกสุขสกุล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ รถบัส 2 ชั้น ไม่เหมาะสมในการวิ่งหรือโดยสารในระยะทางไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่หรือเส้นทางที่มีความคดเคี้ยว และลาดชัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ต่างจังหวัด เนื่องจากรถบัส 2 ชั้น ซึ่งมีผู้โดยสารนั่งอยู่ที่ชั้นสอง จะส่งผลต่อน้ำหนักและจุดศูนย์ถ่วงของตัวรถ จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้มากกว่ารถบัสประเภทชั้นเดียวถึง 7 เท่า และหากเกิดอุบัติแล้ว มีความเสี่ยงที่ผู้โดยสารจะเสียชีวิต ได้มากกว่ารถบัสชั้นเดียวถึง 10 เท่า

ดร.ณฐกร กล่าวว่า การที่ผู้โดยสารนั่งอยู่ที่ชั้น 2 ของตัวรถนั้น จะทำให้จุดศูนย์ถ่วงของรถบัสไม่สมดุล เพราะน้ำหนักทั้งหมดจะอยู่ที่ชั้น 2 ขณะที่บริเวณด้านล่างไม่มีคนนั่ง หรือสัดส่วนของน้ำหนักและจำนวนที่นั่งไม่เท่ากับด้านบน จึงสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำได้ง่าย ในเชิงหลักวิชาการที่ควรจะเป็น รถโดยสารประเภท 2 ชั้น ทั้งรถบัส รถทัวร์ ฯลฯ จึงไม่มีความเหมาะสมที่จะใช้ในการเดินทางไกล หรือใช้เป็นรถโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบประจำทาง หรือไม่ประจำทางก็ตาม

สำหรับการใช้งานรถบัส 2 ชั้นที่เหมาะสม นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รถบัส 2 ชั้น เหมาะสมสำหรับการเป็นรถชมเมือง (City tour) เพื่อการท่องเที่ยว โดยเป็นรถเปิดประทุน วิ่งในพื้นที่เมือง และวิ่งด้วยความเร็วเพียง 30 – 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในพื้นที่ระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก ซึ่งในหลายประเทศก็ใช้งานเช่นนี้

ดร.ณฐกร กล่าวอีกว่า แม้ว่าสิ่งที่ได้นำเสนอจะเป็นทฤษฎีหรือหลักการที่ควรจะเป็น แต่ถ้าจะให้มีการยกเลิกการใช้งานรถโดยสารประเภท 2 ชั้น ในประเทศไทยซึ่งมีอยู่กว่า 7,000 คัน โดยเกินกว่า 50% เป็นลักษณะของรถไม่ประจำทาง ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ทันที ดังนั้นเบื้องต้นจึงขอเสนอแนะให้มีการปรับมาตรการการบังคับใช้ ด้านความปลอดภัยในการใช้รถไม่ประจำทาง ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับรถประจำทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนคนขับ เรื่องข้อกำหนดระยะเวลาที่ต้องมีจุดพักรถ หรือเรื่องการควบคุมความเร็วซึ่งอาจจะกำหนดให้ต่ำกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รวมไปถึงการกำหนดโซนพื้นที่ที่รถโดยสารประเภท 2 ชั้น สามารถวิ่งได้ในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แนะบรรจุวิชาบังคับ 'ความรู้การเงิน' ป.1- ป.ตรี แก้ 'หนี้ครัวเรือน-NPL' ยั่งยืน

นักวิชาการธรรมศาสตร์ เผยไทยต้องผลักดัน ‘ความรู้ทางการเงิน’ เป็นวาระแห่งชาติ แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่ง-ตัวเลขการออมคนไทยต่ำ รัฐต้องแบกรับภาระงบอุดหนุน-ช่วยเหลือ แนะเร่งจัดทำหลักสูตรความรู้การเงิน ตั้ง ป.1 – ป.ตรี ทันที ไม่ต้องรอรัฐบาลใหม่!

นี่คือสถานการณ์ฉุกเฉินทางเศรษฐกิจ รบ.ต้องยกหูเจรจา 'ทรัมป์' ภายในคืนนี้! นักวิชาการ มธ. ระบุ 'ยิ่งช้ายิ่งเจ็บ'

นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชี้การตั้งกำแพงภาษีของทรัมป์ คือสถานการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเร่งเจรจาอย่างช้าที่สุดภายในคืนนี้

ชงตั้ง 'ผู้จัดการภัยพิบัติ' สู้ 'เฟกนิวส์' แนะรัฐผนึก Google ตรวจจับแรงสั่นสะเทือน ใช้แอนดรอยด์ 2,000 ล. เครื่องเป็น sensor

นักวิชาการธรรมศาสตร์ แนะรัฐบาลเร่งจัดตั้งผู้จัดการภัยพิบัติ ทำหน้าที่สื่อสารสังคม-ประชาชน สร้างความชัดเจนข้อมูลแผ่นดินไหว ป้องกันประชาชนตระหนก เสนอผนึก Google ใช้ ‘แอนดรอยด์’ กว่า 2,000 ล้านเครื่อง ทำหน้าที่เป็น sensor ตรวจจับแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็ก

ผ่าข้อเสนอ 'นักวิชาการ มธ.' ตรวจแถว! กสทช. เปิดประมูลคลื่นความถี่ จี้ออกมาตรการคุม 'ผู้มีอำนาจเหนือตลาด'

นักวิชาการธรรมศาสตร์ จับตา “กสทช.” เปิดประมูลคลื่นสากล 6 ย่านความถี่ ทั้งที่มีแนวโน้มผู้ประกอบการเข้าร่วมเพียงแค่ 2 ราย ตั้งคำถามคลื่นกระจุกอยู่กับรายใหญ่และการประมูลแข่งขันกันน้อย เหตุบางคลื่นยังไม่หมดสัญญาแต่เปิดช่องให้ประมูลล่วงหน้าได้ แนะควรกำหนดราคาตั้งต้นประมูลให้ใกล้เคียงราคาประเมิน ไม่ต้องลดเพื่อสร้างแรงจูงใจเหมือนในอดีต ชงคลอดแพกเกจดูแลผู้บริโภค จี้มาตรการกำกับ “ผู้มีอำนาจเหนือตลาด” พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการ MVNO รายเล็ก เพิ่มทางเลือกประชาชน

นักวิชาการ มธ. เห็นด้วย 'หวยเกษียณ' แนะเพิ่มเงินรางวัลจูงใจ ปชช.เก็บออม หนุนเปิดให้ถอนเงินได้เมื่อจำเป็น

  นักวิชาการธรรมศาสตร์ เห็นด้วยโครงการ ‘หวยเกษียณ’ เพื่อให้ ปชช. มีเงินออม แต่ ‘เงินรางวัล’ ยังไม่จูงใจเมื่อเทียบสลากรางวัลอื่นๆแนะเพิ่มเงินรางวัลจูงใจ-ปรับเงื่อนไขให้ถอนเงินได้เมื่อจำเป็น ชี้เพื่อประสิทธิภาพ-ความโปร่งใส ควรเพิ่มสัดส่วนภาคประชาสังคมเป็น ‘บอร์ดกองทุน กอช.’

The Return of Trump กับชะตากรรมอาเซียน! 3 นักวิชาการมธ. ชำแหละเกมมหาอำนาจ

ท่ามกลางกระแสการกลับมาของ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ สู่ทำเนียบขาว 3 นักวิชาการ มธ.วิเคราะห์ผลกระทบที่อาเซียนต้องเผชิญ เมื่อสหรัฐฯ เดินหน้าปรับยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก บทบาทของอาเซียนกำลังลดลงหรือเป็นโอกาสต่อรอง