
กทม. ชวนคนกรุงร่วมแสดงพลังและลดใช้พลังงาน ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน 2 ทุ่มครึ่ง ถึง 3 ทุ่มครึ่ง เสาร์ที่ 22 มี.ค. 68
4 มี.ค. 2568 – นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวเชิญชวนประชาชนและทุกภาคส่วน ร่วมแสดงพลังเชิงสัญลักษณ์และลดใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นเพื่อช่วยโลกลดภาวะโลกร้อน ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโลกที่ยั่งยืน ในกิจกรรม 60+ Earth Hour 2025 : ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ด้วยการปิดไฟที่ไม่จำเป็น ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน รวมถึงลดการใช้พลังงานทุกชนิด เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พร้อมกันกับผู้คนอีกหลายล้านคนจาก 190 ประเทศ 7,000 เมืองทั่วโลก ในวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568 เวลา 20.30 – 21.30 น.
ตั้งแต่ปี 2551 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับองค์การ WWF ประเทศไทย และภาคีเครือข่าย รณรงค์กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน (60 Earth Hour) ด้วยการปิดไฟที่ไม่จำเป็น เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ระหว่างเวลา 20.30 – 21.30 น. รวมระยะเวลา 17 ปี ลดการใช้พลังงานได้ 22,537 เมกกะวัตต์ สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 12,272 ตัน โดยเมื่อปี 2567 จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 24.65 เมกกะวัตต์ เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ก่อนหน้าวันจัดกิจกรรมในช่วงเวลาเดียวกัน (โดยการคำนวณของการไฟฟ้านครหลวง) สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 11 ตัน หรือเทียบกับการเดินทางด้วยเครื่องบิน จากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ จำนวน 92 เที่ยวบิน หรือการใช้รถยนต์ดีเซลเป็นระยะทาง 66,000 กิโลเมตร หรือเทียบกับการปิดไฟครัวเรือน 49,500 ครัวเรือน
สำหรับปี 2568 กรุงเทพมหานคร ร่วมกับภาคีเครือข่าย ยังคงเดินหน้ารณรงค์กิจกรรมปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน ซึ่งปีนี้กำหนดจัดกิจกรรมในวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568 เวลา 20.30 – 21.30 น. ด้วยการขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการ ร้านค้า และประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชนทุกแขนง ลดการใช้พลังงานและปิดไฟที่ไม่จำเป็น เช่น ไฟประดับ ไฟอาคาร ตึกสูง ป้ายโฆษณา ไฟบ้านเรือน และการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งานลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ในอาคารบ้านเรือน เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โดยเชิญชวนร่วมแชร์การมีส่วนร่วมกิจกรรมในโซเชียลมีเดีย ด้วยการติดแฮชแท็ก คำว่า #EarthHour2025 หรือ #BiggestHourForEarth หรือ #MyHourForEarth
นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครขอความร่วมมือสถานที่ปิดไฟเชิงสัญลักษณ์ในปีนี้ ประกอบด้วย 5 สถานที่หลัก ได้แก่ 1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร 2. วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ 3. เสาชิงช้า เขตพระนคร 4. สะพานพระราม 8 เขตบางพลัด และ 5. ภูเขาทอง (วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร) เขตป้อมปราบฯ รวมถึงสำนักงานเขต 50 เขต ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบการเจ้าของอาคาร/สถานที่ในพื้นที่เขต พร้อมใจกันร่วมปิดไฟเชิงสัญลักษณ์บริเวณอาคาร บ้านเรือนในถนนด้วยกรุงเทพมหานคร ขอเชิญชวนประชาชน ร่วมแสดงพลังในกิจกรรม “ปิดไฟ 1 ชั่วโมง เพื่อลดโลกร้อน” ในวันเสาร์ที่ 22 มีนาคม 2568 เรามีนัดปิดไฟที่ไม่ใช้งาน ตั้งแต่เวลา 2 ทุ่มครึ่งถึง 3 ทุ่มครึ่ง (20.30 – 21.30 น.) พร้อมกับ 7,000 เมือง 190 เมืองทั่วโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟภายในบ้านแล้ว ยังเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงาน ประหยัดงบประมาณ และช่วยรักษ์โลกรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน และถ้าเราทุกคนร่วมมือกันทำต่อเนื่องในทุกที่ทุกเวลา จนเป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน จะช่วยผลักดันให้การลดใช้พลังงานไปสู่การบรรลุเป้าหมายในการลดภาวะโลกร้อน การรณรงค์ปิดไฟ 1 ชั่วโมง ในวันนี้ ไม่ใช่แค่การแสดงพลังของคนกรุงเทพมหานครเท่านั้น แต่ยังเป็นการรวมพลังงานของประเทศไทย ในการช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพื่อบ้านเมืองของเรา เพื่อโลกของเรา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้ว่าฯกทม. เผยเดินหน้าเจาะปล่องลิฟต์ ตึกสตง. หาผู้ติดค้างเพิ่ม
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงความคืบหน้าสถานการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหตุแผ่นดินไหว ว่า วานนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกตนพร้อมด้วย พญ.วันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร
'ผู้ว่าชัชชาติ' ยอมรับมีปัญหาสื่อสารหน้างานกู้ซากตึกถล่ม หน่วยงานอื่นเข้าพื้นที่ยาก
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเข้าพบ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานกรณีตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม
‘บีโอไอ’เพิกถอนสิทธิ‘ซินเคอหยวน’
“ชัชชาติ” ยังมีความหวัง หลังกู้ภัยพบสัญญาณโซนบี “อนุทิน” ปรับเงินช่วยเหลือผู้เสียชีวิตรายละแสน “ทีมสุดซอย”
ทำบุญตึกถล่ม ฟื้นขวัญกำลังใจ DSIไล่ล่านอมินี
กทม.ลุยขนซากตึกถล่ม คาดปลายเดือนเคลียร์ด้านบนออกได้หมด "ชัชชาติ"
ทีมกู้ภัย ลุยหาผู้ติดค้างใต้ซากที่ ZONE B ตึกสตง.
ทีมงาน กทม. ลงพื้นที่ประเมินสถานการณ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตรวจเยี่ยมหน่วยกู้ภัยและให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน เหตุตึกถล่มจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เขตจตุจักร
'ชัชชาติ' ลั่นยังมีความหวังเล็กๆ ค้นหาผู้รอดชีวิตตึก สตง.ถล่ม หลังได้ยินเสียงเคาะตอบ
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยผ่านไลฟ์สด “ความหวังเล็กๆ” จากปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหาย จากเหตุการณ์อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม เขตจตุจักร ว่