ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ต้นแบบ"บวร"สร้างสรรค์ พัฒนา

เคยมีคำถามว่า การที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งนั้น ต้องทำอย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยใด หรือรูปแบบใด จึงจะทำให้ผลสำเร็จได้

คำถามนี้น่าจะมีหลากหลายคำตอบ แต่คำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้กันและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันมาตลอด เห็นจะไม่พ้นความร่วมมือร่วมใจ ผูกสัมพันธ์และความสมานสามัคคีในชุมชน โดยเฉพาะวัด และ โรงเรียน

เนื่องจาก วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เป็นที่ยึดเหนี่ยวให้คนในชุมชนมีความรัก สามัคคีกัน ร่วมกันพัฒนาวัดให้สงบ ร่มรื่น ขัดกล่อมจิตใจให้เอื้อเฟื้อ แบ่งปันกัน เช่นเดียวกับ โรงเรียน เป็นสถานที่ให้ความรู้ ให้การศึกษากับลูกหลานของชุมชนให้เติบโตมา ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมา เพื่อพัฒนาสังคม เป็นศูนย์กลางของชุมชน ในการจัดกิจกรรมที่จะสานสัมพันธ์คนชุมชนให้มีความรักใคร่กลมเกลียว ร่วมแรงร่วมใจกัน เกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน/ชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานภายนอก สู่การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน แบบ “บวร”

แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าว จะให้แนบแน่นจนนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนสร้างสรรค์นั้น ต้องมีหน่วยงานที่เข้าใจในแนวทางที่จะสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วยทุนของชุมชน โครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีแนวทางในการพัฒนาชุมชน โดยยึดหลัก บวร.เป็นหัวใจหลัก เช่น ชุมชนดีมีรอยยิ้ม พระนครศรีอยุธยา ที่ได้เชื่อมโยงผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกันพัฒนา และส่งเสริมเติมเต็มความรู้

ชุมชนสร้างสรรค์..ร่วมกันออกแบบ

“โครงการพัฒนาชุมชนโดยรอบโรงงาน” เกิดขึ้น โดยมี บริษัท เบียร์ทิพย์ 1991 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานในเครือของไทยเบฟที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนพระขาว เป็นหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเห็นได้จาก การสร้างโรงเรือนขนมไทยที่ใหญ่ขึ้นและได้มาตรฐาน ให้กับ “กลุ่มอาชีพพระขาวขนมไทย” โดยผนึกกำลังร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด และกลุ่มจิตอาสา มาช่วยกันพัฒนาพื้นที่ ทำให้วันนี้ กลุ่มได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถเพิ่มผลผลิตขนมได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ยังได้เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดในด้านการสร้างความรับรู้ในตัวสินค้าให้กับกลุ่มอาชีพพระขาวขนมไทย  โดยแนะนำส่งเสริม บอกต่อเรื่องราว และเชื่อมโยงช่องทางตลาดให้หลากหลายขึ้น เช่น การออกร้านในงานต่าง ๆ หรือแม้แต่การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

และด้วยศักยภาพของชุมชนที่ต้องการพัฒนาทักษะฝีมือ แสวงหาความรู้อยู่เสมอ จึงร่วมมือกับ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดทักษะการทำขนมไทย ให้มีรสชาติทันสมัย ถูกปากผู้บริโภค สามารถทำการตลาดได้ เป็นการเติมเต็มความรู้ให้ชุมชน เกิดแนวคิดที่สร้างสรรค์ ต่อยอด พัฒนาทั้งสูตรขนม โรงเรือนให้มีมาตรฐานขึ้นมาได้

การทำงานด้วยหลัก บวร.นั้น นอกจากการพัฒนาชุมชนแล้ว วัด เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่มีส่วนสำคัญ ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ได้เตรียมพัฒนาพื้นที่ วัดสีกุก ซึ่งตั้งอยู่ใน อ.บางบาล ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยต้นทุนที่เป็นแหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประทับบริเวณ ต้นสะตือ (ปัจจุบันยังคงเด่นตระหง่านภายในวัด) อีกทั้งเคยเป็นสถานที่ตั้งค่ายของกองทัพพม่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา

แม้ท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 บทบาทสำคัญของชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา คือช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการขายผลผลิต โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งรวมกลุ่มปลูกเมล่อนที่ขึ้นชื่อที่สุด ทำให้มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก แต่ด้วยช่องทางการจำหน่ายที่ยังไม่ครอบคลุม ทำให้เกิดปัญหาปริมาณเมล่อนล้นตลาด ชุมชนดีมีรอยยิ้มจึงได้เข้าไปช่วยทำการตลาดออนไลน์ ทำให้ปัจจุบัน สินค้าถูกระบายออกหมดจนผลิตไม่ทัน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

คำบอกเล่า...จากชุมชน

แม่ยุพิน สุขเกษม  ประธานกลุ่มอาชีพพระขาว ได้บอกถ้อยคำสั้นๆ แต่เปี่ยมด้วยความหมายและตรงกับใจของชาวบ้านอย่างมาก นั่นคือ “ไทยเบฟเข้ามาช่วยต่อยอดให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น”  รวมถึง แม่วารี กิจสะอาด สมาชิกกลุ่มพระขาวขนมไทย ได้บอกว่า “ไทยเบฟลงมาสนับสนุนก็ดีใจมากๆ เพราะเราจะได้มีที่ประกอบอาชีพที่เป็นสัดเป็นส่วน  ดูดีมีมาตรฐาน สะอาด เป็นที่สะดุดตาของคน”

ปิดท้ายที่ พี่ประสงค์ ไกรสิง รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่ เล่าว่า “สวนละออฟาร์มนั้นได้รับผลกระทบจากโควิดโดยตรง เดือดร้อนอย่างมาก ผลผลิตออกทุกวัน แต่ไม่สามารถส่งขายได้ แต่ได้ไทยเบฟเข้ามาช่วย ช่วยเพิ่มช่องทางจำหน่าย ทำให้ผลผลิตเราขายหมดภายใน 7 วัน จากเดิมต้องใช้เวลา 15 วัน ไทยเบฟเข้ามาช่วยเหลือเรา เราสามารถส่งไปจังหวัดต่างๆได้ทั่วไทย ทำให้เรารู้จักลูกค้ามากขึ้น ต่อยอดเป็นเครือข่าย เพื่อส่งขายเมล่อนได้มากยิ่งขึ้น”

ทั้งหมดนี้คือความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอด หาจุดเชื่อมโยงที่ลงตัว เกิดจากการลงพื้นที่ ค้นหาแกนนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในศักยภาพของกันและกัน เป็นการออกแบบร่วมกัน เกิดเป็นชุมชนสร้างสรรค์ ชุมชนที่มีได้รับการพัฒนาตรงจุด ตรงกับความต้องการของชุมชน ที่พลังความสามัคคีต้องมาจากระเบิดจากภายใน ทำให้เสียงของชุมชนดังไปทั่วทุกทิศทาง ทำให้บรรดาเครือข่ายพันธมิตร พร้อมที่จะร่วมกันลงพื้นที่ ร่วมกันสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สงกรานต์ริมคลองรอบกรุง 'คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน-วัดบพิตรพิมุข'

สงกรานต์นี้เปิดเส้นทาง “คลองโอ่งอ่าง-สะพานหัน- วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร” เลาะเลียบคลอง ชมสตรีทอาร์ต เรียนรู้ประวัติศาสตร์พหุวัฒนธรรมให้เย็นฉ่ำชื่นใจ ถือเป็นพื้นที่น้องใหม่งาน Water Festival 2024 พร้อมเชิญร่วมกิจกรรมมงคล ย้อนวันวานตักบาตรริมคลองยามเช้า

'ชีวิตนี้ชะตาลิขิต'บันทึก 7 รอบนักษัตร'สุเมธ ตันติเวชกุล'

ครั้งแรกของการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รวบรวมไว้ในหนังสือ “ชีวิตนี้ชะตาลิขิต ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ”

ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่

'เต้ ทวิวงศ์' โร่เคลียร์ดรามา! ค้านรถไฟความเร็วสูงอยุธยา

'เต้ ทวิวงศ์' โต้ดรามาค้าน 'รถไฟความเร็วสูง' ผ่านอยุธยา ยันบริสุทธิ์ใจ ขออย่ามัดมือชกชาวบ้าน บี้ 'สุริยะ-สุรพงษ์' แจง 5 ข้อ ลั่นโดนถอดพ้นมรดกโลกใครรับผิดชอบ

นายกฯ ห่วงเหตุไฟไหม้โรงงานเก็บสารเคมี สั่งแก้ไขสถานการณ์ด่วน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์เพลิงไหม้โรงงานเก็บสารเคมี หมู่ที่ 2 ตำบลภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า นายเศรษฐา ทวีสิน

'Young Designer' พัฒนาดินเผาบ้านเชียง

เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ร่วมออกแบบและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ มาผลิตของที่ระลึกโดยไม่ลืมอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชน เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ชุนชนบ้านเชียงให้ทันสมัยและตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีสไตล์