กรมชลฯ เตรียมรับมือน้ำทะเลหนุนสูง ช่วง 14 – 18 ก.พ. ลดผลกระทบในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

กรมชลประทาน วางมาตรการล่วงหน้ารับมือน้ำทะเลหนุนสูง ช่วง 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565 สอดคล้องกับประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) พร้อมเตรียมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งอย่างรัดกุม เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

15 ก.พ. 2565 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในช่วงฤดูแล้งของทุกปี โดยกรมชลประทานได้พิจารณาแนวทางเพื่อรับมือและกำหนดมาตรการควบคุมความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการเพิ่มการระบายจากเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ช่วงวันที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2565 ในอัตราเฉลี่ยวันละ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมกับรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ และควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราเฉลี่ย 85 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

สำหรับที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ปรับแผนเพิ่มการระบายน้ำ ในอัตราเฉลี่ยวันละ 5.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะทยอยปรับลดการระบายลงเหลืออัตราเฉลี่ยวันละ 4.32 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะเดียวกันจะควบคุมระดับเหนือเขื่อนพระรามหก ให้อยู่ในเกณฑ์ และปรับแผนเพิ่มการระบายน้ำอยู่ในอัตราเฉลี่ย 40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากนั้นจะทยอยปรับลดการระบายลงเหลืออัตราเฉลี่ย 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในลำดับต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง-เจ้าพระยา โดยการระบายน้ำผ่านทาง ประตูระบายน้ำ (ปตร.) สิงหนาท 2 ในอัตราไม่ต่ำกว่า 12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมควบคุมปริมาณน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนพระรามหก และปตร.สิงหนาท 2 รวมกันที่บริเวณอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 100 – 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

จากแผนการระบายน้ำและบริหารจัดการน้ำข้างต้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำทั้งหมดไหลมาบรรจบเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ช่วงวันที่ 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ตามการคาดการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา

ปัจจุบัน แม่น้ำเจ้าพระยา ตรวจวัดค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล จังหวัดปทุมธานี อยู่ที่ 0.22 กรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่ผ่านมากรมชลประทานมีมาตรการบริหารจัดการน้ำในการบรรเทาปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างรัดกุม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเค็มรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้มากที่สุด ทั้งนี้กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำจากอ่างเก็บน้ำและอาคารชลประทานให้สอดคล้องกับช่วงการหนุนของน้ำทะเลอย่างเหมาะสมตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลมเกลียว! 'ธรรมนัส'จับมือ'อนุชา' จัดการปัญหาน้ำช่วยชาวนาชัยนาท

“ธรรมนัส ควงอนุชา”  ฟังเสียงชาวนาชัยนาท ลุยแก้ภัยแล้ง เล็งสร้างอาคารบังคับน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา เพิ่มน้ำต้นทุน ช่วยพื้นที่เกษตรกว่า 1 หมื่นไร่

เบรกหัวทิ่ม! ครม.สัญจรอีสาน หยุดรัฐนายทุนทำลายสวล.เขมือบทรัพยากรประเทศ

เครือข่ายทรัพย์ฯอีสาน  ยกขบวน จี้นายกฯและครม.สัญจร หยุดโครงการทำลายสิ่งแวดล้อม ผันน้ำโขง เลย ชี มูน และเหมืองแร่โปแตช สับเละรัฐบาลละเมิดสิทธิชาวบ้าน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตทรัพยากร สะท้อนชัดล้มเหลวบริหารจัดการน้ำ  

'สมศักดิ์' สำรวจสุดสายแม่น้ำชี ต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำ

“สมศักดิ์” ควง สทนช. นั่งเฮลิคอปเตอร์ยาว ดูแม่น้ำชี จากอุบล-เลย-หนองบัวลำภู 643 กิโลเมตร เล็ง ต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำ เผย ปี 68-70 มี 26 โครงการ

สทนช.ยืนยันดำเนินงานตามภารกิจลดความซ้ำซ้อนสร้างความมั่นคงด้านน้ำ

สทนช. ย้ำดำเนินภารกิจภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561 ยืนยันไม่ได้รวบอำนาจ แต่บูรณาการหน่วยงานด้านน้ำให้มีเอกภาพเป็นหนึ่งเดียว ลดความซ้ำซ้อน สร้างความมั่นคงด้านน้ำ พร้อมแจงระบบ Thai Water Plan (TWP) ช่วยขับเคลื่อนภารกิจการแก้ไขปัญหาด้านน้ำของประเทศในมิติต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน

รัฐบาลวางแผนดันไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสุดท้ายของโลก

'เศรษฐา'ย้ำต้องบริหารจัดการน้ำรอบด้าน พร้อมตั้งเป้าให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาปสุดท้ายของโลก ด้าน ส.อ.ท. เปิด 8 ข้อเสนอนายก เร่งสรุปแอคชั่นแพลนใน 1-2 สัปดาห์ ก่อนพัฒนาแผนทำงานร่วมกัน

ชาวนาลุ่มน้ำชีเดือดร้อน น้ำท่วมนาข้าวเสียหายหนัก ชี้บริหารจัดการน้ำผิดพลาดต้องรับผิดชอบ

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดร้อยเอ็ด-ยโสธร ร่วมตั้งข้อสังเกตถึงสถานการณ์ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรว่าเกิดจากชลประทานบริหารจัดการน้ำผิดพลาด ทั้งๆที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือนแล้ว และน้ำก็ไม่น่าจะท่วม ในขณะที่ชาวบ้านลุ่มน้ำชีลงทุนทำนาปี