เปิดดัชนีความเชื่อมั่นของคนใต้เดือนก.พ. 'น้ำมัน-โควิด' ฉุดตัวเลขปรับตัวลดลง

มาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ที่พัก การท่องเที่ยว และสถานบันเทิง เป็นต้น ที่พึ่งจะเริ่มดำเนินธุรกิจได้ไม่นาน และกำลังจะฟื้นตัว อาจต้องปิดกิจการอีกครั้ง

1 มี.ค.2565- ผศ.ดร.วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (41.10) ปรับตัวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2565 (41.30) และเดือนธันวาคม 2564 (42.20) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ความสุขในการดำเนินชีวิต ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ

โดยปัจจัยลบจากสถานการณ์ค่าครองชีพที่ยังคงสูง เนื่องจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นคนต่อวัน โดยคาดว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้แนวโน้มผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ภาครัฐได้ปรับมาตรการเตือนภัย โควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ โดยแนะนำให้ประชาชนงดรับประทานอาหารร่วมกัน และงดดื่มสุราในร้านอาหาร พร้อมงดเข้าสถานที่เสี่ยงทุกประเภท เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน และงดกิจกรรมการรวมกลุ่มสังสรรค์ การเดินทางข้ามพื้นที่/ข้ามจังหวัด งดการโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท งดเดินทางไปต่างประเทศ และหากเดินทางเข้าประเทศต้องกักตัวตามมาตรการ รวมทั้งปรับมาตรการรับมือสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 และมาตรการ “Test & Go” เพื่อรองรับการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวจากเดิมตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR 2 ครั้ง ปรับเป็นตรวจ 1 ครั้ง และครั้งที่ 2 ตรวจด้วย ATK ด้วยตนเอง โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565

ทั้งนี้ แม้มาตรการดังกล่าวจะเป็นการป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วไม่ให้ลุกลามบานปลายมากกว่านี้ แต่มาตรการดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร ธุรกิจโรงแรม ที่พัก การท่องเที่ยว และสถานบันเทิง เป็นต้น ที่พึ่งจะเริ่มดำเนินธุรกิจได้ไม่นาน และกำลังจะฟื้นตัว อาจต้องปิดกิจการอีกครั้ง ซึ่งจะทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ค่าครองชีพที่จำเป็นต่อการดำรงชีพก็ยังคงสูง อาทิ ค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ อีกทั้ง ราคาสินค้าในเดือนมีนาคมมีแนวโน้มจะปรับตัวสูงขึ้นอีกหลายรายการ ในขณะที่รายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ลดลง อันจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชนเป็นอย่างมาก และทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น แนวทางการแก้ไข และความคิดเห็นต่อมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงข้อเสนอแนะต่าง ๆ มีดังนี้

  1. จากราคาน้ำมันที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาสินค้าจำนวนมากปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้นจนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน จากการมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ทำให้หนี้สินครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น จึงเสนอแนะให้ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน และควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพ รวมถึงลดค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ
  2. ประชาชนมีความกังวลกับการแพร่ระบาดของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เพิ่มขึ้นเป็นหลักหลายหมื่นต่อวัน และมีแนวโน้มของผู้ติดเชื้อที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ถึงแม้ว่าอาการของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรงเหมือนสายพันธุ์เดลต้าก็ตาม แต่ผู้ติดเชื้อทุกคนจำเป็นต้องกักตัว เพื่อไม่ให้แพร่ระบาดไปสู่ผู้อื่น ทั้งนี้ ประชาชนจำนวนมากไม่มีพื้นที่ในการกักตัว เนื่องจากที่พักอาศัยอยู่กันหลายคน จึงเสนอแนะให้ภาครัฐจัดหาศูนย์พักคอย และโรงพยาบาลสนามในทุกจังหวัดให้เพียงพอต่อการรองรับผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรงและไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้
  3. ประชาชนมีความกังวลในการใช้มาตรการเข้มงวดของรัฐบาลต่อการแพร่ระบาดการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน จึงเสนอแนะให้ภาครัฐควรพิจารณาความเหมาะสมในการออกมาตรการในการแก้ปัญหาให้มีความสมดุลระหว่างมาตรการลดการแพร่เชื้อและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ35.60 และ 30.50 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.10 และ 35.80 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 30.60 30.30 และ 34.60 ตามลำดับ

ปัจจัยที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ามีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมากที่สุด คือ ค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 31.60 รองลงมา คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และภาระหนี้สินของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 28.10 และ 26.50 ตามลำดับ ขณะที่ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชนส่วนใหญ่มองว่ารัฐบาลควรรีบดำเนินการและให้ความช่วยเหลือ อันดับแรก คือ การแก้ปัญหาค่าครองชีพสูง รองลงมา คือ มาตรการรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 การแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน การเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามลำดับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่ง! ไทยติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 630 ราย ดับเพิ่ม 5 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 17 - 23 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 630 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 501 ราย ดับเพิ่ม 4 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 10 - 16 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 501 ราย

ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 446 ราย ดับเพิ่ม 3 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 446 ราย