7 บทเรียนปฏิวัติ 2475 'ปรีดี' รับเมื่อมีอำนาจก็ขาดประสบการณ์ ถ้ารู้อย่างนี้ก็ไม่ทำ

25 มิ.ย.2565 - พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า ขอร่วมระลึกถึงวันครบรอบ 90 ปีของการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475 ภายใต้การนำของคณะราษฏร เสียหน่อยครับ

มีหลายแง่มุมที่เราจะดูเรื่องนี้ แต่อาจยาวเกินไป ผมจึงขอพามาดูแค่แง่มุมเดียว ก็น่าจะพอบอกได้ว่า การทำปฏิวัติในครั้งนั้น ส่งผลดี หรือ ผลเสีย ต่อประเทศไทย

ก่อนเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ ในรัชสมัยของ ร.5 และ ร.6 นั้น พระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 2 พระองค์ ได้ทุ่มเทต่อ การพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ทั้งในการสร้าง “คน" และ "โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ” จนครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ ไฟฟ้า น้ำประปา โรงงานปูนซิเมนต์ ขุดคลองส่งน้ำ สร้างสพาน ถนน หนทางฯลฯ โดย ร.6ทรงกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาร่วมด้วย แต่ก็สามารถส่งคืนเงินกู้ได้อย่างรวดเร็ว แค่ในปีแรกของ ร.7 เท่านั้น

เมื่อคณะราษฎร ปฏิวัติสำเร็จภายใต้การส่งเสริมของ ร.7 แล้ว คณะราษฏร ได้บริหารประเทศ แบบไร้ประสบการณ์ เล่นพรรคเล่นพวก จนทำลายโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ของประเทศลงเกือบทั้งหมด โดยไม่ตั้งใจ เพราะมุ่งแต่คิดจะต้องการรักษาอำนาจไว้เท่านั้น เช่น

(1) นักเรียนทุนต่างประเทศ ของ ร.5 ละ ร.6 จำนวน 510 คน ไม่มีโอกาศที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศเลย เพราะทุกกระทรวงเต็มไปด้วยคนของคณะราษฏร โดยอ้างเรื่องความมั่นคง แม้กระทั่งในพระมหาราชวังก็ส่งคนเข้าไปคุมไว้ นักเรียนทุน ส่วนหนึ่งต้องคอยหลบหนีการจับกุม เพราะเห็นต่างไปจากแกนนำคณะราษฏร บางคนก็ถูกจับ ไปขังคุก บางคนก็ต้องหลบอยู่เฉยๆ การลงทุนสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ของ ร.5 และ ร.6 จึงล้มเหลวลงโดยสิ้นเชิง คนเก่งที่สุดของประเทศจึงไม่มีโอกาศได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศชาติ ในขณะนั้น( ญี่ปุ่นส่งนักเรียนทุนไปเรียนเหมือนไทยในจำนวนไกล้เคียงกัน แต่พวกเขากลับมาทำงานให้ชาติ ส่วนของไทยดันกลับมาทำปฏิวัติ คนที่ส่งตัวเองไปเรียน แบบซึ่งๆหน้า นอกจากนั้นยังกีดกั้นคนเก่งไม่ให้เข้ามาช่วยชาติอีกด้วย )

(2) การทำลายการเรียนทางวิทยาศาสตร์ หันไปผลิตบัณทิตทางสังคมศาสตร์แทน เพื่อสร้างฐานอำนาจทางการเมือง แทนประชาชนซึ่งไม่ยอมรับ บทบาทของ คณะราษฏร นักทำให้ประเทศไทยต้องล้าหลังกว่าญี่ปุ่น เมื่อเวลาผ่านไปได้แค่ 5 ปีเอง เท่านั้นเอง

(3) สร้างวิธีแก้ปัญหาทางการเมือง แบบผิดพลาดมาตลอดด้วยการใช้ อำนาจเงิน และ ปืน (การรัฐประหาร) จนส่งผลกระทบต่อค่านิยมที่ผิดพลาดทางการเมืองมาจนถึงในปัจจุบันนี้

(4) สร้างวัฒนธรรมการเล่นพรรค เล่นพวกขึ้นมา เป็นผลทำให้คนดี มีความรู้ในระบบราชการ อยู่ไม่ได้ หรือถูกให้ออก (ร.7 ทรงตั้ง กพ.ขึ้นมาดูแลเรื่องนี้แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากแกนนำคณะราษฏร หลายคน)

(5) มีการแย่งชิงอำนาจกันตลอดเวลา 25 ปีที่คณะราษฎรผลัดกันขึ้นมา บริหารงาน แย่งชิงกัน เสมือนไม่ได้เคยเป็นเพื่อนร่วมทำงานใหญ่กันมาก่อน ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เลวร้ายมากในห้วงเวลานั้น จนเป็นผลทำให้เรื่องดีๆ คือ “ เป้าหมาย 6 ประการ “ของคณะราษฏร ที่ประกาศว่าจะทำหลังการปฏิวัติก็ทำไม่สำเร็จเลย สักข้อเดียว

(6) ทำลายขบวนการยุติธรรม จนประชาชนพึ่งพาไม่ได้ เช่น การจัดตั้งศาลพิเศษ เพื่อเอาผิดฝ่ายตรงข้าม ซึ่งมีขึ้นเป็นประจำ, การสร้างรัฐตำรวจ, ไม่รักษาแบบธรรมเนียมที่ถูกต้องเช่น รมว.มท.ซึ่งเป็นคนคุมตำรวจ ลงมาเป็นพยาน ให้ผู้ต้องหาคดี ร.8 เรื่องบ้าๆแบบนี้มีอีกแยะครับ

(7) บริหารงานบ้านเมืองจนเกิดความแตกแยกขึ้นภายในชาติอย่างมากมาย เพียงต้องการ ลดบทบาทของพระมหากษัตริย์ลงมาให้เท่ากับ” รัฐธรรมนูญ “ เท่านั้น

ยังมีอีกหลายสิบเรื่อง ซึ่งทางแกนนำคณะราษฎร์เองก็ทยอยกันออกมายอมรับในข้อผิดพลาดดังกล่าวโดยเฉพาะฝ่ายทหาร หลายคนบอกว่า “ไม่น่าจะทำเลย”จอมพล ป.ก็ออกมายอมรับเช่นกัน ส่วน อ.ปรีดีนั้นยอมรับว่า “เมื่อมีอำนาจก็ขาดประสบการณ์ “( สมเด็จพระนางรำไพพรรณี ได้ทรงเล่าว่า อ.ปรีดี ไปขอเข้าเฝ้าฯกราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าตอนนั้นยังเด็ก คิดอะไรหัวมันรุนแรงเกินไป ไม่นึกว่าจะลำบากยากเย็นถึงเพียงนี้ ถ้ารู้ยังงี้ก็ไม่ทำ…”)

การปฏิวัติ 2475 จึงควรเป็นบทเรียนสำคัญของประเทศชาติมากกว่า เพื่อจะได้กลับไปเริ่มต้นทำงานให้บ้านเมืองกันอย่างจริงๆซะที ส่วนการนำเรื่องนี้มาปลุกระดม นั้น ไม่น่าจะมีผลอะไรในปัจจุบันนี้ เช่น เรื่องของหมุดคณะปฏิวัตินั้น ยิ่งเป็นเรื่องที่ไร้สาระเข้าไปใหญ่ ก็เหมือนกับการพยายามสร้าง“รูปปั้นรัฐธรรมนูญ”ไว้ให้ประชาชนกราบไหว้กันทุกจังหวัดในยุคของคณะราษฏร นั้นเอง เหลวไหลจริงๆครับ

พลโท นันทเดช / 24 มิถุนายน 2565 (อ้างอิงจาก หนังสือ วิวัฒน์รัตนโกสินทร์ /ศูนย์หนังสือจุฬาฯ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ย้อน วันรัฐธรรมนูญ ร.7 ทรงถามว่า 'ศรีอาริย์' หมายถึง การปกครองแบบโซเวียตหรือไม่

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า วันรัฐธรรมนูญ

ผลจากการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กว่าผลจากการปฏิวัติ 24 มิ.ย. 2475 ทำให้ประเทศไทยไม่ก้าวหน้า (ตอนที่2)

ดร.เสรี ฟาดกีบหลอน! การศึกษาไทยขยายสู่ประชาชนเพราะคณะราษฎร

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า กีบถูกครอบงำจนหลอนว่าการศึกษาของไทยขยายสู่ประชาช

92 ปีที่ผ่านไป อะไรอะไรไม่เหมือนเดิม สิ่งดีงาม ไม่มีเพิ่ม ความเหิมเกริมคือของจริง

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กเนื่องในวันครบ 92 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีเนื้อหาดังนี้

ประเทศไทยจะไปได้ไกลกว่านี้มาก ถ้าไม่มีคณะราษฎร

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กเนื่องในวันครบ 92 ปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยมีเนื้อหาดังนี้